ชายาผู้มีคุณธรรม - เยว่เซี่ยเตี๋ยอิง
เรื่อง ชายาผู้มีคุณธรรม
โดย เยว่เซี่ยเตี๋ยอิง (Yue Xia Die Ying) แปลโดย ayacinth
ในราชวงศ์ต้าหลง ชิ่งเต๋อฮ่องเต้ มีโอรสสี่องค์ องค์ชายใหญ่หนิงอ๋อง เฮ่อฉี มีพระมารดาเป็นเพียงไฉเหริน องค์ชายรองตวนอ๋อง เฮ่อเหิง เป็นโอรสของ จิ้งเฟย องค์ชายสามรุ่ยอ๋อง เฮ่อยวน เป็นโอรสของ ซูเฟย ที่ได้รับความโปรดปรานมากที่สุด ส่วนองค์ชายสี่เฉิงอ๋อง เฮ่อหมิง มี อันกุ้ยผิน เป็นพระมารดา ส่วนฮองเฮาที่ไม่มีพระโอรสธิดาได้เลี้ยงองค์หญิง จิ้นอัน ที่ได้รับตำแหน่งองค์หญิงใหญ่
ตอนนี้ชิ่งเต๋อฮ่องเต้มีพระชนม์เข้าหกสิบแล้ว เหล่าโอรสก็หาลู่ทางชิงอำนาจ ในบรรดาโอรสทั้งสี่ องค์ชายสี่ไม่มีโอกาสได้รับราชบัลลังก์เพราะทั้งอายุน้อยและไม่ได้รับความโปรดปรานใดๆ องค์ชายใหญ่มีผลงานในราชสำนัก และอภิเษก เว่ยชิงเอ๋อ เป็นหวางเฟย มีพระนัดดาองค์โต ส่วนองค์ชายรองมีพระมารดาที่ฉลาดเฉลียวและได้รับความโปรดปรานพอสมควร มีผลงานและมีความประพฤติเป็นที่ชื่นชม สุดท้ายองค์ชายสามได้รับความโปรดปรานมากที่สุดตามความโปรดปรานกับพระมารดา มีนิสัยโอหังทำเรื่องที่ไม่เหมาะสมมากมาย แต่ก็ได้ฮ่องเต้ช่วยมาตลอด
องค์ชายรองเฮ่อเหิงที่เป็นตัวเอกของเรื่องนี้ก็ถือว่ามีโอกาสไม่น้อย ถึงตาไม่มีอำนาจในฐานะรองราชครูและพระอาจารย์ แต่ก็ได้รับความเอ็นดูจากฮ่องเต้รองจากองค์ชายสาม พระมารดาก็ฉลาดเฉลียวเป็นพิเศษ ถึงไม่ได้รับความโปรดปรานมากแบบซูเฟย แต่ก็สามารถมีตำแหน่งอยู่ในระดับเดียวกัน เมื่อเฮ่อเหิงอายุต้นยี่สิบและควรอภิเษกได้แล้ว ก็ได้รับพระราชทานสมรสกับ ชวีชิงจวี ธิดาคนโตอายุสิบหกของ ชางเต๋อกง
ว่ากันตามจริงชวีชิงจวีถือว่าไม่เป็นหวางเฟยที่ช่วยส่งเสริมสวามีเท่าไหร่เพราะอำนาจและอิทธิพลของชางเต๋อกงถดถอยมากจนเหลือแต่ชื่อ ถึงเป็นธิดาคนโตจากภรรยาเอกสกุลเถียน แม่ก็เสียชีวิตแต่เด็ก พ่อแต่งอนุสกุลเหลียงเป็นฟูเหรินใหม่ทันที มีลูกหญิงชายหญิง ชวีเยวียซู่ และ ชวีวั่งจือ ตัวชวีชิงจวีที่ไม่ได้รับการดูแลก็มีนิสัยอ่อนแอทื่อมะลื่อ ไม่สามารถแข่งกับชายารองและอนุของเฮ่อเหิง คือเช่อเฟยสองคน อี๋เหนียงสองคน และทงฝางอีกสามคน (คนหนึ่งเป็นหญิงรับใช้ของชวีชิงจวีที่ฉวยโอกาสด้วย) หลังคืนวิวาห์ท่านอ๋องไม่เคยไปหาอีกถึงจะให้เกียรติเหมาะสมกับฐานะก็ตาม
เมื่อชวีชิงจวีถูกแกล้งจนป่วยหนักก็ได้วิญญาณสาวปัจจุบันเข้าร่าง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแรง ถึงศิลปศาสตร์ไม่ดี แต่ฉลาดและสามารถทำตนได้อย่างเหมาะสมในเรื่องที่สำคัญ ดึงดูดความสนใจของเฮ่อเหิงจัดการเรื่องการเงิน ควบคุมความเรียบร้อยในจวน การเยี่ยมและติดต่อกับบ้านเดิมของสนมได้อย่างเด็ดขาด ไม่มีโอกาสเกิดเรื่องเสื่อมเสียหรือข่าวสารรั่วไหลออกไปนอกจวน ทั้งยังสามารถสร้างความสัมพันธ์กับญาติฝ่ายแม่ได้ดี คือลุง เถียนจิ้นเคอ ที่เป็นเสียงชิวโหวและผู้พิพากษาคดีความสูงสุด ส่วนป้าสะใภ้จากสกุลหลัวก็เป็นธิดาของเสนาบดีกรมการทหาร หลัวฉางชิง เถียนจิ้นเคอถือคติภักดีต่อฮ่องเต้และระมัดระวังไม่สนับสนุนองค์ชายคนไหน มีภาพลักษณ์ที่ดีว่าไม่เอนเอียงหรือมีการใช้อำนาจในทางมิชอบใดๆ
ชวีชิงจวีที่เกิดใหม่มีคติประจำใจว่า ในเมื่อตัดสินใจจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขไปวันๆ ตั้งแต่แรก เช่นนั้นตอนนี้ก็ยังไม่แปรเปลี่ยน ... เฮ่อเหิงสามารถอดทนเธอได้นานแค่ไหน เธอก็ขอเหิมเกริมไปนานแท่านั้น รอจนถึงวันที่เฮ่อเหิงทนเธอไม่ได้อีกต่อไป อย่างมากก็แค่ตายเท่านั้น ... ชีวิตคนเราในอดีตกาลใครไม่ต้องตายบ้าง มีแค่ตายอย่างสบายใจหรือตายอย่างอัดอั้นตันใจเท่านั้น แต่ถึงจะว่าแบบนี้ ที่ชวีชิงจวีประพฤติก็ยังมีกรอบอันพอเหมาะ เฮ่อเหิงก็เห็นว่า หวางเฟยของตนเป็นสตรีที่ฉลาดเฉลียวยิ่งนัก ดูได้จากการที่นางปฏิบัติต่อผู้คนและสิ่งของ นางเป็นสตรีที่สามารถแยกแยะหนักเบาช้าเร็ว ไม่ทำให้ฐานะของจวนตวนอ๋องตกต่ำด้วยเพราะเป็นที่โปรดปราน ไม่ละเลยแม้เพียงครึ่งส่วนด้วย เมื่อควรแข็งกร้าวนางก็ไม่เคยล่าถอย เมื่อควรอ่อนโยนนางก็ไม่เคยเอาแต่ใจ
ในขณะที่เฮ่อเหิงชักใยองค์ชายใหญ่และองค์ชายสามให้ฟาดฟันกันเองให้เสียชื่อเสียงและตำแหน่ง ก่อนจัดการให้ตนเป็นตัวเลือกรัชทายาทที่เหลือเพียงหนึ่งเดียวอย่างไม่กระโตกกระตาก ชวีชิงจวีก็เป็นที่โปรดปรานมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะที่เป็นสะใภ้หลวงก็ต้องพบปะสังสรรค์กับหนิงหวางเฟยและรุ่ยหวางเฟย ฉินไป๋ลู่ ที่เพิ่งอภิเษกและมาจากตระกูลบัณฑิตเลื่องชื่อ รุ่ยอ๋องที่สนใจชวีชิงจวีก็ยังรับชวีเยวียซู่ยังเข้าเป็นเช่อเฟยทำให้เกิดการปะทะหลายฝ่ายหลายยก ภายหลังยังมีองค์หญิงจิ้นอันที่หย่าสามีกลับมาอยู่เมืองหลวง และ หลัวเวินเหยา หลานสาวคนโตของเสนาบดีหลัวที่เพิ่มมาเป็นหวางเฟยคนสุดท้ายขององค์ชายสี่
เมื่อดูด้านพระมารดาก็มีการเลื่อนขั้นอีก โดยเฉพาะจิ้งเฟยที่ได้เป็นจิ้งกุ้ยเฟยและซูเฟยที่ได้เป็นซูกุ้ยเฟย ในขณะที่ซูกุ้ยเฟยไม่พอใจฉินไป๋ลู่และแสดงออกอย่างนอกหน้า จิ้งกุ้ยเฟยที่เจอชวีชิงจวีมารยาไม่รู้เรื่องจนเหมือนจะโง่ ก็ถือว่าเป็นแม่สามีดีเด่นของราชวงศ์ต้าหลง มีแต่ผู้หญิงโง่เท่านั้น ถึงรังแกสะใภ้ให้อับอายต่อหน้าคนอื่น มีเรื่องอันใดก็กลับไปจัดการที่บ้านของตัวเองสิ ถ้าสะใภ้เสียหน้า คนที่เป็นแม่สามีจะเชิดหน้าชูตาได้หรือ ไม่เพียงทำให้ลูกชายของตัวเองยิ่งเสียหน้าตามไปด้วย ทั้งยังเป็นที่น่าหัวร่อของผู้อื่นอีก จัดการเชือดหลานสาวตัวเองที่อยากเป็นเช่อเฟยของเฮ่อเหิงอย่างไม่มีหัวคิด แถมยังรับช่วงแผนการของลูกชายได้อย่างยอดเยี่ยม
เมื่อถึงเวลาที่ชิ่งเต๋อฮ่องเต้ต้องประกาศรัชทายาท ตวนอ๋องก็ประสบความสำเร็จ (แน่นอนว่าเตรียมการเผื่อที่ชิ่งเต๋อฮ่องเต้ไม่ได้เลือกตนด้วย) ขึ้นครองราชย์เป็นเจียโย่วฮ่องเต้ ชวีชิงจวีเป็นหัวเหรินฮองเฮา ฮองเฮาองค์เดิมเป็นหมู่โฮ่วหวงไทเฮา จิ้งกุ้ยเฟยเป็นเซิ่งหมู่หวงไทเฮา เฮ่อเหิงรวบอำนาจและบริหารงานอย่างราบรื่น ซึ่งก็ลงเอยด้วยน้ำตาล ความฟิน และการแย่งภรรยาจากลูกชาย 555 ...
ในเรื่องเป็นรูปแบบที่ จขบ. ชอบ อย่างด้านสังคมศักดินามีเรื่องศักดิ์ฐานะที่ชัดเจน การแย่งชิงอำนาจที่สมควรกับสมัยที่รุ่งเรืองสงบสุข วาทะเชือดเฉือนมาเป็นทิวแถว การหักเหลี่ยมเฉือนคมของฝ่ายชายถึงจะไม่ชัดเจนนักเนื่องจากมุมมองส่วนใหญ่เป็นของชวีชิงจวี แต่ก็มีจุดสังเกตที่เห็นได้หลายที่ว่ามีคลื่นใต้น้ำอยู่ไม่น้อย ที่รู้สึกว่าเรื่องเบาไปหน่อยเพราะฝ่ายที่เหนือชั้นกว่าก็สามารถรวมพลเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันได้อย่างราบรื่น ในขณะที่อีกฝ่ายทั้งฝีมือต่ำกว่าแถมยังแตกแยกอีก ในภาพรวมรู้สึกว่าทั้งเรื่องสื่อให้เห็นถึงขอบเขตของการช่วงชิงและกรอบของความประพฤติที่มีความสม่ำเสมอมาก ทั้งด้านขุนนางซึ่งคู่จิ้งจอกพ่อตาลูกเขยหลัวฉางชิงและเถียนจิ้นเคอที่ได้เลื่อนเป็นจงอี้กง ชางเต๋อกงที่ตกต่ำถึงขีดสุด และที่ชัดเจนยิ่งกว่าคือฝ่ายในทั้งสองรุ่น
ในการดำเนินเรื่องมีจุดที่ จขบ. ฮาบ่อยพอสมควร อย่างการล้อเลียนเรื่องการอ่อยชายแบบต่างๆ อ้างเด็กชายหมิงในแบบเรียนที่ถึงไม่รู้เรื่องแต่ก็พอเข้าใจมุก แนวคิดและคำคมต่างๆ ก็ไม่เลว อย่าง เจ้าต้องจำไว้ หากสตรีอยากมีชีวิตที่ดี ก่อนอื่นต้องดีต่อตนเอง ขนาดตนเองทำร้ายตนเอง ผู้อื่นก็ยิ่งจะทำร้ายเจ้า ส่วน สตรีไร้ความสามารถคือสตรีผู้มีคุณธรรม สตรีที่อ่านหนังสือมากเกินไปคือสตรีผู้มีมารยา นี่คืออะไร !!! (feeling amused)
นิสัยของชวีชิงจวีก็เป็นที่ถูกใจ จขบ. อย่าง ชวีชิงจวีคิดว่าชวีเยวียซู่ กำลังพูดถึง ว่าเธอมีเพียงรูปลักษณ์ที่งดงาม แต่สมองไร้ซึ่งความรู้ แต่ชวีชิงจวีกลับไม่ถือสา เพราะผู้อื่นชื่นชมว่าเธองดงามก็มีค่าพอให้เธอดีใจแล้ว ส่วนจะมีหรือไม่มีสมองนั้น เธอเองรู้ชัดเจนก็พอ ผู้อื่นพูดอะไรจะมีความความหมายอันใด ... ในโลกนี้ มีใคร ไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์บ้าง ไม่ถูกคนริษยาคือผู้ด้อยความสามารถ เธอไม่เคยกลัวผู้อื่นป้ายสีใส่อยู่แล้ว ... แต่เธอเป็นคนที่ใช้เหตุผลมากกว่าความรู้สึก จะให้เธอเสียความเป็นเหตุเป็นผลเพราะผู้ชายคนหนึ่งนั้น ช่างมิใช่สไตล์ของเธอเลย ที่เธอทำได้ก็คือขอเพียงอีกฝ่ายดีต่อเธอ เธอก็จะดีต่ออีกฝ่าย ถ้าอีกฝ่ายไร้หัวใจ เธอก็ไม่ขอเอาอกเอาใจอย่างสิ้นคิด ในโลกนี้แม้จะจากใครไป ดวงอาทิตย์ยังคงปรากฏขึ้นมาใหม่ในทุกวันอยู่ดี ... ผู้หญิงในนิยาย มักจะเป็นจะตายเพื่อความรัก แต่เธอมิใช่นางเอก จึงไม่จำเป็นต้องเดินเส้นทางเกี่ยวกับนางเอก ... ความรักมิใช่ปัจจัยจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต แต่ถ้ามีความรักเป็นเครื่องปรุงรสให้ชีวิต เธอก็จะไม่ผลักไสและไม่ปฏิเสธที่จะลิ้มรสมัน ทำเอาเฮ่อเหิงประสาทกลับกลัวภรรยาไม่รัก ฮามากค่ะ
ที่รู้สึกแปลกด้านสังคมศักดินาก็มีบ้างอย่างอายุของฮ่องเต้ที่ดูจะมากไปสำหรับอายุของเหล่าองค์ชาย แต่ก็ไม่ได้เป็นไปไม่ได้นะคะ กับการเน้นย้ำความสูงส่งของราชวงศ์ แต่ก็มีที่บอกว่า 'น่าขันที่ส่งธิดาภรรยาเอกไปเป็นสนมรับใช้ คิดว่าเป็นสนมท่านอ๋องแล้วจะสูงส่งกว่าผู้ใด' เพราะ จขบ. คิดว่าที่เป็นเช่อเฟยก็ไม่น่าถือว่าเลวร้ายนะ ไม่ได้เป็นอี๋เหนียงสักหน่อย ฯลฯ
ปกติ จขบ. ไม่ค่อยเรื่องมากนักด้านสำนวนนิยายจีนแปล ถ้าไม่ชอบหรือเซ็งเป็นพิเศษก็ไม่สังเกตอะไร ออกจะเน้นด้านการใช้คำที่ให้ได้อารมณ์แบบจีนมากกว่า แต่เรื่องนี้ถือว่าโดดเด่นมาใต้บาดาลเลยค่ะ การบ่นงึมงำที่ปกติเป็นเรื่องค่อนข้างใหญ่ถือเป็นเรื่องจิ๊บๆ เช่นการทับศัพท์ตามสำเนียงแต้จิ๋วและจีนกลางที่ทำให้คนอ่านมึนได้ อย่างใช้ทั้งอ๋องและหวาง ไทเฮา/ไท่โฮ่ว พระนางที่น่าจะมาจากเหนียงเนี่ยง โชคดีที่ จขบ. ผ่านวิกฤติเปลี่ยนสำเนียงในนิยายกำลังภายในมาแล้ว ตอนนี้เลยรับได้หมด เห็นแล้วพอเดาได้ว่าน่าจะเป็นอะไร
การใช้ราชาศัพท์ค่อนข้างน้อย ซึ่งว่ากันตามตรงก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่าไหร่ แต่ถ้าใช้อย่างสับสนและลักลั่นก็ทำให้การอ่านสะดุดมาก เช่น ใช้ข้า/กระหม่อม/หม่อมฉัน สลับกันเรื่อย หรือองค์ชายสี่พูดถึงพี่ว่าเจ้าใหญ่ พี่รอง เจ้าสามในประโยคเดียวกัน จะว่าเป็นเพราะการเข้าพวกและความนับถือก็อาจจะเรียกต่างกันได้ แต่ที่ใช้อยู่อารมณ์ยังไม่ได้ การเรียกตำแหน่งและชื่อก็อิหลักอิเหลื่อไม่สม่ำเสมอ น่าจะเลือกเอาสักแบบหรือทับศัพท์ไปเลย เช่น เฟย ชายา กับภรรยาหลวง (ไม่เห็นในนิยายจีนเท่าไหร่ ใช้ภรรยาเอกมากกว่า) เช่อเฟยกับอนุชายาอย่างเดียว (อันนี้ก็แปลก เคยเห็นแต่ชายารอง) อี๋เหนียงกับสนมรับใช้ (เพิ่งเคยได้ยินนี่แหละ) แล้วยังมีสนมรับใช้ตำแหน่งทงฝางอีก ทำเอางงเรื่องลำดับตำแหน่ง
และที่โดดเด่นเป็นสง่ามากคือการบรรยายหลุดระนาว ขาดประธานกรรม เลือกคำไม่เหมาะสม เว้นวรรคไม่ดี คำเชื่อมที่ไม่เหมาะสม สะกดคำผิดระเนระนาด ฯลฯ ทำให้ทั้งสะดุดและความหมายทั้งเปลี่ยน อย่างตอนเข้าวังพบแม่สามีครั้งแรกก็ 'นี่คงเป็นจิ้งเฟยแล้ว ชวีชิงจวียืนขึ้นแล้วเข้าไปต้อนรับ บ่าวคำนับหมู่เฟยเพคะ เช่อเฟยทั้งสองก็ตามเธอมา แล้วทำความเครพพร้อมกัน เพียงแต่เรียกตนเองว่าบ่าว' (ผิดแบบนี้มีบ่อย) แถมมีการแปลที่ทำให้นึกถึงลักษณะเขียนวลีขยายก่อนขึ้นประธานแบบในภาษาอังกฤษ แต่พอเรียงลำดับแบบนั้นในภาษาไทยเลยแหม่งๆ หรือไม่ก็ดูที่ยกมาข้างต้นก็ได้ค่ะ
การเลือกคำเป็นประธานที่ไม่ทำให้อ่านแล้วลื่นมีบ่อย เช่นในตอน ความแตกต่างมากที่สุดระหว่างชายและหญิงก็คือ ผู้ชายมักถนัดลืมความดีงามของผู้หญิง ส่วนผู้หญิงนั้นถนัดจดจำความดีงามของผู้ชาย ดังนั้นเวลาผู้หญิงปฏิบัติต่อผู้ชาย ต้องไม่ทำดีด้วยตลอดเวลา เพราะนั่นยิ่งจะทำให้เขารู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา และลืมเรื่องการเสียสละของผู้หญิงไป คิดอยากให้ผู้ชายจดจำคุณไว้ตลอดเวลา คุณต้องจดจำตัวคุณเองให้ได้เสียก่อน เพราะถ้าขนาดตนเองยังลืมตนเองแล้ว ยังจะหวังให้ใครมาจำคุณได้อีก ที่รู้สึกว่าช่วงหลังถ้าใช้เป็นบุคคลที่สามน่าจะลื่นกว่า
นอกจากนั้นก็มีการใช้คำที่ไม่เหมาะสมหรือดูแปลกๆ อย่างบอกว่าสกุลเถียนเป็นน้องสาวไม่แท้ของมารดาชวีชิงจวี ก็น่าจะหมายถึงน้องสาวต่างมารดา ข้ารับใช้ที่ลงนามสัญญาทาสตลอดชีวิต ก็เคยเห็นแต่สัญญาขายตัว การใช้ศัพท์ที่ไม่คำนึงถึงบริบทและการแสดงความหมายโดยนัย โดยเฉพาะการใช้คำฝ่ายนิยมเจ้าที่ขัดหูขัดตา จขบ. มาก นี่เป็นยุคศักดินานะ! สุดท้ายคือมีช่วงที่เป็นคำพังเพยหรือกลอนซึ่งอ่านแล้วคิดว่าช่วยแปลไทยเป็นไทยและอธิบายเพิ่มหน่อยเถอะ เช่นกลอนคู่ 'ศศกวิญญาเชื่อมทะเลเงิน กุระมะภูผาผูกชะตา' ที่อ่านไม่รู้เรื่องแม้แต่แต่ตัวศัพท์ ความหมายแฝงยิ่งโบ๋เบ๋
แต่ที่รุนแรงและพบมากคือการเขียนคำนามและคำขยาย โดยเฉพาะลดคำสำหรับประธาน กรรมและตำแหน่งคนเกินไปมาก อย่างเวลาพูดถึงคนก็เรียกเฉยๆ เช่น สกุลหลัว ไม่มีคำหลักมาให้ขยาย คือน่าจะเป็น สนมสกุลหลัว หญิงสกุลหลัว สตรีสกุลหลัว หรือไม่ก็ใช้หลัวซื่อแบบจีนไปเลย ทั้งนี้ จขบ. ไม่ทราบว่าในต้นฉบับภาษาจีนเป็นอย่างไร ถึงสงสัยว่าภาษาจีนอาจเรียกกันแบบนี้ในโดยละไว้ในฐานที่เข้าใจหรือเปล่า แต่เมื่อถ่ายทอดเป็นภาษาไทยก็น่าจะทำให้อ่านในบริบทภาษาไทยรู้เรื่อง
อีกแบบที่เจอคือทำให้เข้าใจผิด 'เมื่อเกี้ยวหยุดลงที่หน้าประตูใหญ่ชั้นใน เสียงชิงโหวลงจากเกี้ยว พบว่าฟูเหรินหลายท่านยืนอยู่ ณ ที่นั้น คล้ายกำลังรออะไรอยู่ ... นี่เกิดอะไรขึ้นหรือ นางเดินไปหาฟูเหรินท่านหนึ่ง' ที่อ่านตอนแรกแล้วนึกว่าคนมาคือเสียงชิงโหว แต่พออ่านต่อๆ ไปถึงเข้าใจว่าเป็นภรรยาคือเสียงชิงโหวฟูเหริน
แต่ที่ จขบ. ว่าเด็ดเป็นพิเศษคือตอนบรรยายเหล่าสนมของตวนอ๋อง 'ส่วนสนมรับใช้อีกสองคนยิ่งมีฐานะต่ำต้อย บิดาของหานชิงเหอเป็นเพียงผู้ดูแลชั้นแปดตัวเล็กๆ แต่เพราะเมื่อแรกเริ่มได้อบรมตวนอ๋องให้ลึกซึ้งเรื่องทางโลก จึงได้มีหน้ามีตาเป็นสนมรับใช้' ที่ทำเอาสตันไปสองวิก่อนผนวกประโยคสุดท้ายเข้าไปในกรอบความหมาย เพราะอ่านแล้วเหมือนบิดาเป็นคนสอน ดูเป็นมุกนิยายวายที่ใช้ได้เลยนะ 555
สรุปความรู้สึกเรื่องนี้คือน่าจะเป็นเรื่องที่ดี ถึงเนื้อเรื่องจะถือว่าไร้อุปสรรคหรือดราม่าเรียกน้ำตาให้ลุ้นข้างจอ เพราะเลเวลต่างกันไปหน่อย ดูยังไงก็ชนะใส แต่ก็ได้อารมณ์การนำเสนอแบบ understatement และมีจุดเด่นพิเศษเรื่องการวางตัว เน้นความฟิน แต่พอเจอการแปลที่หลุดรุ่ยเวลาอ่านเลยไม่อิน ถือเป็นความช็อคอย่างแรงจากสำนักพิมพ์ที่ปกติวางใจว่าทำเล่มได้เนี๊ยบระดับแนวหน้า แต่เล่มนี้คงต้องผ่าใหญ่เกลากันใหม่อย่างมโหฬารค่ะ
ที่มา
[1] เยว่เซี่ยเตี๋ยอิง (ayacinth แปล). ชายาผู้มีคุณธรรม. สำนักพิมพ์อรุณ, 2 เล่มจบ, 472 + 464 หน้า, 2560.
รายการนิยายจีนแปลไทย
โดย เยว่เซี่ยเตี๋ยอิง (Yue Xia Die Ying) แปลโดย ayacinth
ในราชวงศ์ต้าหลง ชิ่งเต๋อฮ่องเต้ มีโอรสสี่องค์ องค์ชายใหญ่หนิงอ๋อง เฮ่อฉี มีพระมารดาเป็นเพียงไฉเหริน องค์ชายรองตวนอ๋อง เฮ่อเหิง เป็นโอรสของ จิ้งเฟย องค์ชายสามรุ่ยอ๋อง เฮ่อยวน เป็นโอรสของ ซูเฟย ที่ได้รับความโปรดปรานมากที่สุด ส่วนองค์ชายสี่เฉิงอ๋อง เฮ่อหมิง มี อันกุ้ยผิน เป็นพระมารดา ส่วนฮองเฮาที่ไม่มีพระโอรสธิดาได้เลี้ยงองค์หญิง จิ้นอัน ที่ได้รับตำแหน่งองค์หญิงใหญ่
ตอนนี้ชิ่งเต๋อฮ่องเต้มีพระชนม์เข้าหกสิบแล้ว เหล่าโอรสก็หาลู่ทางชิงอำนาจ ในบรรดาโอรสทั้งสี่ องค์ชายสี่ไม่มีโอกาสได้รับราชบัลลังก์เพราะทั้งอายุน้อยและไม่ได้รับความโปรดปรานใดๆ องค์ชายใหญ่มีผลงานในราชสำนัก และอภิเษก เว่ยชิงเอ๋อ เป็นหวางเฟย มีพระนัดดาองค์โต ส่วนองค์ชายรองมีพระมารดาที่ฉลาดเฉลียวและได้รับความโปรดปรานพอสมควร มีผลงานและมีความประพฤติเป็นที่ชื่นชม สุดท้ายองค์ชายสามได้รับความโปรดปรานมากที่สุดตามความโปรดปรานกับพระมารดา มีนิสัยโอหังทำเรื่องที่ไม่เหมาะสมมากมาย แต่ก็ได้ฮ่องเต้ช่วยมาตลอด
องค์ชายรองเฮ่อเหิงที่เป็นตัวเอกของเรื่องนี้ก็ถือว่ามีโอกาสไม่น้อย ถึงตาไม่มีอำนาจในฐานะรองราชครูและพระอาจารย์ แต่ก็ได้รับความเอ็นดูจากฮ่องเต้รองจากองค์ชายสาม พระมารดาก็ฉลาดเฉลียวเป็นพิเศษ ถึงไม่ได้รับความโปรดปรานมากแบบซูเฟย แต่ก็สามารถมีตำแหน่งอยู่ในระดับเดียวกัน เมื่อเฮ่อเหิงอายุต้นยี่สิบและควรอภิเษกได้แล้ว ก็ได้รับพระราชทานสมรสกับ ชวีชิงจวี ธิดาคนโตอายุสิบหกของ ชางเต๋อกง
ว่ากันตามจริงชวีชิงจวีถือว่าไม่เป็นหวางเฟยที่ช่วยส่งเสริมสวามีเท่าไหร่เพราะอำนาจและอิทธิพลของชางเต๋อกงถดถอยมากจนเหลือแต่ชื่อ ถึงเป็นธิดาคนโตจากภรรยาเอกสกุลเถียน แม่ก็เสียชีวิตแต่เด็ก พ่อแต่งอนุสกุลเหลียงเป็นฟูเหรินใหม่ทันที มีลูกหญิงชายหญิง ชวีเยวียซู่ และ ชวีวั่งจือ ตัวชวีชิงจวีที่ไม่ได้รับการดูแลก็มีนิสัยอ่อนแอทื่อมะลื่อ ไม่สามารถแข่งกับชายารองและอนุของเฮ่อเหิง คือเช่อเฟยสองคน อี๋เหนียงสองคน และทงฝางอีกสามคน (คนหนึ่งเป็นหญิงรับใช้ของชวีชิงจวีที่ฉวยโอกาสด้วย) หลังคืนวิวาห์ท่านอ๋องไม่เคยไปหาอีกถึงจะให้เกียรติเหมาะสมกับฐานะก็ตาม
เมื่อชวีชิงจวีถูกแกล้งจนป่วยหนักก็ได้วิญญาณสาวปัจจุบันเข้าร่าง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแรง ถึงศิลปศาสตร์ไม่ดี แต่ฉลาดและสามารถทำตนได้อย่างเหมาะสมในเรื่องที่สำคัญ ดึงดูดความสนใจของเฮ่อเหิงจัดการเรื่องการเงิน ควบคุมความเรียบร้อยในจวน การเยี่ยมและติดต่อกับบ้านเดิมของสนมได้อย่างเด็ดขาด ไม่มีโอกาสเกิดเรื่องเสื่อมเสียหรือข่าวสารรั่วไหลออกไปนอกจวน ทั้งยังสามารถสร้างความสัมพันธ์กับญาติฝ่ายแม่ได้ดี คือลุง เถียนจิ้นเคอ ที่เป็นเสียงชิวโหวและผู้พิพากษาคดีความสูงสุด ส่วนป้าสะใภ้จากสกุลหลัวก็เป็นธิดาของเสนาบดีกรมการทหาร หลัวฉางชิง เถียนจิ้นเคอถือคติภักดีต่อฮ่องเต้และระมัดระวังไม่สนับสนุนองค์ชายคนไหน มีภาพลักษณ์ที่ดีว่าไม่เอนเอียงหรือมีการใช้อำนาจในทางมิชอบใดๆ
ชวีชิงจวีที่เกิดใหม่มีคติประจำใจว่า ในเมื่อตัดสินใจจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขไปวันๆ ตั้งแต่แรก เช่นนั้นตอนนี้ก็ยังไม่แปรเปลี่ยน ... เฮ่อเหิงสามารถอดทนเธอได้นานแค่ไหน เธอก็ขอเหิมเกริมไปนานแท่านั้น รอจนถึงวันที่เฮ่อเหิงทนเธอไม่ได้อีกต่อไป อย่างมากก็แค่ตายเท่านั้น ... ชีวิตคนเราในอดีตกาลใครไม่ต้องตายบ้าง มีแค่ตายอย่างสบายใจหรือตายอย่างอัดอั้นตันใจเท่านั้น แต่ถึงจะว่าแบบนี้ ที่ชวีชิงจวีประพฤติก็ยังมีกรอบอันพอเหมาะ เฮ่อเหิงก็เห็นว่า หวางเฟยของตนเป็นสตรีที่ฉลาดเฉลียวยิ่งนัก ดูได้จากการที่นางปฏิบัติต่อผู้คนและสิ่งของ นางเป็นสตรีที่สามารถแยกแยะหนักเบาช้าเร็ว ไม่ทำให้ฐานะของจวนตวนอ๋องตกต่ำด้วยเพราะเป็นที่โปรดปราน ไม่ละเลยแม้เพียงครึ่งส่วนด้วย เมื่อควรแข็งกร้าวนางก็ไม่เคยล่าถอย เมื่อควรอ่อนโยนนางก็ไม่เคยเอาแต่ใจ
ในขณะที่เฮ่อเหิงชักใยองค์ชายใหญ่และองค์ชายสามให้ฟาดฟันกันเองให้เสียชื่อเสียงและตำแหน่ง ก่อนจัดการให้ตนเป็นตัวเลือกรัชทายาทที่เหลือเพียงหนึ่งเดียวอย่างไม่กระโตกกระตาก ชวีชิงจวีก็เป็นที่โปรดปรานมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะที่เป็นสะใภ้หลวงก็ต้องพบปะสังสรรค์กับหนิงหวางเฟยและรุ่ยหวางเฟย ฉินไป๋ลู่ ที่เพิ่งอภิเษกและมาจากตระกูลบัณฑิตเลื่องชื่อ รุ่ยอ๋องที่สนใจชวีชิงจวีก็ยังรับชวีเยวียซู่ยังเข้าเป็นเช่อเฟยทำให้เกิดการปะทะหลายฝ่ายหลายยก ภายหลังยังมีองค์หญิงจิ้นอันที่หย่าสามีกลับมาอยู่เมืองหลวง และ หลัวเวินเหยา หลานสาวคนโตของเสนาบดีหลัวที่เพิ่มมาเป็นหวางเฟยคนสุดท้ายขององค์ชายสี่
เมื่อดูด้านพระมารดาก็มีการเลื่อนขั้นอีก โดยเฉพาะจิ้งเฟยที่ได้เป็นจิ้งกุ้ยเฟยและซูเฟยที่ได้เป็นซูกุ้ยเฟย ในขณะที่ซูกุ้ยเฟยไม่พอใจฉินไป๋ลู่และแสดงออกอย่างนอกหน้า จิ้งกุ้ยเฟยที่เจอชวีชิงจวีมารยาไม่รู้เรื่องจนเหมือนจะโง่ ก็ถือว่าเป็นแม่สามีดีเด่นของราชวงศ์ต้าหลง มีแต่ผู้หญิงโง่เท่านั้น ถึงรังแกสะใภ้ให้อับอายต่อหน้าคนอื่น มีเรื่องอันใดก็กลับไปจัดการที่บ้านของตัวเองสิ ถ้าสะใภ้เสียหน้า คนที่เป็นแม่สามีจะเชิดหน้าชูตาได้หรือ ไม่เพียงทำให้ลูกชายของตัวเองยิ่งเสียหน้าตามไปด้วย ทั้งยังเป็นที่น่าหัวร่อของผู้อื่นอีก จัดการเชือดหลานสาวตัวเองที่อยากเป็นเช่อเฟยของเฮ่อเหิงอย่างไม่มีหัวคิด แถมยังรับช่วงแผนการของลูกชายได้อย่างยอดเยี่ยม
เมื่อถึงเวลาที่ชิ่งเต๋อฮ่องเต้ต้องประกาศรัชทายาท ตวนอ๋องก็ประสบความสำเร็จ (แน่นอนว่าเตรียมการเผื่อที่ชิ่งเต๋อฮ่องเต้ไม่ได้เลือกตนด้วย) ขึ้นครองราชย์เป็นเจียโย่วฮ่องเต้ ชวีชิงจวีเป็นหัวเหรินฮองเฮา ฮองเฮาองค์เดิมเป็นหมู่โฮ่วหวงไทเฮา จิ้งกุ้ยเฟยเป็นเซิ่งหมู่หวงไทเฮา เฮ่อเหิงรวบอำนาจและบริหารงานอย่างราบรื่น ซึ่งก็ลงเอยด้วยน้ำตาล ความฟิน และการแย่งภรรยาจากลูกชาย 555 ...
ในเรื่องเป็นรูปแบบที่ จขบ. ชอบ อย่างด้านสังคมศักดินามีเรื่องศักดิ์ฐานะที่ชัดเจน การแย่งชิงอำนาจที่สมควรกับสมัยที่รุ่งเรืองสงบสุข วาทะเชือดเฉือนมาเป็นทิวแถว การหักเหลี่ยมเฉือนคมของฝ่ายชายถึงจะไม่ชัดเจนนักเนื่องจากมุมมองส่วนใหญ่เป็นของชวีชิงจวี แต่ก็มีจุดสังเกตที่เห็นได้หลายที่ว่ามีคลื่นใต้น้ำอยู่ไม่น้อย ที่รู้สึกว่าเรื่องเบาไปหน่อยเพราะฝ่ายที่เหนือชั้นกว่าก็สามารถรวมพลเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันได้อย่างราบรื่น ในขณะที่อีกฝ่ายทั้งฝีมือต่ำกว่าแถมยังแตกแยกอีก ในภาพรวมรู้สึกว่าทั้งเรื่องสื่อให้เห็นถึงขอบเขตของการช่วงชิงและกรอบของความประพฤติที่มีความสม่ำเสมอมาก ทั้งด้านขุนนางซึ่งคู่จิ้งจอกพ่อตาลูกเขยหลัวฉางชิงและเถียนจิ้นเคอที่ได้เลื่อนเป็นจงอี้กง ชางเต๋อกงที่ตกต่ำถึงขีดสุด และที่ชัดเจนยิ่งกว่าคือฝ่ายในทั้งสองรุ่น
ในการดำเนินเรื่องมีจุดที่ จขบ. ฮาบ่อยพอสมควร อย่างการล้อเลียนเรื่องการอ่อยชายแบบต่างๆ อ้างเด็กชายหมิงในแบบเรียนที่ถึงไม่รู้เรื่องแต่ก็พอเข้าใจมุก แนวคิดและคำคมต่างๆ ก็ไม่เลว อย่าง เจ้าต้องจำไว้ หากสตรีอยากมีชีวิตที่ดี ก่อนอื่นต้องดีต่อตนเอง ขนาดตนเองทำร้ายตนเอง ผู้อื่นก็ยิ่งจะทำร้ายเจ้า ส่วน สตรีไร้ความสามารถคือสตรีผู้มีคุณธรรม สตรีที่อ่านหนังสือมากเกินไปคือสตรีผู้มีมารยา นี่คืออะไร !!! (feeling amused)
นิสัยของชวีชิงจวีก็เป็นที่ถูกใจ จขบ. อย่าง ชวีชิงจวีคิดว่าชวีเยวียซู่ กำลังพูดถึง ว่าเธอมีเพียงรูปลักษณ์ที่งดงาม แต่สมองไร้ซึ่งความรู้ แต่ชวีชิงจวีกลับไม่ถือสา เพราะผู้อื่นชื่นชมว่าเธองดงามก็มีค่าพอให้เธอดีใจแล้ว ส่วนจะมีหรือไม่มีสมองนั้น เธอเองรู้ชัดเจนก็พอ ผู้อื่นพูดอะไรจะมีความความหมายอันใด ... ในโลกนี้ มีใคร ไม่ถูกวิพากษ์วิจารณ์บ้าง ไม่ถูกคนริษยาคือผู้ด้อยความสามารถ เธอไม่เคยกลัวผู้อื่นป้ายสีใส่อยู่แล้ว ... แต่เธอเป็นคนที่ใช้เหตุผลมากกว่าความรู้สึก จะให้เธอเสียความเป็นเหตุเป็นผลเพราะผู้ชายคนหนึ่งนั้น ช่างมิใช่สไตล์ของเธอเลย ที่เธอทำได้ก็คือขอเพียงอีกฝ่ายดีต่อเธอ เธอก็จะดีต่ออีกฝ่าย ถ้าอีกฝ่ายไร้หัวใจ เธอก็ไม่ขอเอาอกเอาใจอย่างสิ้นคิด ในโลกนี้แม้จะจากใครไป ดวงอาทิตย์ยังคงปรากฏขึ้นมาใหม่ในทุกวันอยู่ดี ... ผู้หญิงในนิยาย มักจะเป็นจะตายเพื่อความรัก แต่เธอมิใช่นางเอก จึงไม่จำเป็นต้องเดินเส้นทางเกี่ยวกับนางเอก ... ความรักมิใช่ปัจจัยจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต แต่ถ้ามีความรักเป็นเครื่องปรุงรสให้ชีวิต เธอก็จะไม่ผลักไสและไม่ปฏิเสธที่จะลิ้มรสมัน ทำเอาเฮ่อเหิงประสาทกลับกลัวภรรยาไม่รัก ฮามากค่ะ
ที่รู้สึกแปลกด้านสังคมศักดินาก็มีบ้างอย่างอายุของฮ่องเต้ที่ดูจะมากไปสำหรับอายุของเหล่าองค์ชาย แต่ก็ไม่ได้เป็นไปไม่ได้นะคะ กับการเน้นย้ำความสูงส่งของราชวงศ์ แต่ก็มีที่บอกว่า 'น่าขันที่ส่งธิดาภรรยาเอกไปเป็นสนมรับใช้ คิดว่าเป็นสนมท่านอ๋องแล้วจะสูงส่งกว่าผู้ใด' เพราะ จขบ. คิดว่าที่เป็นเช่อเฟยก็ไม่น่าถือว่าเลวร้ายนะ ไม่ได้เป็นอี๋เหนียงสักหน่อย ฯลฯ
ปกติ จขบ. ไม่ค่อยเรื่องมากนักด้านสำนวนนิยายจีนแปล ถ้าไม่ชอบหรือเซ็งเป็นพิเศษก็ไม่สังเกตอะไร ออกจะเน้นด้านการใช้คำที่ให้ได้อารมณ์แบบจีนมากกว่า แต่เรื่องนี้ถือว่าโดดเด่นมาใต้บาดาลเลยค่ะ การบ่นงึมงำที่ปกติเป็นเรื่องค่อนข้างใหญ่ถือเป็นเรื่องจิ๊บๆ เช่นการทับศัพท์ตามสำเนียงแต้จิ๋วและจีนกลางที่ทำให้คนอ่านมึนได้ อย่างใช้ทั้งอ๋องและหวาง ไทเฮา/ไท่โฮ่ว พระนางที่น่าจะมาจากเหนียงเนี่ยง โชคดีที่ จขบ. ผ่านวิกฤติเปลี่ยนสำเนียงในนิยายกำลังภายในมาแล้ว ตอนนี้เลยรับได้หมด เห็นแล้วพอเดาได้ว่าน่าจะเป็นอะไร
การใช้ราชาศัพท์ค่อนข้างน้อย ซึ่งว่ากันตามตรงก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่าไหร่ แต่ถ้าใช้อย่างสับสนและลักลั่นก็ทำให้การอ่านสะดุดมาก เช่น ใช้ข้า/กระหม่อม/หม่อมฉัน สลับกันเรื่อย หรือองค์ชายสี่พูดถึงพี่ว่าเจ้าใหญ่ พี่รอง เจ้าสามในประโยคเดียวกัน จะว่าเป็นเพราะการเข้าพวกและความนับถือก็อาจจะเรียกต่างกันได้ แต่ที่ใช้อยู่อารมณ์ยังไม่ได้ การเรียกตำแหน่งและชื่อก็อิหลักอิเหลื่อไม่สม่ำเสมอ น่าจะเลือกเอาสักแบบหรือทับศัพท์ไปเลย เช่น เฟย ชายา กับภรรยาหลวง (ไม่เห็นในนิยายจีนเท่าไหร่ ใช้ภรรยาเอกมากกว่า) เช่อเฟยกับอนุชายาอย่างเดียว (อันนี้ก็แปลก เคยเห็นแต่ชายารอง) อี๋เหนียงกับสนมรับใช้ (เพิ่งเคยได้ยินนี่แหละ) แล้วยังมีสนมรับใช้ตำแหน่งทงฝางอีก ทำเอางงเรื่องลำดับตำแหน่ง
และที่โดดเด่นเป็นสง่ามากคือการบรรยายหลุดระนาว ขาดประธานกรรม เลือกคำไม่เหมาะสม เว้นวรรคไม่ดี คำเชื่อมที่ไม่เหมาะสม สะกดคำผิดระเนระนาด ฯลฯ ทำให้ทั้งสะดุดและความหมายทั้งเปลี่ยน อย่างตอนเข้าวังพบแม่สามีครั้งแรกก็ 'นี่คงเป็นจิ้งเฟยแล้ว ชวีชิงจวียืนขึ้นแล้วเข้าไปต้อนรับ บ่าวคำนับหมู่เฟยเพคะ เช่อเฟยทั้งสองก็ตามเธอมา แล้วทำความเครพพร้อมกัน เพียงแต่เรียกตนเองว่าบ่าว' (ผิดแบบนี้มีบ่อย) แถมมีการแปลที่ทำให้นึกถึงลักษณะเขียนวลีขยายก่อนขึ้นประธานแบบในภาษาอังกฤษ แต่พอเรียงลำดับแบบนั้นในภาษาไทยเลยแหม่งๆ หรือไม่ก็ดูที่ยกมาข้างต้นก็ได้ค่ะ
การเลือกคำเป็นประธานที่ไม่ทำให้อ่านแล้วลื่นมีบ่อย เช่นในตอน ความแตกต่างมากที่สุดระหว่างชายและหญิงก็คือ ผู้ชายมักถนัดลืมความดีงามของผู้หญิง ส่วนผู้หญิงนั้นถนัดจดจำความดีงามของผู้ชาย ดังนั้นเวลาผู้หญิงปฏิบัติต่อผู้ชาย ต้องไม่ทำดีด้วยตลอดเวลา เพราะนั่นยิ่งจะทำให้เขารู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา และลืมเรื่องการเสียสละของผู้หญิงไป คิดอยากให้ผู้ชายจดจำคุณไว้ตลอดเวลา คุณต้องจดจำตัวคุณเองให้ได้เสียก่อน เพราะถ้าขนาดตนเองยังลืมตนเองแล้ว ยังจะหวังให้ใครมาจำคุณได้อีก ที่รู้สึกว่าช่วงหลังถ้าใช้เป็นบุคคลที่สามน่าจะลื่นกว่า
นอกจากนั้นก็มีการใช้คำที่ไม่เหมาะสมหรือดูแปลกๆ อย่างบอกว่าสกุลเถียนเป็นน้องสาวไม่แท้ของมารดาชวีชิงจวี ก็น่าจะหมายถึงน้องสาวต่างมารดา ข้ารับใช้ที่ลงนามสัญญาทาสตลอดชีวิต ก็เคยเห็นแต่สัญญาขายตัว การใช้ศัพท์ที่ไม่คำนึงถึงบริบทและการแสดงความหมายโดยนัย โดยเฉพาะการใช้คำฝ่ายนิยมเจ้าที่ขัดหูขัดตา จขบ. มาก นี่เป็นยุคศักดินานะ! สุดท้ายคือมีช่วงที่เป็นคำพังเพยหรือกลอนซึ่งอ่านแล้วคิดว่าช่วยแปลไทยเป็นไทยและอธิบายเพิ่มหน่อยเถอะ เช่นกลอนคู่ 'ศศกวิญญาเชื่อมทะเลเงิน กุระมะภูผาผูกชะตา' ที่อ่านไม่รู้เรื่องแม้แต่แต่ตัวศัพท์ ความหมายแฝงยิ่งโบ๋เบ๋
แต่ที่รุนแรงและพบมากคือการเขียนคำนามและคำขยาย โดยเฉพาะลดคำสำหรับประธาน กรรมและตำแหน่งคนเกินไปมาก อย่างเวลาพูดถึงคนก็เรียกเฉยๆ เช่น สกุลหลัว ไม่มีคำหลักมาให้ขยาย คือน่าจะเป็น สนมสกุลหลัว หญิงสกุลหลัว สตรีสกุลหลัว หรือไม่ก็ใช้หลัวซื่อแบบจีนไปเลย ทั้งนี้ จขบ. ไม่ทราบว่าในต้นฉบับภาษาจีนเป็นอย่างไร ถึงสงสัยว่าภาษาจีนอาจเรียกกันแบบนี้ในโดยละไว้ในฐานที่เข้าใจหรือเปล่า แต่เมื่อถ่ายทอดเป็นภาษาไทยก็น่าจะทำให้อ่านในบริบทภาษาไทยรู้เรื่อง
อีกแบบที่เจอคือทำให้เข้าใจผิด 'เมื่อเกี้ยวหยุดลงที่หน้าประตูใหญ่ชั้นใน เสียงชิงโหวลงจากเกี้ยว พบว่าฟูเหรินหลายท่านยืนอยู่ ณ ที่นั้น คล้ายกำลังรออะไรอยู่ ... นี่เกิดอะไรขึ้นหรือ นางเดินไปหาฟูเหรินท่านหนึ่ง' ที่อ่านตอนแรกแล้วนึกว่าคนมาคือเสียงชิงโหว แต่พออ่านต่อๆ ไปถึงเข้าใจว่าเป็นภรรยาคือเสียงชิงโหวฟูเหริน
แต่ที่ จขบ. ว่าเด็ดเป็นพิเศษคือตอนบรรยายเหล่าสนมของตวนอ๋อง 'ส่วนสนมรับใช้อีกสองคนยิ่งมีฐานะต่ำต้อย บิดาของหานชิงเหอเป็นเพียงผู้ดูแลชั้นแปดตัวเล็กๆ แต่เพราะเมื่อแรกเริ่มได้อบรมตวนอ๋องให้ลึกซึ้งเรื่องทางโลก จึงได้มีหน้ามีตาเป็นสนมรับใช้' ที่ทำเอาสตันไปสองวิก่อนผนวกประโยคสุดท้ายเข้าไปในกรอบความหมาย เพราะอ่านแล้วเหมือนบิดาเป็นคนสอน ดูเป็นมุกนิยายวายที่ใช้ได้เลยนะ 555
สรุปความรู้สึกเรื่องนี้คือน่าจะเป็นเรื่องที่ดี ถึงเนื้อเรื่องจะถือว่าไร้อุปสรรคหรือดราม่าเรียกน้ำตาให้ลุ้นข้างจอ เพราะเลเวลต่างกันไปหน่อย ดูยังไงก็ชนะใส แต่ก็ได้อารมณ์การนำเสนอแบบ understatement และมีจุดเด่นพิเศษเรื่องการวางตัว เน้นความฟิน แต่พอเจอการแปลที่หลุดรุ่ยเวลาอ่านเลยไม่อิน ถือเป็นความช็อคอย่างแรงจากสำนักพิมพ์ที่ปกติวางใจว่าทำเล่มได้เนี๊ยบระดับแนวหน้า แต่เล่มนี้คงต้องผ่าใหญ่เกลากันใหม่อย่างมโหฬารค่ะ
[08/05/17, 16/10/21]
ที่มา
[1] เยว่เซี่ยเตี๋ยอิง (ayacinth แปล). ชายาผู้มีคุณธรรม. สำนักพิมพ์อรุณ, 2 เล่มจบ, 472 + 464 หน้า, 2560.
รายการนิยายจีนแปลไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น