The Bridgerton Series - Julia Quinn
เรื่อง The Bridgerton Series
โดย Julia Quinn
นิยายโรมานส์ชุดนี้เกี่ยวกับลูกตระกูลบริดเจอร์ตันแปดคนของ เอ็ดมันด์ (Edmund) และ ไวโอเล็ต (Violet) ที่มีชื่อเรียงตามลำดับพยัญชนะ คือ แอนโทนี (Anthony, เกิด 1784) เบเนดิกต์ (Benedict, เกิด 1786) คอลิน (Colin, เกิด 1791) ดาฟนี (Daphne, เกิด 1792) เอโลอีส (Elois, เกิด 1796) ฟรานเซสกา (Francesca, เกิด 1797) เกรกอรี (Gregory, เกิด 1801) ไฮยาซินธ์ (Hyacinth, เกิด 1803) แล้วก็มีตอนพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม
จุดเด่นของเรื่องอันหนึ่งคือการรายงานในหนังสือพิมพ์ข่าวสังคมของเลดี้วิสเซิลดาวน์ (Lady Whistledown) ที่มีการระบุตัวตนคนในข่าวชัดเจนและสร้างอารมณ์ซุบซิบที่บรรเทิงพอใช้ โดยหนังสิอพิมพ์ปรากฎตัวราวสามเดือนก่อนหน้าเรื่องในนิยายเล่มแรก
จุดเด่นของผลงานผู้แต่งคือแนวทางการดำเนินเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยเฉพาะในครอบครัว บุคลิกลักษณะของตัวละคร ที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจในมุมมองสมัยใหม่ แต่ก็ไม่ได้ออกนอกลู่นอกทางหรือเพี้ยนในเชิงบริบทของบุคสมัย สำนวนและการบรรยายทั้งสนุก ตลก เฉียบคม จินตนาการได้ง่าย และยังมีกลิ่นอายของยุคสมัยอยู่
ตัวละครในชุดก็ได้ไปเป็นตัวประกอบในชุดอื่นด้วย เช่นชุด Smythe-Smith Quartet Series และยังมีนิยายชุดรุ่นพ่อคือ The Rokesby Series ด้วย
The Duke and I
เริ่มเรื่องในปี 1813 ที่
เรื่องนี้ได้อ่านมานานมากแล้วกว่าจะได้เริ่มเขียนบล็อกนี่ เลยต้องไปอ่านซ้ำอีกรอบเพราะลืมรายละเอียดไปหมดแล้ว จำได้แค่ว่าเป็นเรื่องที่ทำให้มาสนใจผลงานของผู้แต่งและไล่ตามเรื่องอื่นต่อ จากเว็บไซต์ผู้แต่งบอกว่าได้เข้ารอบสุดท้ายในการประกวด 2001 RITA Awards สาขาเรื่องสั้นอิงประวัติศาสตร์ ของสมาคมนักเขียนนิยายโรมานส์แห่งอเมริกา
ในไทย สำนักพิมพ์แก้วกานต์ตีพิมพ์ในชื่อ 'ดยุคในดวงใจ' แปลโดยมัณฑุกา จขบ. ไปดูตัวอย่างใน meb นิดหน่อย รู้สึกว่าแปลออกแข็งเมื่อเทียบกับสำนวนอังกฤษ แต่ก็เข้าใจว่าผู้แต่งบรรยายอย่างความลื่นไหลและมีการเล่นคำสูงกว่านิยายโรมานส์โดยทั่วไปมาก สำหรับนิยายรักถือเป็นการแปลที่มีมาตรฐานสูง ยิ่งเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่จะแปลยากกว่าปกติด้วย เท่าที่ได้อ่านเล็กน้อย ผู้แต่งเหมือนจะเพิ่มข้อมูลจำนวนไม่มากเพื่อให้ผู้อ่านไทยเข้าใจได้ดีขึ้นด้วย อย่างตอนพูดเรื่องผ้าผูกคอเจ้าชายผู้สำเร็จราชการ ที่ในนิยายละสำเร็จราชการไว้ในฐานที่เข้าใจตามยุคสมัย แต่ก็มีที่หายไปเหมือนกันอย่างพ่อไซมอนเป็นดยุคลำดับที่เก้า
มีข้อสังเกตในการแปลเรียนการเรียนในมหาวิทยาลัย "Upon finishing Oxford with a first in mathematics, ..." ที่แปลว่าไซมอนจบออกซ์ฟอร์ดด้วยคะแนนอันดับหนึ่งทางคณิตศาสตร์ ทั้งนี้ จขบ. ก็ไม่แน่ใจว่าสมัยนั้นการสอบและจบการศึกษาที่ออกซ์ฟอร์ดเป็นอย่างไรแน่ ถ้าเป็นการใช้คำในบริบทราวร้อยปีที่ผ่านมาจะแปลว่าได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาคณิตศาสตร์
เรื่องนี้ถูกนำไปทำเป็นซีรีส์ Netflix ชื่อไทยคือ 'บริดเจอร์ตัน: วังวนรัก เกมไฮโซ' โดยเล่านิยายทั้งชุดรวมกันไป แต่ซีซั่น 1 ที่มี 8 ตอน ได้เน้นเรื่องใน 'The Duke and I' แต่เมื่อดูในรายละเอียดแล้ว ก็ไม่ได้ตรงกับในนิยายเท่าไหร่ มีการตัดลดและเพิ่มเติมตอน เหตุการณ์ และความสัมพันธ์พอสมควร
ในซีรีส์มีข้อผิดพลาดทางประวัติศาสตร์เยอะ แต่ซีรีส์แบบนี้ก็มั่วกันเยอะเป็นปกติ จุดที่ จขบ. ไม่ชอบมาก มีอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะการเปลี่ยนให้เรื่องออกแนวศีรีส์ไฮโซสมัยใหม่และสมชื่อแปลไทย 'วังวนรัก เกมไฮโซ' มากมาย เช่น ดาฟนีกลายเป็นสาวสุดฮอตอันดับหนึ่ง ความเห็นของแอนโทนีต่อการแต่งงานของดาฟนีที่ทำให้ความรู้สึกของความเข้มแข็งของดาฟนีใต้บริบทของยุคและความผูกพันธ์ในครอบครัวหายไปเยอะมาก แล้วก็มีรายละเอียดประกอบเช่น แนวทางการตั้งตำแหน่งขุนนาง อำนาจและอิทธิพลของเชื้อพระวงศ์ ฯลฯ ที่เพิ่มมาอย่างลดทอนความสมจริง
สุดท้ายคือการแคสตัวละครที่ให้ไซมอนเป็นผิวดำ ที่ถึงจะฮอตอย่างไรก็ตาม ก็ทำลายภาพลักษณ์ที่ได้จากการอ่านนิยายคือผมน้ำตาลเข้ม ตาสีฟ้าอ่อนเย็นยะเยือก แบบไม่เหลือชิ้นดี (ส่วนผมดาฟนีที่ควรเป็นสีน้ำตาลเชสนัทก็อ่อนไปหน่อย ทำให้เสียความรู้สึกถึงความร้อนแรงของสีน้ำตาลอมแดงและเข้าใกล้สีผมตามพิมพ์นิยมไปอีกหน่อย) แถมยังให้ควีนชาร์ล็อตเป็นผิวดำอีก คือรูปวาดก็มีชัดเจนว่าหน้าตาอย่างไร ถึงผู้วาดรูปอาจวาดให้ดูดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้เป็นผิวดำแบบนี้ ถึงจะบอกว่าเป็นการเลือกด้วยความสามรถในการแสดง แต่ทำให้รู้สึกว่ากลายเป็นซีรีส์อิงประวัติศาสตร์ต่างโลกมากขึ้น ที่ทำให้ทำใจได้ง่ายขึ้น -_-"
The Viscount Who Loved Me
ในไทย สำนักพิมพ์แก้วกานต์ตีพิมพ์ 'ไวส์เคานต์ที่เฝ้ารอ' แปลโดยมัณฑุกา จากตัวอย่างที่ไปเปิดดู เห็นข้อผิดที่บอกว่าแอนโทนีเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยออลโซลส์ ควรเป็นวิทยาลัยออลโซลส์ มหาวิทยาล้ยออกซ์ฟอร์ด ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและเคมบริดจ์จะแบ่งย่อยเป็นวิทยาลัยที่มีการบริหารจัดการเองและมีที่พักอยู่ด้วย โดยวิทยาลัยออลโซลส์ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี 1438 โดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีตอนนั้น
The Bridgertons: Happily Ever After
เล่มนี้เป็นรวมบทส่งท้ายชุดที่สอง (second epilogues) ของเรื่องหลักของทั้งแปดเล่มที่เคยเผยแพร่ทางดิจิตัลและรวมเข้าไปในตัวเล่มเรื่องหลักที่พิมพ์หลังๆ กับเรื่องสั้นของรุ่นพ่อแม่
ตอนที่สองของแอนโทนี เกิดหลังจากการแต่งงานมาสิบห้าปี ได้มีการจัดการแข่งพาลมาลในตำนานเป็นประจำทุกปี แอนโทนีและเคทก็แย่งชิงตะลุมพุกสีดำกันล่วงหน้าทุกปีเช่นกัน และในปีนี้ก็ใช้ทุกวิถีทางในการแย่งชิง ไม่ว่าจะติดสินบนคนรับใช้ ถึงเสน่ห์บนเตียง แต่กลายเป็นว่าคอลินชิงไปได้ด้วยการติดสินบนสาวใช้ ตามด้วยความพยายามในการโกงทุกรูปแบบ 555
ที่มา
[1] Julia Quinn. The Duke and I. Avon Books, 384 pages, 2006, first published in 2000.
[9] Julia Quinn. The Bridgertons: Happily Ever After. Avon Books, 386 pages, 2013.
รายการนิยายอังกฤษ, ไทม์ไลน์หนังสืออิงประวัติศาสตร์/ย้อนยุค อังกฤษ
โดย Julia Quinn
นิยายโรมานส์ชุดนี้เกี่ยวกับลูกตระกูลบริดเจอร์ตันแปดคนของ เอ็ดมันด์ (Edmund) และ ไวโอเล็ต (Violet) ที่มีชื่อเรียงตามลำดับพยัญชนะ คือ แอนโทนี (Anthony, เกิด 1784) เบเนดิกต์ (Benedict, เกิด 1786) คอลิน (Colin, เกิด 1791) ดาฟนี (Daphne, เกิด 1792) เอโลอีส (Elois, เกิด 1796) ฟรานเซสกา (Francesca, เกิด 1797) เกรกอรี (Gregory, เกิด 1801) ไฮยาซินธ์ (Hyacinth, เกิด 1803) แล้วก็มีตอนพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม
จุดเด่นของเรื่องอันหนึ่งคือการรายงานในหนังสือพิมพ์ข่าวสังคมของเลดี้วิสเซิลดาวน์ (Lady Whistledown) ที่มีการระบุตัวตนคนในข่าวชัดเจนและสร้างอารมณ์ซุบซิบที่บรรเทิงพอใช้ โดยหนังสิอพิมพ์ปรากฎตัวราวสามเดือนก่อนหน้าเรื่องในนิยายเล่มแรก
จุดเด่นของผลงานผู้แต่งคือแนวทางการดำเนินเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยเฉพาะในครอบครัว บุคลิกลักษณะของตัวละคร ที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจในมุมมองสมัยใหม่ แต่ก็ไม่ได้ออกนอกลู่นอกทางหรือเพี้ยนในเชิงบริบทของบุคสมัย สำนวนและการบรรยายทั้งสนุก ตลก เฉียบคม จินตนาการได้ง่าย และยังมีกลิ่นอายของยุคสมัยอยู่
ตัวละครในชุดก็ได้ไปเป็นตัวประกอบในชุดอื่นด้วย เช่นชุด Smythe-Smith Quartet Series และยังมีนิยายชุดรุ่นพ่อคือ The Rokesby Series ด้วย
เริ่มเรื่องในปี 1813 ที่
เรื่องนี้ได้อ่านมานานมากแล้วกว่าจะได้เริ่มเขียนบล็อกนี่ เลยต้องไปอ่านซ้ำอีกรอบเพราะลืมรายละเอียดไปหมดแล้ว จำได้แค่ว่าเป็นเรื่องที่ทำให้มาสนใจผลงานของผู้แต่งและไล่ตามเรื่องอื่นต่อ จากเว็บไซต์ผู้แต่งบอกว่าได้เข้ารอบสุดท้ายในการประกวด 2001 RITA Awards สาขาเรื่องสั้นอิงประวัติศาสตร์ ของสมาคมนักเขียนนิยายโรมานส์แห่งอเมริกา
ในไทย สำนักพิมพ์แก้วกานต์ตีพิมพ์ในชื่อ 'ดยุคในดวงใจ' แปลโดยมัณฑุกา จขบ. ไปดูตัวอย่างใน meb นิดหน่อย รู้สึกว่าแปลออกแข็งเมื่อเทียบกับสำนวนอังกฤษ แต่ก็เข้าใจว่าผู้แต่งบรรยายอย่างความลื่นไหลและมีการเล่นคำสูงกว่านิยายโรมานส์โดยทั่วไปมาก สำหรับนิยายรักถือเป็นการแปลที่มีมาตรฐานสูง ยิ่งเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่จะแปลยากกว่าปกติด้วย เท่าที่ได้อ่านเล็กน้อย ผู้แต่งเหมือนจะเพิ่มข้อมูลจำนวนไม่มากเพื่อให้ผู้อ่านไทยเข้าใจได้ดีขึ้นด้วย อย่างตอนพูดเรื่องผ้าผูกคอเจ้าชายผู้สำเร็จราชการ ที่ในนิยายละสำเร็จราชการไว้ในฐานที่เข้าใจตามยุคสมัย แต่ก็มีที่หายไปเหมือนกันอย่างพ่อไซมอนเป็นดยุคลำดับที่เก้า
มีข้อสังเกตในการแปลเรียนการเรียนในมหาวิทยาลัย "Upon finishing Oxford with a first in mathematics, ..." ที่แปลว่าไซมอนจบออกซ์ฟอร์ดด้วยคะแนนอันดับหนึ่งทางคณิตศาสตร์ ทั้งนี้ จขบ. ก็ไม่แน่ใจว่าสมัยนั้นการสอบและจบการศึกษาที่ออกซ์ฟอร์ดเป็นอย่างไรแน่ ถ้าเป็นการใช้คำในบริบทราวร้อยปีที่ผ่านมาจะแปลว่าได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งในสาขาคณิตศาสตร์
เรื่องนี้ถูกนำไปทำเป็นซีรีส์ Netflix ชื่อไทยคือ 'บริดเจอร์ตัน: วังวนรัก เกมไฮโซ' โดยเล่านิยายทั้งชุดรวมกันไป แต่ซีซั่น 1 ที่มี 8 ตอน ได้เน้นเรื่องใน 'The Duke and I' แต่เมื่อดูในรายละเอียดแล้ว ก็ไม่ได้ตรงกับในนิยายเท่าไหร่ มีการตัดลดและเพิ่มเติมตอน เหตุการณ์ และความสัมพันธ์พอสมควร
ในซีรีส์มีข้อผิดพลาดทางประวัติศาสตร์เยอะ แต่ซีรีส์แบบนี้ก็มั่วกันเยอะเป็นปกติ จุดที่ จขบ. ไม่ชอบมาก มีอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะการเปลี่ยนให้เรื่องออกแนวศีรีส์ไฮโซสมัยใหม่และสมชื่อแปลไทย 'วังวนรัก เกมไฮโซ' มากมาย เช่น ดาฟนีกลายเป็นสาวสุดฮอตอันดับหนึ่ง ความเห็นของแอนโทนีต่อการแต่งงานของดาฟนีที่ทำให้ความรู้สึกของความเข้มแข็งของดาฟนีใต้บริบทของยุคและความผูกพันธ์ในครอบครัวหายไปเยอะมาก แล้วก็มีรายละเอียดประกอบเช่น แนวทางการตั้งตำแหน่งขุนนาง อำนาจและอิทธิพลของเชื้อพระวงศ์ ฯลฯ ที่เพิ่มมาอย่างลดทอนความสมจริง
สุดท้ายคือการแคสตัวละครที่ให้ไซมอนเป็นผิวดำ ที่ถึงจะฮอตอย่างไรก็ตาม ก็ทำลายภาพลักษณ์ที่ได้จากการอ่านนิยายคือผมน้ำตาลเข้ม ตาสีฟ้าอ่อนเย็นยะเยือก แบบไม่เหลือชิ้นดี (ส่วนผมดาฟนีที่ควรเป็นสีน้ำตาลเชสนัทก็อ่อนไปหน่อย ทำให้เสียความรู้สึกถึงความร้อนแรงของสีน้ำตาลอมแดงและเข้าใกล้สีผมตามพิมพ์นิยมไปอีกหน่อย) แถมยังให้ควีนชาร์ล็อตเป็นผิวดำอีก คือรูปวาดก็มีชัดเจนว่าหน้าตาอย่างไร ถึงผู้วาดรูปอาจวาดให้ดูดีขึ้น แต่ก็ไม่ได้เป็นผิวดำแบบนี้ ถึงจะบอกว่าเป็นการเลือกด้วยความสามรถในการแสดง แต่ทำให้รู้สึกว่ากลายเป็นซีรีส์อิงประวัติศาสตร์ต่างโลกมากขึ้น ที่ทำให้ทำใจได้ง่ายขึ้น -_-"
[26/12/21]
ในไทย สำนักพิมพ์แก้วกานต์ตีพิมพ์ 'ไวส์เคานต์ที่เฝ้ารอ' แปลโดยมัณฑุกา จากตัวอย่างที่ไปเปิดดู เห็นข้อผิดที่บอกว่าแอนโทนีเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยออลโซลส์ ควรเป็นวิทยาลัยออลโซลส์ มหาวิทยาล้ยออกซ์ฟอร์ด ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและเคมบริดจ์จะแบ่งย่อยเป็นวิทยาลัยที่มีการบริหารจัดการเองและมีที่พักอยู่ด้วย โดยวิทยาลัยออลโซลส์ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี 1438 โดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีตอนนั้น
[29/12/21]
เล่มนี้เป็นรวมบทส่งท้ายชุดที่สอง (second epilogues) ของเรื่องหลักของทั้งแปดเล่มที่เคยเผยแพร่ทางดิจิตัลและรวมเข้าไปในตัวเล่มเรื่องหลักที่พิมพ์หลังๆ กับเรื่องสั้นของรุ่นพ่อแม่
ตอนที่สองของแอนโทนี เกิดหลังจากการแต่งงานมาสิบห้าปี ได้มีการจัดการแข่งพาลมาลในตำนานเป็นประจำทุกปี แอนโทนีและเคทก็แย่งชิงตะลุมพุกสีดำกันล่วงหน้าทุกปีเช่นกัน และในปีนี้ก็ใช้ทุกวิถีทางในการแย่งชิง ไม่ว่าจะติดสินบนคนรับใช้ ถึงเสน่ห์บนเตียง แต่กลายเป็นว่าคอลินชิงไปได้ด้วยการติดสินบนสาวใช้ ตามด้วยความพยายามในการโกงทุกรูปแบบ 555
[16/01/22]
ที่มา
[1] Julia Quinn. The Duke and I. Avon Books, 384 pages, 2006, first published in 2000.
[9] Julia Quinn. The Bridgertons: Happily Ever After. Avon Books, 386 pages, 2013.
รายการนิยายอังกฤษ, ไทม์ไลน์หนังสืออิงประวัติศาสตร์/ย้อนยุค อังกฤษ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น