โคโนะโดริ หมอสองชีวิต
เรื่อง โคโนะโดริ หมอสองชีวิต (Kounodori)
โดย ยู ซุสุโนกิ
โคโนะโทริ ซากุระ ที่เติบโตในสถานคุ้มครองเด็ก ในปัจจุบันเป็นสูตินรีแพทย์ที่ศูนย์การแพทย์เซนต์เพอร์โซน่า แต่ก็มีอีกโฉมหน้าที่เป็นความลับคือเป็นนักเปียโน เบบี้ ที่ระหว่างการแสดงสดมักมีการลุกขึ้นมายืนเล่นอย่างรุนแรงและบางทีก็โดดหายไปเฉยๆ (คือถูกเรียกตัวไปโรงพยาบาล) ที่โรงพยาบาล คนที่รู้เรื่องเบบี้คือหัวหน้าเท่านั้น ส่วนแพทย์เพื่อนร่วมงานก็ไม่ทราบ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์หญิง ชิโมยะ ที่เป็นแฟนเพลงเบบี้, เพื่อนร่วมรุ่น ชิโนมิยะ ที่ไม่อ่อนโยนกับคนไข้, พยาบาลผู้ช่วยคลอดอาวุโส โคมัตสึ, วิสัญญีแพทย์ ฟุนาโคชิ และ หมอ คาเสะ ที่อยู่หน่วยฉุกเฉิน
การตั้งครรภ์ไม่ใช่อาการป่วย ดังนั้นในการคลอดลูกตามปกติจึงเบิกเงินประกันชีวิตไม่ได้ การทำคลอดนั้นไม่ใช่การรักษาบาดแผลหรือการเจ็บป่วย ในการคลอดตามปกติไม่จำเป็นต้องพึ่งสูตินรีแพทย์ ทั้งนี้ จขบ. เคยอ่านบทความเรื่องการแพทย์ในญี่ปุ่นที่เล่าถึงปัญหาทางการเงินของครอบครัวในการคลอดลูกในญี่ปุ่นซึ่งไม่ค่อยมีการช่วยเรื่องแก้ปวดให้มารดาเช่นการบล็อกหลังเนื่องจากมีวัฒนธรรมที่ชื่นชมความอดทนของมารดาและเชื่อว่าความเจ็บปวดจะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกขึ้น (คือเจ็บแล้วเห็นคุณค่ามั๊ง) ซึ่งก็รู้สึกว่าทั้งเรื่องการเงินและแนวคิดไม่ค่อยเข้ากับยุคสมัยที่อัตราการเกิดลดลงเท่าไหร่
แต่ละตอนจะเกี่ยวกับคนไข้ เรื่องแรกก็มาหนักคือหญิงที่ไม่ได้ฝากครรภ์ (ครรภ์จรจัด) ไม่สามารถหาโรงพยาบาลรับคลอดได้เพราะโรงพยาบาลไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการไม่มีข้อมูลซึ่งทำให้ต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหมดทั้งต่อคนไข้และเจ้าหน้าที่ เมื่อโรงพยาบาลทำไม่ได้ก็จะปฏิเสธ ในตอนนี้ยังมีปัญหาเพิ่มว่าคนไข้ที่มีปัญหาด้านการเงินอย่างรุนแรงที่ทำให้ไม่สามารถฝากครรภ์ได้ก็ทำท่าจะทิ้งลูก (เรื่องหาโรงพยาบาลไม่ได้ก็ทำให้นึกถึงข่าวจากญี่ปุ่นที่ผู้ป่วยฉุกเฉินถูกโรงพยาบาลปฏิเสธไม่รับเพราะไม่พร้อมจนเสียชีวิต ดูแล้วเป็นความลักลั่นย้อนแย้งระหว่างความเร็วและความพร้อมในการรับการรักษา)
ตามด้วยสามีภรรยาที่รอมานานถึงตั้งครรภ์แต่ทำท่าจะแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด สามีที่เอาโรคหนองในมาติดภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ นักเต้นระบำเปลี้ยงผ้าที่อยากคลอดแบบธรรมชาติเพื่อไม่ให้ต้องมีรอยแผลแต่ต้องผ่าท้องคลอด แล้วก็มีเรื่องการทำแท้งที่เกิดขึ้นปีละสองแสนคน (หนึ่งในห้าของการคลอด) ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ การเงิน หรืออาชญากรรมความรุนแรง สำหรับเด็กนักเรียนมัธยมปลายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองและฝ่ายชาย (ถ้าไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ปกครองก็ต้องยินยอมด้วย) ถ้าอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ จะเป็นทำแท้งระยะเริ่มแรกถือเป็นการผ่าตัด ถ้าเป็นแท้งระยะกลางระหว่าง 12-22 สัปดาห์จะเป็นการตลอดลูก ต้องยื่นเอกสารการเสียชีวิตของเด็กทารกให้ทางการเพื่อขอฌาปนกิจด้วย (ตอนนี้ทำให้คิดว่าถ้าสูตินรีแพทย์ปฏิเสธไม่ทำแท้งได้ไหม)
เมื่อเด็กทารกในครรภ์เป็นโรคเด็กกบที่กระโหลกไม่สมบูรณ์ หลังคลอดตายแน่นอนและยังเป็นอันตรายกับแม่ แต่การทำแท้งเก็เป็นปัญหาที่ต้องการการตัดสินใจของสามีภรรยาร่วมกัน เรื่องต่อมาย้อนอดีตตอนโคโนะโทริเป็นหมอฝึกหัดและเจอการคลอดกระทันหันที่อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ แต่โรงพยาบาลไม่มีหน่วยบริบาลทารก เมื่อถุงน้ำคร่ำไม่แตกพยาบาลผู้ช่วยคลอดโคมัตสึก็จัดการแทนได้เรียบร้อย แล้วก็ปัญหาหญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ หญิงที่เคยคลอดแบบผ่าเกิดปัญหาแทรกซ้อนและต้องพิจารณาระหว่างเก็บมดลูกหรือตัดทิ้ง
ปัญหาเรื่องรกเกาะต่ำ แม่ที่สูบบุหรี่ ความเครียดของว่าที่แม่และบทบาทของว่าที่พ่อ การตั้งครรภ์ การคลอดลูกไม่ใช่อาการป่วย แต่ว่าผู้หญิงจะต้องแบกรับความเสี่ยงที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เพื่อจะเป็นแม่คน การเดินทางหรือท่องเที่ยวต่างประเทศระหว่างตั้งครรภ์ที่ประกันไม่คุ้มครอง การคลอดที่สถานพยาบาลผดุงครรภ์ คนไข้ที่ต้องการหมอหญิงเท่านั้น การฉีดยาชา (บล็อกหลังหรือเปล่า?) หญิงใกล้คลอดที่ประสบอุบัติเหตุจนสมองเสียหายหนักจนเสียชีวิต ความรุนแรงในครอบครัวซึ่งการตั้งครรภ์อาจทำให้หนักขึ้นจนภรรยาเลือกไปเชลเตอร์ เด็กที่พิการเพราะโรคหัดเยอรมันและปัญหาที่คนทั่วไปไม่ฉีดวัคซีน วันที่มีการคลอดมากเป็นพิเศษที่แต่ละครอบครัวก็มีความแตกต่างกัน การตั้งครรภ์ลูกแฝดที่เป็นอันตรายกว่าการตั้งครรภ์ธรรมดา ปัญหาและความเสี่ยงของการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากและการรับบริจาคไข่
การตั้งครรภ์นอกมดลูกที่จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์เพื่อรักษาชีวิตแม่ โรคหนองในเทียมที่เมื่อพบในภรรยาก็ต้องตามสามีมาตรวจด้วย โรคปากแหว่งเพดานโหว่ที่ผ่าตัดรักษาได้แต่อาจต้องตามรักษาถึงยี่สิบปี การพบของซากุระกับคนเลี้ยงที่สถานรับเลี้ยงเด็กจนอายุสามขวบก่อนถูกส่งไปสถานคุ้มครองเด็กเพราะไม่มีคนรับอุปการะเนื่องจากเป็นโรคหืดหอบ เล่ม 7 เป็นเรื่องในห้องอภิบาลทารกแรกเกิด NICU ที่ดูแลเด็กคลอดก่อนกำหนดหรือป่วย ที่มีค่าใช้จ่ายสูง (ยังดีที่มีประกันสุขภาพทำให้พ่อแม่ไม่ต้องจ่ายมากเกินไป) ปัญหาตู้อบไม่พอ พ่อแม่ที่ทำใจไม่ได้ หมอที่เบิร์นเอาท์ เด็กที่ตายและเด็กที่ออกไปได้อย่างแข็งแรง
การแพ้ท้อง แม่เลี้ยวเดี่ยวที่ไม่พร้อม ปัญหาการปรับตัว ความบอบช้ำของร่างกาย ความเครียด อารมณ์แปรปรวนและโรคซึมเศร้าหลังคลอด การคลอดฉุกเฉินที่บ้านจนโคโนะโทริต้องอำนวยการคลอดผ่านโทรศัพท์ การใช้เครื่อง AED และการผ่าคลอดฉุกเฉินในสตรีที่หัวใจหยุดเต้นกระทันหันและใกล้เสียชีวิต รกลอกก่อนกำหนด การส่งตัวคนไข้จากคลีนิกมาโรงพยาบาล การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อาการท้องผูก การคลอดหลังกำหนดและการชักนำให้เจ็บท้องคลอด ภรรยาผู้จัดการเบบี้ตั้งครรภ์ เรื่องการคลอดธรรมชาติแบบบล็อกหลัง ที่มีความเข้าใจในสังคมว่าที่แม่ต้องเจ็บตนอคลอดจึงจะรักลูก หญิงมีครรภ์เลยคิดมากทั้งที่ตนเองเป็นโรคหัวใจซึ่งควรบล็อกหลังด้วยเหตุผลทางการแพทย์ แม่ลูกสองที่เกิดอาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดแบบเฉียบพลันต้องแอดมิดสองเดือนจนคลอด สามีต้องดูแลลูกสองคนที่ไม่เคยทำเลย
เรื่องซังโกะไครซิสหรือช่วงวิกฤตหลังคลอดที่ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาแย่ลง กับปัญหาที่ภรรยาอ้วนขึ้นมากเกินไประหว่างตั้งครรภ์และเกิดความดันเลือดสูงจนต้องผ่าคลอด, แพทย์ฝึกหัด โกโร่ ผู้ถูกคาดหวังให้สืบทอดคลินิกสูตินรีเวชของพ่อ ที่แพ้อาหารสัตว์มีกระดอง ในการผ่าคลอดครั้งแรกเจอคนไข้ที่แพ้ยางลาเท็กซ์จนช็อก คนไข้ที่ชิโมยะเคยไปดูแลระหว่างเข้าเวรที่อื่นเกิดภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษจนเสียชีวิตทั้งแม่และเด็ก ทำเอาเธอช็อกมากจนขอย้ายไปแผนกฉุกเฉินเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมหนึ่งปี เจอหญิงตั้งครรภ์ที่สมองขาดเลือดชั่วคราว ต้องรีบผ่าเด็กออกฉุกเฉิน
มีหมอคนใหม่ คุซารากิ เอมิ ที่พวกโคโนะโทริเคยดูแลสมัยเป็นนักศึกษาแพทย์มาทำงานแทนชิโมยะ คุซารากิหย่ากับสามีที่เป็นหมอที่มหาวิทยาลัยแพทย์โคดันเพราะนอกใจ และเพิ่งคลอดลูกก่อนกำหนดเมื่อหกสัปดาห์ก่อน ตอนนี้เด็กอยู่ใน NICU ที่มหาวิทยาลัยแพทย์โคดัน ส่วนเรื่องของคนไข้ก็มี การเปลี่ยนท่าเด็กทารกจากภายนอกให้กลับหัวเพื่อให้คลอดธรรมชาติได้ หญิงตั้งครรภ์เป็นโรคกรวยไตอักเสบ หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกและเริ่มลุกลาม หลังการตัดปากมดลูกออกก็พบว่าไม่พอ ต้องรับคลอดและผ่ามดลูกออก ทำให้มีการย้อนความหลังปี 1976 ของแม่โคโนะโทริคือ ซาจิโกะ ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ได้ฝากฝังลูกกับ เคย์โกะ ที่สถานเลี้ยงเด็ก
ต่อด้วยเรื่องการผ่าท้องคลอดเพราะกระดูกเชิงกรานแคบ งานของหมอที่เข้าเวรตอนกลางคืนที่เจอคนไข้ฉุกเฉินจริงและไม่จริง (เห็นความแตกต่างระหว่างชิโนมิยะและโกโร่ชัดมาก) เรื่องการคลอดเองหลังจากที่เคยผ่าท้องคลอดมาก่อนซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าการผ่าท้องคลอดซ้ำมากโดยเฉพาะการเกิดมดลูกฉีกขาด แต่ค่ารักษาพยาบาลถูกกว่าและฟื้นตัวเร็วกว่า กฏหมายสมัยเมจิที่ให้บุตรที่เกิดหลังการหย่าร้างสามร้อยวันเป็นลูกของสามีเก่า ปัญหาการเลี้ยงลูกคนเดียวของคุซารากิ ผลต่อการตั้งครรภ์ของเนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูก (อันนี้ จขบ. เคยผ่ามาแล้ว)
โกโร่ถูกส่งไปฝึกงานหนึ่งเดือนที่โรงพยาบาลบนเกาะห่างไกล ที่โรงพยาบาลมีแผนกสูตินรีเวชก็จริง แต่จะรับทำคลอดกรณีที่ความเสี่ยงต่ำมากเท่านั้น และมีเรื่องความต้องการแพทย์ที่ตรวจรักษาแบบบูรณาการหรือไพรมารี่แคร์สำหรับชาวบ้านทั่วไปและผู้สูงวัยที่มีจำนวนมาก เมื่อกลับมาที่เพอร์โซน่าก็มีเรื่องการแท้งติดต่อกันที่ทำให้ต้องไปตรวการเป็นหมัน การตรวจสุขภาพหนึ่งเดือนหลังคลอด การแท้งค้างที่ทารกเสียชีวิตโดนไม่มีอาการ หญิงตั้งครรภ์ที่หูหนวกที่หมออยากให้ได้ยินเสียงร้องแรกของทารก
มีเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดสองคน คนหนึ่งเคยทิ้งลูกกับแฟนเก่ามาก่อนเพราะคลอดก่อนกำหนด เด็กอีกคนมีความผิดปกติของการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดดำ แต่ชิราคาว่าวินิจฉัยผิดเป็นความดันหลอดเลือดปอดสูง ทำให้ชิราคาว่าออกจากเซนต์เพอร์โซน่าไปโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเพื่อฝึกงานที่แผนกหทัยวิทยาเด็ก มีแม่ที่เกิดอาการภาวะน้ำคร่ำอุดตันหลอดเลือดทำให้เสียชีวิต พยาบาลผดุงครรภ์เพื่อนสนิทของโคมัตสึที่มาคลอดที่เซนต์เพอร์โซน่าก็เป็นอาการนี้ ต้องตัดมดลูกเพื่อรักษาชีวิต
เรื่องนี้ลายเส้นจะออกสไตล์เถื่อนๆ และออกเบี้ยวหน่อย แต่ความเข้มข้นของเรื่องกินขาดค่ะ การสื่อสารเนื้อหาตรงไปตรงมามาก แต่ก็รู้สึกโหดเหมือนกันตอนที่หมออธิบายอย่างขวานผ่าซาก และตอนที่การประชุมภายในของแพทย์เกี่ยงกับทางเลือกที่จะเสนอให้คนไข้ แต่ก็เข้าใจได้ในเรื่องที่หมอต้องไม่เข้าไปยุ่งกับการตัดสินใจในครอบครัวซึ่งในหลายเรื่องจะมีปัญหาที่ฝ่ายหนึ่งผลักภาระให้อีกฝ่าย ทั้งนี้การที่แพทย์ไม่แสดงอารมณ์ร่วมกับคนไข้ทำให้ลอยตัวออกจากปัญหาค่อนข้างมาก อ่านแบบไม่ทำให้เตรียดจนตับแตกอนาถแบบเรื่อง 'Say Hello to Blackjack' ที่อ่านแล้วบีบคั้นสุดๆ สรุปในภาพรวมคือเป็นเรื่องที่มีคุณค่ามาก แต่ผู้อ่านคงไม่ใช่เด็ก
สุดท้ายคือเรื่องนี้ได้รางวัลมังงะทั่วไปของโคเดนฉะครั้งที่ 40 ประจำปี 2016 และเคยทำเป็นซีรีส์สองครั้งค่ะ
ที่มา [1] You Suzunoki. โคโนะโดริ หมอสองชีวิต (Kounodori). วิบูลย์กิจคอมมิกส์, เล่ม 1-14, 16-19, 2061-2565 (ต้นฉบับ 2013-2017).
โดย ยู ซุสุโนกิ
โคโนะโทริ ซากุระ ที่เติบโตในสถานคุ้มครองเด็ก ในปัจจุบันเป็นสูตินรีแพทย์ที่ศูนย์การแพทย์เซนต์เพอร์โซน่า แต่ก็มีอีกโฉมหน้าที่เป็นความลับคือเป็นนักเปียโน เบบี้ ที่ระหว่างการแสดงสดมักมีการลุกขึ้นมายืนเล่นอย่างรุนแรงและบางทีก็โดดหายไปเฉยๆ (คือถูกเรียกตัวไปโรงพยาบาล) ที่โรงพยาบาล คนที่รู้เรื่องเบบี้คือหัวหน้าเท่านั้น ส่วนแพทย์เพื่อนร่วมงานก็ไม่ทราบ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์หญิง ชิโมยะ ที่เป็นแฟนเพลงเบบี้, เพื่อนร่วมรุ่น ชิโนมิยะ ที่ไม่อ่อนโยนกับคนไข้, พยาบาลผู้ช่วยคลอดอาวุโส โคมัตสึ, วิสัญญีแพทย์ ฟุนาโคชิ และ หมอ คาเสะ ที่อยู่หน่วยฉุกเฉิน
การตั้งครรภ์ไม่ใช่อาการป่วย ดังนั้นในการคลอดลูกตามปกติจึงเบิกเงินประกันชีวิตไม่ได้ การทำคลอดนั้นไม่ใช่การรักษาบาดแผลหรือการเจ็บป่วย ในการคลอดตามปกติไม่จำเป็นต้องพึ่งสูตินรีแพทย์ ทั้งนี้ จขบ. เคยอ่านบทความเรื่องการแพทย์ในญี่ปุ่นที่เล่าถึงปัญหาทางการเงินของครอบครัวในการคลอดลูกในญี่ปุ่นซึ่งไม่ค่อยมีการช่วยเรื่องแก้ปวดให้มารดาเช่นการบล็อกหลังเนื่องจากมีวัฒนธรรมที่ชื่นชมความอดทนของมารดาและเชื่อว่าความเจ็บปวดจะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกขึ้น (คือเจ็บแล้วเห็นคุณค่ามั๊ง) ซึ่งก็รู้สึกว่าทั้งเรื่องการเงินและแนวคิดไม่ค่อยเข้ากับยุคสมัยที่อัตราการเกิดลดลงเท่าไหร่
แต่ละตอนจะเกี่ยวกับคนไข้ เรื่องแรกก็มาหนักคือหญิงที่ไม่ได้ฝากครรภ์ (ครรภ์จรจัด) ไม่สามารถหาโรงพยาบาลรับคลอดได้เพราะโรงพยาบาลไม่ต้องการรับความเสี่ยงจากการไม่มีข้อมูลซึ่งทำให้ต้องเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหมดทั้งต่อคนไข้และเจ้าหน้าที่ เมื่อโรงพยาบาลทำไม่ได้ก็จะปฏิเสธ ในตอนนี้ยังมีปัญหาเพิ่มว่าคนไข้ที่มีปัญหาด้านการเงินอย่างรุนแรงที่ทำให้ไม่สามารถฝากครรภ์ได้ก็ทำท่าจะทิ้งลูก (เรื่องหาโรงพยาบาลไม่ได้ก็ทำให้นึกถึงข่าวจากญี่ปุ่นที่ผู้ป่วยฉุกเฉินถูกโรงพยาบาลปฏิเสธไม่รับเพราะไม่พร้อมจนเสียชีวิต ดูแล้วเป็นความลักลั่นย้อนแย้งระหว่างความเร็วและความพร้อมในการรับการรักษา)
ตามด้วยสามีภรรยาที่รอมานานถึงตั้งครรภ์แต่ทำท่าจะแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด สามีที่เอาโรคหนองในมาติดภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ นักเต้นระบำเปลี้ยงผ้าที่อยากคลอดแบบธรรมชาติเพื่อไม่ให้ต้องมีรอยแผลแต่ต้องผ่าท้องคลอด แล้วก็มีเรื่องการทำแท้งที่เกิดขึ้นปีละสองแสนคน (หนึ่งในห้าของการคลอด) ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ การเงิน หรืออาชญากรรมความรุนแรง สำหรับเด็กนักเรียนมัธยมปลายที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองและฝ่ายชาย (ถ้าไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้ปกครองก็ต้องยินยอมด้วย) ถ้าอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ จะเป็นทำแท้งระยะเริ่มแรกถือเป็นการผ่าตัด ถ้าเป็นแท้งระยะกลางระหว่าง 12-22 สัปดาห์จะเป็นการตลอดลูก ต้องยื่นเอกสารการเสียชีวิตของเด็กทารกให้ทางการเพื่อขอฌาปนกิจด้วย (ตอนนี้ทำให้คิดว่าถ้าสูตินรีแพทย์ปฏิเสธไม่ทำแท้งได้ไหม)
เมื่อเด็กทารกในครรภ์เป็นโรคเด็กกบที่กระโหลกไม่สมบูรณ์ หลังคลอดตายแน่นอนและยังเป็นอันตรายกับแม่ แต่การทำแท้งเก็เป็นปัญหาที่ต้องการการตัดสินใจของสามีภรรยาร่วมกัน เรื่องต่อมาย้อนอดีตตอนโคโนะโทริเป็นหมอฝึกหัดและเจอการคลอดกระทันหันที่อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ แต่โรงพยาบาลไม่มีหน่วยบริบาลทารก เมื่อถุงน้ำคร่ำไม่แตกพยาบาลผู้ช่วยคลอดโคมัตสึก็จัดการแทนได้เรียบร้อย แล้วก็ปัญหาหญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ หญิงที่เคยคลอดแบบผ่าเกิดปัญหาแทรกซ้อนและต้องพิจารณาระหว่างเก็บมดลูกหรือตัดทิ้ง
ปัญหาเรื่องรกเกาะต่ำ แม่ที่สูบบุหรี่ ความเครียดของว่าที่แม่และบทบาทของว่าที่พ่อ การตั้งครรภ์ การคลอดลูกไม่ใช่อาการป่วย แต่ว่าผู้หญิงจะต้องแบกรับความเสี่ยงที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เพื่อจะเป็นแม่คน การเดินทางหรือท่องเที่ยวต่างประเทศระหว่างตั้งครรภ์ที่ประกันไม่คุ้มครอง การคลอดที่สถานพยาบาลผดุงครรภ์ คนไข้ที่ต้องการหมอหญิงเท่านั้น การฉีดยาชา (บล็อกหลังหรือเปล่า?) หญิงใกล้คลอดที่ประสบอุบัติเหตุจนสมองเสียหายหนักจนเสียชีวิต ความรุนแรงในครอบครัวซึ่งการตั้งครรภ์อาจทำให้หนักขึ้นจนภรรยาเลือกไปเชลเตอร์ เด็กที่พิการเพราะโรคหัดเยอรมันและปัญหาที่คนทั่วไปไม่ฉีดวัคซีน วันที่มีการคลอดมากเป็นพิเศษที่แต่ละครอบครัวก็มีความแตกต่างกัน การตั้งครรภ์ลูกแฝดที่เป็นอันตรายกว่าการตั้งครรภ์ธรรมดา ปัญหาและความเสี่ยงของการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากและการรับบริจาคไข่
[03/05/18, 01/06/18, 25/07/18, 02/09/18]
การตั้งครรภ์นอกมดลูกที่จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์เพื่อรักษาชีวิตแม่ โรคหนองในเทียมที่เมื่อพบในภรรยาก็ต้องตามสามีมาตรวจด้วย โรคปากแหว่งเพดานโหว่ที่ผ่าตัดรักษาได้แต่อาจต้องตามรักษาถึงยี่สิบปี การพบของซากุระกับคนเลี้ยงที่สถานรับเลี้ยงเด็กจนอายุสามขวบก่อนถูกส่งไปสถานคุ้มครองเด็กเพราะไม่มีคนรับอุปการะเนื่องจากเป็นโรคหืดหอบ เล่ม 7 เป็นเรื่องในห้องอภิบาลทารกแรกเกิด NICU ที่ดูแลเด็กคลอดก่อนกำหนดหรือป่วย ที่มีค่าใช้จ่ายสูง (ยังดีที่มีประกันสุขภาพทำให้พ่อแม่ไม่ต้องจ่ายมากเกินไป) ปัญหาตู้อบไม่พอ พ่อแม่ที่ทำใจไม่ได้ หมอที่เบิร์นเอาท์ เด็กที่ตายและเด็กที่ออกไปได้อย่างแข็งแรง
การแพ้ท้อง แม่เลี้ยวเดี่ยวที่ไม่พร้อม ปัญหาการปรับตัว ความบอบช้ำของร่างกาย ความเครียด อารมณ์แปรปรวนและโรคซึมเศร้าหลังคลอด การคลอดฉุกเฉินที่บ้านจนโคโนะโทริต้องอำนวยการคลอดผ่านโทรศัพท์ การใช้เครื่อง AED และการผ่าคลอดฉุกเฉินในสตรีที่หัวใจหยุดเต้นกระทันหันและใกล้เสียชีวิต รกลอกก่อนกำหนด การส่งตัวคนไข้จากคลีนิกมาโรงพยาบาล การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อาการท้องผูก การคลอดหลังกำหนดและการชักนำให้เจ็บท้องคลอด ภรรยาผู้จัดการเบบี้ตั้งครรภ์ เรื่องการคลอดธรรมชาติแบบบล็อกหลัง ที่มีความเข้าใจในสังคมว่าที่แม่ต้องเจ็บตนอคลอดจึงจะรักลูก หญิงมีครรภ์เลยคิดมากทั้งที่ตนเองเป็นโรคหัวใจซึ่งควรบล็อกหลังด้วยเหตุผลทางการแพทย์ แม่ลูกสองที่เกิดอาการเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนดแบบเฉียบพลันต้องแอดมิดสองเดือนจนคลอด สามีต้องดูแลลูกสองคนที่ไม่เคยทำเลย
[21/09/18, 01/11/18, 14/03/19]
เรื่องซังโกะไครซิสหรือช่วงวิกฤตหลังคลอดที่ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาแย่ลง กับปัญหาที่ภรรยาอ้วนขึ้นมากเกินไประหว่างตั้งครรภ์และเกิดความดันเลือดสูงจนต้องผ่าคลอด, แพทย์ฝึกหัด โกโร่ ผู้ถูกคาดหวังให้สืบทอดคลินิกสูตินรีเวชของพ่อ ที่แพ้อาหารสัตว์มีกระดอง ในการผ่าคลอดครั้งแรกเจอคนไข้ที่แพ้ยางลาเท็กซ์จนช็อก คนไข้ที่ชิโมยะเคยไปดูแลระหว่างเข้าเวรที่อื่นเกิดภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษจนเสียชีวิตทั้งแม่และเด็ก ทำเอาเธอช็อกมากจนขอย้ายไปแผนกฉุกเฉินเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมหนึ่งปี เจอหญิงตั้งครรภ์ที่สมองขาดเลือดชั่วคราว ต้องรีบผ่าเด็กออกฉุกเฉิน
มีหมอคนใหม่ คุซารากิ เอมิ ที่พวกโคโนะโทริเคยดูแลสมัยเป็นนักศึกษาแพทย์มาทำงานแทนชิโมยะ คุซารากิหย่ากับสามีที่เป็นหมอที่มหาวิทยาลัยแพทย์โคดันเพราะนอกใจ และเพิ่งคลอดลูกก่อนกำหนดเมื่อหกสัปดาห์ก่อน ตอนนี้เด็กอยู่ใน NICU ที่มหาวิทยาลัยแพทย์โคดัน ส่วนเรื่องของคนไข้ก็มี การเปลี่ยนท่าเด็กทารกจากภายนอกให้กลับหัวเพื่อให้คลอดธรรมชาติได้ หญิงตั้งครรภ์เป็นโรคกรวยไตอักเสบ หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกและเริ่มลุกลาม หลังการตัดปากมดลูกออกก็พบว่าไม่พอ ต้องรับคลอดและผ่ามดลูกออก ทำให้มีการย้อนความหลังปี 1976 ของแม่โคโนะโทริคือ ซาจิโกะ ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระหว่างตั้งครรภ์ ได้ฝากฝังลูกกับ เคย์โกะ ที่สถานเลี้ยงเด็ก
ต่อด้วยเรื่องการผ่าท้องคลอดเพราะกระดูกเชิงกรานแคบ งานของหมอที่เข้าเวรตอนกลางคืนที่เจอคนไข้ฉุกเฉินจริงและไม่จริง (เห็นความแตกต่างระหว่างชิโนมิยะและโกโร่ชัดมาก) เรื่องการคลอดเองหลังจากที่เคยผ่าท้องคลอดมาก่อนซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าการผ่าท้องคลอดซ้ำมากโดยเฉพาะการเกิดมดลูกฉีกขาด แต่ค่ารักษาพยาบาลถูกกว่าและฟื้นตัวเร็วกว่า กฏหมายสมัยเมจิที่ให้บุตรที่เกิดหลังการหย่าร้างสามร้อยวันเป็นลูกของสามีเก่า ปัญหาการเลี้ยงลูกคนเดียวของคุซารากิ ผลต่อการตั้งครรภ์ของเนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูก (อันนี้ จขบ. เคยผ่ามาแล้ว)
[31/05/19, 31/07/19, 04/05/19]
โกโร่ถูกส่งไปฝึกงานหนึ่งเดือนที่โรงพยาบาลบนเกาะห่างไกล ที่โรงพยาบาลมีแผนกสูตินรีเวชก็จริง แต่จะรับทำคลอดกรณีที่ความเสี่ยงต่ำมากเท่านั้น และมีเรื่องความต้องการแพทย์ที่ตรวจรักษาแบบบูรณาการหรือไพรมารี่แคร์สำหรับชาวบ้านทั่วไปและผู้สูงวัยที่มีจำนวนมาก เมื่อกลับมาที่เพอร์โซน่าก็มีเรื่องการแท้งติดต่อกันที่ทำให้ต้องไปตรวการเป็นหมัน การตรวจสุขภาพหนึ่งเดือนหลังคลอด การแท้งค้างที่ทารกเสียชีวิตโดนไม่มีอาการ หญิงตั้งครรภ์ที่หูหนวกที่หมออยากให้ได้ยินเสียงร้องแรกของทารก
มีเด็กทารกคลอดก่อนกำหนดสองคน คนหนึ่งเคยทิ้งลูกกับแฟนเก่ามาก่อนเพราะคลอดก่อนกำหนด เด็กอีกคนมีความผิดปกติของการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดดำ แต่ชิราคาว่าวินิจฉัยผิดเป็นความดันหลอดเลือดปอดสูง ทำให้ชิราคาว่าออกจากเซนต์เพอร์โซน่าไปโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเพื่อฝึกงานที่แผนกหทัยวิทยาเด็ก มีแม่ที่เกิดอาการภาวะน้ำคร่ำอุดตันหลอดเลือดทำให้เสียชีวิต พยาบาลผดุงครรภ์เพื่อนสนิทของโคมัตสึที่มาคลอดที่เซนต์เพอร์โซน่าก็เป็นอาการนี้ ต้องตัดมดลูกเพื่อรักษาชีวิต
[27/01/20, 20/03/20, 01/03/22]
เรื่องนี้ลายเส้นจะออกสไตล์เถื่อนๆ และออกเบี้ยวหน่อย แต่ความเข้มข้นของเรื่องกินขาดค่ะ การสื่อสารเนื้อหาตรงไปตรงมามาก แต่ก็รู้สึกโหดเหมือนกันตอนที่หมออธิบายอย่างขวานผ่าซาก และตอนที่การประชุมภายในของแพทย์เกี่ยงกับทางเลือกที่จะเสนอให้คนไข้ แต่ก็เข้าใจได้ในเรื่องที่หมอต้องไม่เข้าไปยุ่งกับการตัดสินใจในครอบครัวซึ่งในหลายเรื่องจะมีปัญหาที่ฝ่ายหนึ่งผลักภาระให้อีกฝ่าย ทั้งนี้การที่แพทย์ไม่แสดงอารมณ์ร่วมกับคนไข้ทำให้ลอยตัวออกจากปัญหาค่อนข้างมาก อ่านแบบไม่ทำให้เตรียดจนตับแตกอนาถแบบเรื่อง 'Say Hello to Blackjack' ที่อ่านแล้วบีบคั้นสุดๆ สรุปในภาพรวมคือเป็นเรื่องที่มีคุณค่ามาก แต่ผู้อ่านคงไม่ใช่เด็ก
สุดท้ายคือเรื่องนี้ได้รางวัลมังงะทั่วไปของโคเดนฉะครั้งที่ 40 ประจำปี 2016 และเคยทำเป็นซีรีส์สองครั้งค่ะ
ที่มา [1] You Suzunoki. โคโนะโดริ หมอสองชีวิต (Kounodori). วิบูลย์กิจคอมมิกส์, เล่ม 1-14, 16-19, 2061-2565 (ต้นฉบับ 2013-2017).
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น