เลขวิธี - กรมศึกษาธิการ
เรื่อง เลขวิธี
โดย กรมศึกษาธิการ
เลขวิธี เล่ม 1 บวกลบคูณหารสามัญ
เลขวิธี เล่ม 2 สอนในมาตราวิธี
เล่มนี้ก็ตามชื่อเรื่องนะคะว่าเป็นแบบเรียนเลขเมื่อร้อยปีที่แล้ว เล่มที่อ่านเป็นฉบับพิมพ์ไหม่ตามฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 เมื่อ ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) ซึ่งพิมพ์ 2000 ฉบับที่โรงพิมพ์พิศาลบรรณนิติ การพิมพ์ใหม่นี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 5 เมื่อปี 2557 จำนวน 500 เล่ม ที่หน้าปกเป็นการเอาข้อมูลของการพิมพ์ครั้งนั้นมาใส่แบบฟอนต์และจัดเรียงหน้าใหม่ โดยเล่มนี้ จขบ. ซื้อมาจากร้านหนังสือริมขอบฟ้าใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
เนื่องจากเป็นการ reproduce อักษรในหน้าด้านในก็เหมือนถ่ายเอกสารของเก่า คือเป็นตัวเรียงพิมพ์ที่สูงต่ำไม่เท่ากัน ไม่ชัดบ้าง ได้ความรู้สึกย้อนยุคดีนะคะ ที่น่าสังเกตคือราคาเล่มที่ 1 บาท 16 อัฐ นั่นคือราคาไม่ถูกอย่างมาก เพราะในเล่มมียกตัวอย่างว่าเสมียนรับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ 16 บาท ถ้าเทียบเงินเดือนเสมียนเป็นเงินเดือนปริญญาตรีจบใหม่ที่ 15,000 บาท สมัยนี้ก็ราคาเล่มละเกือบพันสองเชียวนะคะ
เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการแปลงหน่วยและบวกลบคูณหารปริมาณต่างๆ โดยแบ่งเป็น 15 มาตรา (ที่อาจแบ่งเป็นพิกัดมาตราย่อยลงไปอีกด้วย) คือ มาตราเงิน (นับเงินสยามตามวิธีโบราณ, นับเงินสยามตามวิธีอย่างใหม่), มาตราเวลา (นับเวลาตามธรรมดา), มาตราวัด (วัดสั้นยาวตามธรรมดา, วัดสั้นยาวเปนตารางเหลี่ยม, วัดที่นา, วัดหน้าไม้, วัดกว้างยาวสูงเปนเหลี่ยมลูกบาด, วัดจักรราษี, วัดน้ำฝน), มาตราชั่ง (ชั่งทองคำ, ชั่งสิ่งของต่างๆ), มาตราตวง (ตวงของแขง, ตวงน้ำ, ตวงสุรา)
ที่สมเป็นแบบเรียนไทยมากคือมีคำกลอนให้ท่องจำได้ง่ายด้วย บทเริ่มคือ
----------
มาตราประพันธ์
เริ่ม
◎ จักแถลงเลศลักษณโดย มีในเลขวิธี ที่สองพิศาลขานไข
◎ เหตุกุลบุตรแจ้งเจนใจ ทุกชั้นชาญใน คดีที่นับเนื่องมา
◎ ในเล่มที่หนึ่งพึงปรา กฎแต่ตำรา บวกลบแลทั้งคูณหาร
◎ ทำถูกถ่องถ้วนมวญมาน ยังอีกอาการ คือนับกำหนดสิ่งของ
◎ จัดเป็นมาตราโดยปอง หลายเล่ห์ละบอง ระบิลยุบลนามมี
◎ เรียกว่ามาตราวิธี หลายเค้าดดี จะหยิบละอย่างบรรยาย
◎ ลงไว้เปนส่วนเบื้องปลาย เยื้องยักแยบคาบ ในเลขวิธีอุดม
◎ กุลบุตรควรเอื้ออารมณ์ มาไฝ่นิยม สำหรับประดับปัญญา
◎ รู้ชอบกอบดีดุจผลา ที่เกิดกับกา ยะสิทธิ์บอเสื่อมสูญผล
เมื่อมีกลอนทั้งสิบห้ามาตราแล้ว ก็เป็นบทสรุปท้าย
◎ มาตราประพันธ์พจน์ สฤษดิ์จรดไว้เพื่อภูล แห่งความวิริกูล บุตรสมัตถสาทร
◎ มีอยู่ในชั้นต้น สิบห้ากลประกิจกลอน ออกอัดถ์อุทาหรณ์ แต่โดยย่อบพิศดาร
◎ พึงบงที่อธิบาย บรรยายบอกแบบบรรหาร แห่งลักษณาการ ซึ่งมีเนื่องนุสนธิ์ไป
◎ มาตราประพันธ์เสร็จ ทุกเขบ็จขบวนไข ควรทราบมะโนใน คณผู้จะเพียรเรียน
จบมาตราประพันธ์
----------
ในแต่ละหัวข้อก็มีการธิบายอย่างละเอียด มาตราเก่า คือ มาตราเงิน (นับเงินสยามตามวิธีโบราณอย่างลเอียด), นับเวลาอย่างเก่า, มาตราวัด (วัดสั้นยาวอย่างลเอียด, วัดที่นาอย่างลเอียด), มาตราชั่ง (ชั่งทองคำอย่างลเอียด), มาตราตวง (ตวงสิ่งของแข็งอย่างพิสดาร, ตวงของแข็งอย่างย่อ, ตวงของแข็งดังมาตราที่ ๗), มาตราที่ใช้ในหมู่โหร (นับเวลาในการคำนวรสูรย์จันทร์เปนต้น, นับเวลาดังมาตราที่ ๙, นับเวลาอย่างวัดชั้นฉาย, นับเวลาอย่างยามอัฐกาล, นับเวลาอย่างฤดูลม), มาตราที่ใช้ในหมูพระสงฆ์ (นับเงินนีลกะสาปณ์, นับเวลาในหมู่พระสงฆ์, นับเวลาในกาลบอกอนุสาสน์, นับเวลาวันอุโบสถ, วัดสั้นยาวตามธรรมดา, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๑๘, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๑๘, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๑๙, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๑๙, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๒๑, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๒๑, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๒๑, วัดตามคืบพระสูคต, สำหรับชั่งสิ่งของต่างๆ, สำหรับตวงสิ่งของต่างๆ, สำหรับตวงสิ่งของต่างๆ)
มาตราอังกฤษ (นับเงิน, นับเวลา, วัดตามยาว, วัดกว้างยาวเปนตารางเหลี่ยม, วัดอย่างเหลี่ยมลูกบาด, วัดของกลม, วัดกองฟืน, วัดทาง, วัดทาง, วัดทาง, วัดทาง, วัดทางทเล, วัดสูนย์กลางของกลม, วัดน้ำฝน, วัดผ้า, ชั่งเงินทองพลอยเพ็ชร์, ชั่งของอย่างเบา, ชั่งเครื่องยา, ชั่งสิ่งของต่างๆ, ตวงของแห้ง, ตวงของแห้ง, ตวงของเหลว, ตวงของเหลวในการประสมยา, นับสิ่งของต่างๆ, นับกระดาษ), มาตราอเมริกา (นับเงิน, นับเวลา, วัดทางบก, ชั่งสิ่งของต่างๆ, ตวงของแห้ง, ตวงของเหลว, ตวงสุรา), มาตราที่ใช้ร่วมกันหลายประเทศ (วัดความยาว, วัดตารางเหลี่ยม, วัดลูกบาด, ตวงของแห้งแลของเหลว, ชั่งสิ่งของต่างๆ), มาตราจีน (นับเงิน, นับเวลา, วัดตามธรรมดา, วัดทาง, ตวงสิ่งของต่างๆ)
ในภาพรวมก็มีหน่วยเป็นระบบ และที่น่าสนใจในแบบเรียนมากคือหัวข้อใช้งานจริง และมีเขียนบอกว่าไม่ต้องเรียนให้หมด เอาที่สำคัญคือหน่วยเงิน เวลา และวัดสั้นยาวให้เชี่ยวชาญก่อน อย่างอื่นให้พิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็น มีแสดงวิธีเขียนแบบย่อในตาราง (มึนกว่าแบบเขียนวันที่ข้างขึ้นแรมเยอะ) ตัวย่อหน่วย บวกลบคูณหาร พร้อมโจทย์ตัวอย่าง (แต่ก็มีที่ จขบ. อ่านแล้วรู้สึกมีแปลกบ้าง แบบว่าจะเป๊ะอะไรขนาดนั้นเลย เดินทุกวันได้เท่ากันที่หน่วยนิ้ว) ต้องยอมรับว่าบางมาตราที่มีใช้ชื่อหน่วยเหมือนกันแต่ไม่เท่ากันนี่มึนพอดู หน่วยแปลกๆ ที่เคยได้ยินก็มีครบนะคะ อย่าง ๘ เส้นผม เปน ๑ ไข่เหา, ๘ ไข่เหา เปน ๑ ตัวเหา และ ๘ ตัวเหา เปน ๑ เมล็ดเข้า ก็มีด้วย
นอกจากจะเห็นการนับแบบเก่าแล้วแล้ว ยังเห็นให้ถึงความเปลี่ยนแปลงในการสะกดคำไทยและการทับศัพท์ต่างประเทศได้ชัดมาก ที่รู้สึกว่าขาดไปหน่อยคือการแปลงหน่วยข้ามมาตราค่ะ สรุปว่าเป็นเล่มที่เคยอ่านไว้หน่อยก็ดี คนที่คิดจะเขียนนิยายย้อนยุคก็น่าจะมีเก็บไว้นะคะ
ที่มา
[1] กรมศึกษาธิการ. เลขวิธี สำหรับเรียนหนังสือไทย เล่ม 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัดองศาสบายดี, พิมพ์ครั้งที่ 5, 208 หน้า, 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2443).
รายการหนังสือไทย, ไทม์ไลน์หนังสืออิงประวัติศาสตร์/ย้อนยุค ไทย
โดย กรมศึกษาธิการ
[xx/xx/16]
เล่มนี้ก็ตามชื่อเรื่องนะคะว่าเป็นแบบเรียนเลขเมื่อร้อยปีที่แล้ว เล่มที่อ่านเป็นฉบับพิมพ์ไหม่ตามฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 เมื่อ ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) ซึ่งพิมพ์ 2000 ฉบับที่โรงพิมพ์พิศาลบรรณนิติ การพิมพ์ใหม่นี้เป็นการพิมพ์ครั้งที่ 5 เมื่อปี 2557 จำนวน 500 เล่ม ที่หน้าปกเป็นการเอาข้อมูลของการพิมพ์ครั้งนั้นมาใส่แบบฟอนต์และจัดเรียงหน้าใหม่ โดยเล่มนี้ จขบ. ซื้อมาจากร้านหนังสือริมขอบฟ้าใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
เนื่องจากเป็นการ reproduce อักษรในหน้าด้านในก็เหมือนถ่ายเอกสารของเก่า คือเป็นตัวเรียงพิมพ์ที่สูงต่ำไม่เท่ากัน ไม่ชัดบ้าง ได้ความรู้สึกย้อนยุคดีนะคะ ที่น่าสังเกตคือราคาเล่มที่ 1 บาท 16 อัฐ นั่นคือราคาไม่ถูกอย่างมาก เพราะในเล่มมียกตัวอย่างว่าเสมียนรับพระราชทานเงินเดือนๆ ละ 16 บาท ถ้าเทียบเงินเดือนเสมียนเป็นเงินเดือนปริญญาตรีจบใหม่ที่ 15,000 บาท สมัยนี้ก็ราคาเล่มละเกือบพันสองเชียวนะคะ
เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการแปลงหน่วยและบวกลบคูณหารปริมาณต่างๆ โดยแบ่งเป็น 15 มาตรา (ที่อาจแบ่งเป็นพิกัดมาตราย่อยลงไปอีกด้วย) คือ มาตราเงิน (นับเงินสยามตามวิธีโบราณ, นับเงินสยามตามวิธีอย่างใหม่), มาตราเวลา (นับเวลาตามธรรมดา), มาตราวัด (วัดสั้นยาวตามธรรมดา, วัดสั้นยาวเปนตารางเหลี่ยม, วัดที่นา, วัดหน้าไม้, วัดกว้างยาวสูงเปนเหลี่ยมลูกบาด, วัดจักรราษี, วัดน้ำฝน), มาตราชั่ง (ชั่งทองคำ, ชั่งสิ่งของต่างๆ), มาตราตวง (ตวงของแขง, ตวงน้ำ, ตวงสุรา)
ที่สมเป็นแบบเรียนไทยมากคือมีคำกลอนให้ท่องจำได้ง่ายด้วย บทเริ่มคือ
มาตราประพันธ์
เริ่ม
◎ จักแถลงเลศลักษณโดย มีในเลขวิธี ที่สองพิศาลขานไข
◎ เหตุกุลบุตรแจ้งเจนใจ ทุกชั้นชาญใน คดีที่นับเนื่องมา
◎ ในเล่มที่หนึ่งพึงปรา กฎแต่ตำรา บวกลบแลทั้งคูณหาร
◎ ทำถูกถ่องถ้วนมวญมาน ยังอีกอาการ คือนับกำหนดสิ่งของ
◎ จัดเป็นมาตราโดยปอง หลายเล่ห์ละบอง ระบิลยุบลนามมี
◎ เรียกว่ามาตราวิธี หลายเค้าดดี จะหยิบละอย่างบรรยาย
◎ ลงไว้เปนส่วนเบื้องปลาย เยื้องยักแยบคาบ ในเลขวิธีอุดม
◎ กุลบุตรควรเอื้ออารมณ์ มาไฝ่นิยม สำหรับประดับปัญญา
◎ รู้ชอบกอบดีดุจผลา ที่เกิดกับกา ยะสิทธิ์บอเสื่อมสูญผล
เมื่อมีกลอนทั้งสิบห้ามาตราแล้ว ก็เป็นบทสรุปท้าย
◎ มาตราประพันธ์พจน์ สฤษดิ์จรดไว้เพื่อภูล แห่งความวิริกูล บุตรสมัตถสาทร
◎ มีอยู่ในชั้นต้น สิบห้ากลประกิจกลอน ออกอัดถ์อุทาหรณ์ แต่โดยย่อบพิศดาร
◎ พึงบงที่อธิบาย บรรยายบอกแบบบรรหาร แห่งลักษณาการ ซึ่งมีเนื่องนุสนธิ์ไป
◎ มาตราประพันธ์เสร็จ ทุกเขบ็จขบวนไข ควรทราบมะโนใน คณผู้จะเพียรเรียน
----------
ในแต่ละหัวข้อก็มีการธิบายอย่างละเอียด มาตราเก่า คือ มาตราเงิน (นับเงินสยามตามวิธีโบราณอย่างลเอียด), นับเวลาอย่างเก่า, มาตราวัด (วัดสั้นยาวอย่างลเอียด, วัดที่นาอย่างลเอียด), มาตราชั่ง (ชั่งทองคำอย่างลเอียด), มาตราตวง (ตวงสิ่งของแข็งอย่างพิสดาร, ตวงของแข็งอย่างย่อ, ตวงของแข็งดังมาตราที่ ๗), มาตราที่ใช้ในหมู่โหร (นับเวลาในการคำนวรสูรย์จันทร์เปนต้น, นับเวลาดังมาตราที่ ๙, นับเวลาอย่างวัดชั้นฉาย, นับเวลาอย่างยามอัฐกาล, นับเวลาอย่างฤดูลม), มาตราที่ใช้ในหมูพระสงฆ์ (นับเงินนีลกะสาปณ์, นับเวลาในหมู่พระสงฆ์, นับเวลาในกาลบอกอนุสาสน์, นับเวลาวันอุโบสถ, วัดสั้นยาวตามธรรมดา, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๑๘, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๑๘, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๑๙, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๑๙, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๒๑, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๒๑, วัดสั้นยาวดังมาตราที่ ๒๑, วัดตามคืบพระสูคต, สำหรับชั่งสิ่งของต่างๆ, สำหรับตวงสิ่งของต่างๆ, สำหรับตวงสิ่งของต่างๆ)
มาตราอังกฤษ (นับเงิน, นับเวลา, วัดตามยาว, วัดกว้างยาวเปนตารางเหลี่ยม, วัดอย่างเหลี่ยมลูกบาด, วัดของกลม, วัดกองฟืน, วัดทาง, วัดทาง, วัดทาง, วัดทาง, วัดทางทเล, วัดสูนย์กลางของกลม, วัดน้ำฝน, วัดผ้า, ชั่งเงินทองพลอยเพ็ชร์, ชั่งของอย่างเบา, ชั่งเครื่องยา, ชั่งสิ่งของต่างๆ, ตวงของแห้ง, ตวงของแห้ง, ตวงของเหลว, ตวงของเหลวในการประสมยา, นับสิ่งของต่างๆ, นับกระดาษ), มาตราอเมริกา (นับเงิน, นับเวลา, วัดทางบก, ชั่งสิ่งของต่างๆ, ตวงของแห้ง, ตวงของเหลว, ตวงสุรา), มาตราที่ใช้ร่วมกันหลายประเทศ (วัดความยาว, วัดตารางเหลี่ยม, วัดลูกบาด, ตวงของแห้งแลของเหลว, ชั่งสิ่งของต่างๆ), มาตราจีน (นับเงิน, นับเวลา, วัดตามธรรมดา, วัดทาง, ตวงสิ่งของต่างๆ)
ในภาพรวมก็มีหน่วยเป็นระบบ และที่น่าสนใจในแบบเรียนมากคือหัวข้อใช้งานจริง และมีเขียนบอกว่าไม่ต้องเรียนให้หมด เอาที่สำคัญคือหน่วยเงิน เวลา และวัดสั้นยาวให้เชี่ยวชาญก่อน อย่างอื่นให้พิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็น มีแสดงวิธีเขียนแบบย่อในตาราง (มึนกว่าแบบเขียนวันที่ข้างขึ้นแรมเยอะ) ตัวย่อหน่วย บวกลบคูณหาร พร้อมโจทย์ตัวอย่าง (แต่ก็มีที่ จขบ. อ่านแล้วรู้สึกมีแปลกบ้าง แบบว่าจะเป๊ะอะไรขนาดนั้นเลย เดินทุกวันได้เท่ากันที่หน่วยนิ้ว) ต้องยอมรับว่าบางมาตราที่มีใช้ชื่อหน่วยเหมือนกันแต่ไม่เท่ากันนี่มึนพอดู หน่วยแปลกๆ ที่เคยได้ยินก็มีครบนะคะ อย่าง ๘ เส้นผม เปน ๑ ไข่เหา, ๘ ไข่เหา เปน ๑ ตัวเหา และ ๘ ตัวเหา เปน ๑ เมล็ดเข้า ก็มีด้วย
นอกจากจะเห็นการนับแบบเก่าแล้วแล้ว ยังเห็นให้ถึงความเปลี่ยนแปลงในการสะกดคำไทยและการทับศัพท์ต่างประเทศได้ชัดมาก ที่รู้สึกว่าขาดไปหน่อยคือการแปลงหน่วยข้ามมาตราค่ะ สรุปว่าเป็นเล่มที่เคยอ่านไว้หน่อยก็ดี คนที่คิดจะเขียนนิยายย้อนยุคก็น่าจะมีเก็บไว้นะคะ
[17/10/16, 04/02/22]
ที่มา
[1] กรมศึกษาธิการ. เลขวิธี สำหรับเรียนหนังสือไทย เล่ม 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัดองศาสบายดี, พิมพ์ครั้งที่ 5, 208 หน้า, 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2443).
รายการหนังสือไทย, ไทม์ไลน์หนังสืออิงประวัติศาสตร์/ย้อนยุค ไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น