ตี๋เหรินเจี๋ย ตุลาการสะท้านแผ่นดิน - โรแบร์ท ฟาน กูลิค

เรื่อง ตี๋เหรินเจี๋ย ตุลาการสะท้านแผ่นดิน
โดย โรแบร์ท ฟาน กูลิค แปลโดย อนัญญา สิทธิอำนวย


เรื่องนี้เป็นนิยายสืบสวนของตี๋เหรินเจี๋ยที่แต่งโดยนักการทูตเนเธอร์แลนด์ที่ทำงานในจีนและแต่งงานกับสาวจีน ที่น่าสนใจคือแต่งมานานมากแล้วด้วย


ผ่าแผนสังเวยขุนนาง

ตี๋เหรินเจี๋ย ที่เป็นเลขาระดับต้นของศาลสถิตยุติธรรมในเมืองหลวง ได้รับตำแหน่งนายอำเภอในเมืองเผิงไหลที่อยู่ชายทะเลห่างไกล มีการค้าขายกับชาวต่างชาติโดยเฉพาะเกาหลีมากจนมีเขตที่ให้ดูแลกันเอง ซึ่ง นายอำเภอหวัง เพิ่งถูกฆาตกรรม เจ้าหน้าที่สืบสวนไม่พบเบาะแสอะไร แถมเอกสารยังหายไปอย่างลึกลับ ท่านตี๋กระตือรือร้นที่จะไปรับตำแหน่งเพื่อจะได้สามารถลงมือทำคดีจริงๆ ก็พาพ่อบ้านเก่าแก่ ฮุงเหลียง รีบเดินทางไปทันที ส่วนภรรยาทั้งสองและลูกๆ ให้ตามมาภายหลัง

ระหว่างทางไปถึงเผิงไหลท่านตี๋ยังได้พบโจรป่าสองคน คือ หม่าจุง และ เฉียวไท่ ซึ่งหลังจากสู้กันพอหอมปากหอมคอ ตี๋เหรินเจี๋ยก็เกลี้ยกล่อมทั้งคู่ที่เป็นโจรเพราะไม่ยอมลงให้คนชั่วมาเป็นคนของตัว (ท่านตี๋ใช้กระบี่มังกรพิรุณอันเป็นผลงานสุดท้ายของยอดช่างหลอมกระบี่ สามดรรชนี สร้างขึ้นเมื่อสามร้อยปีก่อนโดยบนบานว่าจะบูชายัญเมียถ้าหล่อได้สำเร็จ)

เมื่อไปถึงเผิงไหล ท่านตี๋ก็ตั้งฮุงเหลียงเป็นจ่าศาล ส่วนหม่าจุงเฉียวไท่ให้ดูแลพวกมือปราบ เรือนทหารยามและห้องขัง และเริ่มทำการสืบสวนคดีฆาตกรรมทันที ซึ่งเป็นฆาตกรรมในห้องปิดตายเมื่อนายอำเภอพ่อม่ายถูกวางยาพิษระหว่างดื่มชาในห้องส่วนตัวที่ลั่นดาล ส่วนอาลักษณ์ที่ทำงานอยู่มาหลายสิบปีย้ายออกจากที่พักในศาลไปอยู่โรงเตี๊ยมเพราะเป็นผีนายอำเภอ นอกจากนั้นท่านตี๋ก็ยังมีเรื่องสัพเพเหระให้ตัดสิน แต่เรื่องที่ดูหนักหนาคือภรรยาใหม่ของเจ้าของเรือหายตัวระหว่างกลับบ้านหลังไปเยี่ยมบ้านแม่ และหัวหน้าเสมียนศาลที่หายตัวไปหลังจากไปเก็บเงินค่าเช่านานอกเมืองถูกพบศพพร้อมหลวงจีนวัดเมฆขาว ...

ในเรื่องบอกว่าตี๋เหรินเจี๋ยอายุประมาณสามสิบปี และเมื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้แต่ง ได้ว่ากำหนดให้เรื่องเกิดในปี ค.ศ. 663 และต้องบอกว่าชื่อภาษาอังกฤษเป็นสปอยล์นิดหน่อย แบบว่า จขบ. สงสัยไปแทบตลอดทางจนได้คำตอบเมื่อตอนเฉลยปมของเรื่อง และที่เซ็งมากแต่เป็นจริงคือเรื่องที่สังคมมีบรรทัดฐานว่าให้สตรีฆ่าตัวตายเพื่อรักษาพรหมจรรย์ ถึงท่านตี๋เห็นว่า ผู้หญิงควรรักษาตนให้บริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย แต่ข้ามักจะสงสัยว่าคำกล่าวนี้อ้างถึงจิตใจมากกว่าร่างกาย ศาสดาของจื๊อของเรายังกล่าวไว้ด้วยว่า 'ให้มนุษยชาติเป็นมาตรฐานสูงสุดของท่าน' ก็ทำอะไรมากไม่ได้ อ้อ วิธีการฆาตกรรมตอนนี้ดูจะอาศัยโชคทางกลศาสตร์มากพอสมควร
[29/11/15, 24/10/21]

เผชิญกลสตรีไร้ศีรษะ

[xx/xx/xx]

ปริศนาวานรพยัคฆ์

เล่มนี้แบ่งเป็นสองตอนแยกจากกัน 'วานรยามทิวากาล' เกิดเมื่อท่านตี๋เป็นนายอำเภอที่ฮั่นหยวน ก่อนหน้านั้นเกิดเรื่องค้าของเถื่อนที่เจียงเพ่ย ท่านตี๋เลยส่งจ่าฮุง หม่าจุง และเฉียวไท่ไปช่วย เมื่อเกิดเรื่องชะนีป่าเอาแหวนมรกตลงมาจากเขาและเมื่อตามไปก็พบศพชายสูงอายุตายในกระท่อมโดยนิ้วมือถูกตัด ก็เลยเหลือผู้ช่วย เต๋ากั้น ที่เป็นอดีตนักต้มตุ๋นเร่ร่อนมาช่วยสืบคดี ... ตอนนี้ จขบ. ต้องยอมรับว่าวิธีควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยของเต๋ากั้นเด็ดมาก 555 อ้อ ผู้แต่งอุทิศเรื่องนี้ให้ชะนีชื่อบูบูที่เป็นสัตว์เลี้ยงและตายที่พอร์ตดิกสันในมลายานะคะ

ตอนสอง 'พยัคฆ์ยามรัตติกาล' ท่านตี๋ออกจากเพ่ยโจวไปเมืองหลวงเพื่อรับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมและตุลาการสูงสุดของศาลประจำเมืองหลวง ระหว่างทางเกิดอุทกภัยหนัก ในการข้ามแม่น้ำฮวงโห สะพานชั่วคราวขาดกระทันหันทำให้ทหารอารักขาติดอยู่อีกฟาก ท่านตี๋เลยตัดสินใจเดินทางไปรอที่ป้อมปราการก่อน แต่ไปคิดเวลากลางคืนบนเขาเลไปขออาศัยที่บ้านหลังใหญ่ บ้านนี้รับผู้ลี้ภัยอยู่ด้วยและกำลังวิกฤตเพราะถูกกองโจรพยัคฆ์บินขู่กรรโชกให้มอบทองแถมปิดล้อมไม่ให้ออกไปขอความช่วยเหลือ ถึงเจ้าของที่ดินจะยอมจ่ายแต่ทองที่เก็บในกำปั่นก็หายไปโดยคาดว่าถูกสาวใช้ขโมย ลูกสาวที่ใกล้แต่งงานก็หัวใจวายตาย ...
[11/12/15, 24/10/21]

ในข้อมูลเกี่ยวกับผู้แต่ง ได้บกว่าเรื่องเกิดในปี ค.ศ. 666 ในภาพรวม จขบ. คิดว่าน่าสนใจดีนะคะ เป็นนิยายสืบสวนแบบเก่าที่ให้อารมณ์ของเชอร์ลอค โฮมส์ อยู่มากพอควร ลักษณะทางสังคมและบรรยากาศได้เป็นจีนโบราณดีทีเดียว ยอมรับเรื่องการมีผีวิญญาณด้วย

แต่เนื่องจากเขียนเป็นภาษาอังกฤษที่ลักษณะภาษาทำให้ต้องตัดทอนคำที่เกี่ยวข้องกับทางสังคมออกไปมาก เวลาอ่านเลยทำให้รู้สึกว่าไม่ค่อยเหมือนเรื่องจีนเท่าที่ควร แบบว่าถ้าอ่านต้นฉบับคงไม่รู้สึกอะไรมาก แต่พอแปลมาเป็นภาษาไทยเลยรู้สึกขึ้นมา (อันนี้ก็ไม่ทราบว่าจะทำยังไงได้เหมือนกัน และทำให้นึกถึงเรื่องเรื่องแปลจากอังกฤษอื่นๆ ที่เคยอ่านมานานแล้ว โดยเฉพาะของ Pearl S. Buck ที่ถ้าอ่านตอนนี้จะรู้สึกอย่างไรนะ) ส่วนสำนวนการแปล จขบ. ไม่รู้สึกว่าโดดเด่นนะคะ มีศัพท์ค่อนข้างใหม่มาบ้าง อย่างพวกสารวัตรทหาร ฯลฯ แต่ก็พอไปไหวล่ะค่ะ

ที่มา
[1] Robert van Gulik (อนัญญา สิทธิอำนวย แปล). ตี๋เหรินเจี๋ย ตุลาการสะท้านแผ่นดิน ตอนผ่าแผนสังเวยขุนนาง (The Chinese Gold Murders). สำนักพิมพ์ไครม์แอนด์มิสทรี, นานมีบุ๊คส์, 196 หน้า, 2556 (ต้นฉบับ 1957).
[2] Robert van Gulik (อนัญญา สิทธิอำนวย แปล). ตี๋เหรินเจี๋ย ตุลาการสะท้านแผ่นดิน ตอนเผชิญกลสตรีไร้ศีรษะ (The Chinese Nail Murders). สำนักพิมพ์ไครม์แอนด์มิสทรี, นานมีบุ๊คส์, 200 หน้า, 2556 (ต้นฉบับ 1958).
[3] Robert van Gulik (อนัญญา สิทธิอำนวย แปล). ตี๋เหรินเจี๋ย ตุลาการสะท้านแผ่นดิน ปริศนาวานรพยัคฆ์ (The Monkey and The Tiger). สำนักพิมพ์ไครม์แอนด์มิสทรี, นานมีบุ๊คส์, 128 หน้า, 2556 (ต้นฉบับ 1963).


รายการนิยายจีนแปลไทย, ไทม์ไลน์หนังสืออิงประวัติศาสตร์/ย้อนยุค จีน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Spy×Family - Endo Tatsuya

ลำนำรักเทพสวรรค์ - ถงหัว

สืบลับฉบับคาโมโนะฮาชิ รอน - Amano Akira