Without You, There is no Us - Suki Kim

เรื่อง Without You, There is no Us: My Time with the Sons of North Korea's Elite
โดย Suki Kim


ผู้แต่งเรื่องนี้เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีที่ย้ายไปอยู่อเมริกาเมื่ออายุสิบสามปีเนื่องจากพ่อล้มละลาย เรียนจบมหาวิทยาลัยในอเมริกา และทำงานหลายอย่าง โดยเฉพาะเป็นนักเขียนและนักข่าว ย้ายที่อยู่บ่อยทั้งในอเมริกาและยุโรป ไม่ได้แต่งงานและเลิกกับแฟน จนทำให้มีความคิดว่าบ้านเกิดคือเกาหลี และครอบครัวยังมีการติดต่อกับเครือญาติที่สืบเชื้อสายนักศึกษาแต่โบราณ

สงครามเกาหลีมีผลต่อครอบครัวอย่างมาก พ่อก็หนีออกจากโซลพร้อมครอบครัว ลูกพี่ลูกน้องหญิงของพ่อที่เป็นนักศึกษาพยาบาลและหายตัวไปในช่วงสงคราม ป้าได้รับจดหมายของลูกสาวที่ส่งผ่านญี่ปุ่นมาเพียงครั้งเดียวในทศวรรษ 1970 ทำให้ครอบครัวทั้งสองด้านแทบจะเป็นบ้ากับความที่ไม่สามารถรู้ข่าวได้ทั้งๆ ที่น่าจะอยู่ห่างไปไม่มาก ส่วนทางแม่ พี่ชายคนโตที่เสียสละที่นั่นให้คนอื่นขณะหนีออกจากโซลก็ถูกทหารเกาหลีเหนือจับตัวไปช่วงต้นสงครามในสงครามและไม่เคยได้ข่าวอีกเลย ยายเป็นห่วงลูกชายมาตลอด ส่งผ่านความรู้สึกไปยังแม่และตัวผู้แต่งด้วย

ผู้แต่งได้ไปเกาหลีเหนือครั้งแตกในเดือนกุมภาพันธ์ 2002 ในฐานะสมาชิกของคณะผู้แทนชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลีที่ไปร่วมงานฉลองวันเกิดครอบรอบหกสิบปีของคิมจองอิล และมีโอกาสไปเกาหลีเหนืออีก เช่นในฐานะนักข่าวตามวงวงดุริยางค์นิวยอร์กฟีลฮาร์โมนิกที่ไปแสดงในเปียงยางในเดือนกุมภาพันธ์ 2008 ทำให้ได้ข่าวการเตรียมเปิดมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปียงยาง (Pyongyang University of Science and Technology, PUST) ที่มิชชันนารีอเมริกันเชื้อสายเกาหลี James Kim หลังประสบความสำเร็จในการเปิดมหาวิทยาลัย YUST ที่จีนในต้นทศวรรษ 1990

อาจารย์ต่างชาติที่มาสอนล้วนเป็นอาสาสมัครที่ไม่มีเงินเดือน มักเป็นมิชชันนารีที่ต้องการเผยแพร่ศาสนา มาจากหลายประเทศตะวันตก โดยประมาณครึ่งหนึ่งมีเชื้อสายเกาหลี ผู้แต่งที่เขียนบทความเกาหลีเหนือไว้หลายเรื่องต้องการได้ข้อมูลไปเขียนหนังสือเลยมาสมัครเป็นอาจารย์ ด้านการสอน มีประสบการณ์สอนการเขียนเชิงสร้างสรรค์และไม่ได้นับถือศาสนาก็สมัครเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ก่อนไปทางมหาวิทยาลัยก็มีการใช้ข้อมูลเรื่องการเตรียมตัวและซื้อของก่อนไป เช่น แนะนำให้ซื้อตู้เย็น และของใช้อื่นๆ เช่น กระดาษทิชชู และเนย (??) นอกเหนือจากของใช้อื่นที่เตรียมสำหรับการเดินทาง และต้องเตรียมโน๊ตบุ๊คที่ใช้ในการสอนไปเอง

ปกติวีซ่าเกาหลีเหนือส่วนใหญ่จะให้หนึ่งวันก่อนเดินทาง และต้องมีวีซ่า (ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงาน 35 แห่งในกรณีนี้) ก่อนถึงซื้อตั๋วเครื่องบินสายการบินโครยอได้ ทำให้ผู้แต่งต้องรอวีซ่าและช่วยดูแลพี่สาวอยู่ที่เกาหลีใต้เจ็ดสัปดาห์เพื่อเตรียมบินไปจีนได้ในทันที และได้ไปเกาหลีเหนือเป็นครั้งที่สี่ในเดือนมิถุนายน 2011 เริ่มสอนต้นเดือนกรกฎาคม จนจบภาคฤดูร้อนในเดือน กลับไปนิวยอร์ก ก่อนกลับมาสอนในภาคฤดูใบไม้ร่วง จนจบภาคในเดือนธันวาคม 2011

มหาวิทยาลัยสร้างและดำเนินงานด้วยเงินบริจาคจากชาวคริสต์เป็นหลัก โดยจัดการเรียนการสอนให้ฟรีและจ่ายเงินค่าน้ำไฟอาหาร ฯลฯ ให้ทางเกาหลีเหนือด้วย มีแคมปัสขนาด 248 เอเคอร์ ที่มีรั้วรอบ มีตึกเรียน ห้องอาหาร คลินิกสุขภาพ โรงอาบน้ำ และหอพักที่มีทางเชื่อมติดกัน นอกจากนี้ก็มีตึกอื่นที่ผู้แต่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรแต่ไม่กล้าถามด้วย


มหาวิทยาลัยมีหน้า facebook ด้วย รูปไม่มากเท่าไหร่แต่ก็ดีกว่าในหนังสือที่ไม่มีรูปให้ดูเลย

คนในมหาวิทยาลัยก็มีทั้งฝ่ายบริหารที่มีอธิการบดี หัวหน้าสาขาภาษาอังกฤษ และอาจารย์ที่เป็นชาวต่างชาติ ทางด้านเกาหลีเหนือก็มีผู้ดูแลที่คอยดูแลชาวต่างชาติ (ผู้แต่งเจอ Mr. Ri ที่เคยดูแลตอนปี 2008 ด้วย) อาจารย์ที่ย้ายมาจากที่อื่นชั่วคราว หน่วยรักษาความปลอดภัยหญิงราวสามสิบคน (ที่เป็นหญิงเพราะกลัวจะทำให้ชาวต่างชาติกลัว) นักศึกษาชายล้วน เป็นปีหนึ่งราวร้อยคน ปีสองอีกราวร้อยคน และบัณฑิตศึกศึกษาเจ็ดสิบคน ที่ย้ายมาจากมหาวิทยาลัยอื่น

ช่วงนั้นมีความไม่มั่นคงก่อนการเสียชีวิตของคิมจองอิล (ที่อาจารย์ต่างชาติไม่รู้เรื่อง) อธิการบดีบอกว่าช่วงนี้มีการปิดมหาวิทยาลัยทั้งประเทศ นักศึกษาถูกส่งออกไปทำงานต่างๆ แต่ PUST ยังเปิดอยู่ ทำให้เป็นเป้าหมายของพ่อแม่ที่มีอำนาจในการส่งลูกเข้ามาเรียนเพื่อไม่ให้ถูกส่งออกไปทำงานก่อสร้างหรืองานหนักอื่นๆ นั่นคือนักศึกษาเหล่านี้เป็นกลุ่มหัวกะทิที่มาจากครอบครัวชั้นนำ พ่อมักมีตำแหน่งสำคัญหรือเป็นหมอ แม่มักเป็นแม่บ้าน

ทั้งอาจารย์และนักเรียนจะใช้ชีวิตในแคมปัสยกเว้นได้รับอนุญาต ห้องพักอาจารย์ของผู้แต่งอยู่ชั้นห้า เป็นห้องคู่แต่ได้อยู่เดี่ยว ขนาดห้าร้อยตารางฟุต มีการตบแต่งแบบสมัยใหม่และดีกว่าหอพักที่ผู้แต่งเคยอยู่มาก่อนเกือบทั้งหมด มีครัวขนาดเล็ก โทรศัพท์ภายใน ทีวี และห้องน้ำ ในด้านการสื่อสารกับภายนอก พาสปอร์ตและมือถือถูกผู้ดูแลเก็บรักษาไว้ตั้งแต่ที่สนามบิน

ในแคมปัสมีอินเตอร์เน็ตที่พวกอาจารย์ติดต่อกับภายนอกและสืบค้นข้อมูลต่างๆ ได้ แต่การสื่อสารทั้งหมดจะถูกเก็บข้อมูลและมีคนคอยดูแลตลอด ตอนนั้นนักศึกษาทั่วไปไม่ค่อยมีโอกาสเข้าถึงคอมพิวเตอร์มากนัก ทำให้บ่นว่าคิดถึงระบบอินเตอร์เน็ดที่มหาวิทยาลัยเดิม (ความจริงคืออินทราเน็ต) แต่ก็มีมีห้องพิเศษที่สามารถเข้าอินเตอร์เน็ตภายนอกได้สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและอาจารย์เกาหลีเหนือบางคนที่ถูกส่งมาที่ PUST ชั่วคราว

ถึงชื่อมหาวิทยาลัยบอกว่าสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่การสอนช่วงที่ผู้แต่งอยู่มีแต่ภาษาอังกฤษ แต่ละปีแบ่งเป็นสี่กลุ่ม 1-4 จากเก่งสุดถึงอ่อนสุด กลุ่มละ 25 คน แผนการสอนต้องผ่านการรับรองของทั้งผู้ดูแล ทำให้การเลือกหัวข้อและเนื้อหาเป็นไปได้อย่างลำบาก มีข้อจำกัดในการพิมพ์และถ่ายเอกสารเพราะอุปกรณ์ไม่พอ สุดท้ายยังต้องการการโอเคจากของอาจารย์คนอื่นที่อาจมีวาระซ่อนเร้นในการพยายามสอนศาสนา เช่นเมื่อจะเลือกภาพยนต์ให้นักศึกษาดู ผู้แต่งอยากฉายแฮร์รี่ พ็อตเตอร์ ที่นักศึกษาอยากดูมาก แต่อาจารย์คนอื่นต้องการฉายนาเนีย แถมยังกล่าวหาผู้แต่งว่าเลือกเรื่องที่เนิ้อหาเลวร้ายอีก (ส่วน จขบ. รู้สึกว่าจะหวังผลด้านศาสนาแบบเลื่อนลอยสุดๆ)

พวกนักศึกษาตั้งใจเรียนอย่างมากมาย เตรียมตัวและทำการบ้านมาอย่างหนัก แต่ไม่ชอบถามโดยตรง ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับโลกภายนอกมีน้อยมาก แต่ข้อมูลภายใจและผลงานของผู้นำนี่เป๊ะสุดๆ และมีความเข้าใจว่าของเกาหลีเหนือดีที่สุดเมื่อเทียบกับภายนอก มีตึกสูงที่สุด อาหารดีที่สุด ฯลฯ มีการฝึกการเขียนด้วยการเขียนจดหมายและเรียงความ แต่ถ้าเรียกพบเพื่อคุยงานต้องมาเป็นกลุ่มและต้องมีการผลัดเวรอย่างเท่าเทียม

ทั้งหมดกินอาหารในโรงอาหารทั้งสามมื้อเหมือนกัน อาหารเข้ามีพวกโจ๊กและไข่ต้ม อาหารกลางวันเป็นข้าวสวยและน้ำแกง กิมจิ ถั่วงอก หรือมันฝรั่ง แทบจะไม่มีเนื้อสัตว์เลย โต๊ะอาหารนั่งได้สี่คนและพวกอาจารย์จะเรียกนักศึกษาให้มานั่งด้วยเพื่อฝึกภาษา เคยมีอาจารย์ที่พยายามสอนการใช้มีดส้อมแทนตะเกียบและช้อนแต่โดนนักเรียนต่อต้านจนต้องเลิก

พวกอาจารย์จะสามารถออกไปซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตของคนต่างชาติได้สัปดาห์ละครั้ง และสามารถออกไปเที่ยวชมแบบนักท่องเที่ยวเป็นบางครั้งบางคราว โดยการเดินทางทั้งหมดต้องขออนุญาตล่วงหน้า และจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ว่าค่าผู้ดูแล น้ำมัน หรือค่าเข้าสถานที่ต่างๆ

แต่ถึงนักศึกษาจะมาจากครอบครัวชั้นนำ ก็ยังมีงานที่ต้องทำแบบชาวเปียงยาง ไม่ว่าทำสวนถอนหญ้าในสนามและสวนในบริเวณ เข้าเรียนในคลาสด และไปยืนยามเฝ้าตึกในชุดทหารกากีทั้งคืน ครั้งละหกคนไม่ว่าจะอากาศหนาวอย่างไร และมีโอกาสถูกส่งออกไปทำงานหนักในสวนหรือไซต์ก่อสร้างด้วย

ความบันเทิงมีน้อยมาก มีทีวีสามช่อง ไม่มีคอมพิวเตอร์เกม ไม่มีบาร์หรือร้านให้เที่ยว ติดต่อกับภายนอกลำบาก หลักๆ คือเล่นฟุตบอลและบาสเก็ตบอลล์ (เพราะใช้อุปกรณ์น้อย) และรวมกลุ่มกันทั้งชั้นดูดราม่าในทีวีเรื่อง 'The Nation of the Sun' ที่เล่าถึงวีรกรรมของคิมอิลซุง เมื่อมีการฉลองวันเกิด เพื่อนก็ให้ของขวัญเล็กน้อย เล่นดนตรีร้องเพลงกันเอง

จุดหนึ่งที่น่าสนใจมากคือนักศึกษาชายย่อมต้องสนใจเรื่องหาแฟน แต่นักศึกษาไม่สนใจหน่วยรักษาความปลอดภัยหญิงเพราะมีความแตกต่างทางชนชั้นมากเกินไป ทำให้เหมือนจะชอบเล็งน้องเพื่อน แต่ด้วยการที่ไม่สามารถติดต่อกันได้ง่าย เลยเหมือนจะเป็นเรื่องเพ้อฝันของหนุ่มโสดไปเองเสียมาก


ข่าวของ BBC ที่น่าสนใจคือวีดิโอนักศึกษาเดินเข้าแถวร้องเพลงไปโรงอาหาร


ความรู้สึกเหวี่ยงระหว่าง ความสงสารเห็นใจ จากประสบการณ์ที่ถูกจำกัด การสื่อสาร แต่งเรื่อง คนต่างประเทศป่วย ให้หมอโทรศัพท์ไปหาภรรยา ทำไมไม่ให้คุยกันเอง ปริ้นท์รูปหมู่แจกแต่ละคน คนจัดส่งคือนักเรียนหัวหน้ากลุ่มส่งไปให้ค ความกดดันในการ

ถึงผู้แต่งจะบอกว่า แต่สำหรับนักเรียน จขบ. คิดว่าน่าจะมีผลกระทบแน่นอน การจัดการภายหลังอาจเป็นแบบเหมารวมด้วยซ้ำ
[26/12/21, 03/01/22]

ที่มา
[1] Suki Kim. Without You, There is no Us: My Time with the Sons of North Korea's Elite. Crown, 320 pages, 2015.


รายการหนังสืออังกฤษ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร - มาวนี่

Kaijyu No. 8 - Matsumoto Naoya

สืบลับฉบับคาโมโนะฮาชิ รอน - Amano Akira