2 อัจฉริยะเมนูคณิต ทฤษฎีแฟร์มา - Kobayashi Yugo
เรื่อง 2 อัจฉริยะเมนูคณิต ทฤษฎีแฟร์มา
โดย Yugo Kobayashi
นักเรียนมัธยมปลาย คิทาดะ กาคุ มีความสนใจคณิตศาสตร์แต่เด็ก เป็นนักเรียนทุนโรงเรียนเอกชนเวลล์เพราะน่าจะเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวได้ กาคุเข้าค่ายโอลิมปิกคณิตศาสตร์แต่กลับมีปัญหาด้านเป้าหมายชีวิตจนตกการคัดเลือกรอบสุดท้ายเพราะส่งกระดาษเปล่า ประธานกรรมการโรงเรียน ไซมง เลยเลิกให้ทุนและจะไล่ออก กาคุทำงานพิเศษที่โรงอาหารและค้นพบตัวเองเมื่อทำสปาเก็ตตี้นโปลิตันให้เพื่อน อุโอะมิ อะยุ ที่อยู่สาขากีฬา
ไซมงจัดงานเลี้ยงขอบตุณผู้มีอุปการคุณโดยเชิญเชฟ อาซาคุระ ไค (23 ปี) เจ้าของร้าน K หนึ่งดาวในโตเกียวมาทำอาหาร ไคให้กาคุทำนโปลิตันที่ผู้มีอุปการคุณชื่นชมจนไซมงไล่ออกไม่ได้ กาคุขอพ่อไปทำงานร้าน K ช่วงปิดเทอม มีงานรับรอง สส มุซาชิ ที่ลูกสาว มุซาชิ คางุระ ผ่านค่ายโอลิมปิกมากับกาคุจนเป็นเพื่อนสนิทและคู่แข่ง คราวนี้กาคุทำโอชาซึเกะที่ทำให้ระลึกถึงบ้าน (จขบ. รู้สึกว่ากล้ามากที่พูดว่าไม่มีคนญี่ปุ่นที่ไม่ชอบ อาหารทุกอย่างก็ต้องมีคนไม่ชอบอยู่แหละ)
กาคุจบ ม.ปลาย สอบติดมหาวิทยาลัยโตเกียวแต่ขอสละสิทธิ์มาทำงานที่ร้าน หาเงินใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียน แต่เจอทดลองงานทำอาหารพนักงานให้ทุกคนประทับใจในหนึ่งสัปดาห์ ครั้งแรกทำนิคุจากะเนื้อต้มมันฝรั่งเป็นอาหารบำรุงกำลังแต่เจอตอ จนเมื่อได้เจออุโอะมิที่เข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยกีฬาและบาดเจ็บกล้ามเนื้อฉีก จึงเข้าใจเรื่องพุ่งเข้าชนและทำนิคุจากะผ่านด้วยคอนเซปต์ความโหยหาที่เป็นอิสระมาตรฐานโลก
ผ่านมาครึ่งปี กาคุทำอาหารพนักงาน เช่น ออมไรซ์ที่ไม่ต้องทอด จนเป็นที่ยอมรับในครัว แต่เมื่อเพื่อนสนิทและคู่แข่งอีกคน ฮิโรเสะ อิจิทาโร่ ที่เรียนต่อพรินซ์ตันได้รางวัลคุสึโนเสะ มาซามิ ไครับงานทำอาหารในพิธีรับรางวัลที่โรงแรมโทโฮ และให้พนักงานแข่งทำอาหารเรียกน้ำย่อย ซุป และจานเนื้อ พนักงานที่ลงแข่งแต่ละคนที่ก็ความหลังและความปรารถนาที่แตกต่างกันไป
ความรู้สึกหลักคือการทำอาหารเป็นสไตล์อาหารโมเลกุล (mulecular gastronomy) การคำนวณคณิตศาสตร์ในเรื่อง ถ้าไม่มาทางเคมี ก็ล้วนแต่เป็นการจำลองแบบที่ต้องอาศัยบริบทมาช่วย อย่างการทำงานในห้องครัวเป็น work flow ฯลฯ ถ้าจะให้แนะนำการศึกษา ควรให้ไปเรียนเคมีหรือชีวะเคมี เพื่อเป็นฐานอาหารโมเลกุล การไปเข้าครัลองผิดลองถูกไปเรื่อยเป็นการทิ้งจุดเด่นแล้วเอาจุดอ่อนไปสู้ชัดๆ
ในภาพรวม ลายเส้นโอเคแบบจริงจัง การเล่าเรื่องลื่นไหล มีสูตรอาหารให้ท้ายบท อ่านได้เรื่อยๆ แต่ไม่ได้ประทับใจอะไรเป็นพิเศษค่ะ ทั้งนี้ จขบ. ก็เคยกินอาหารโมเลกุลครั้งหนึ่งที่เดนมาร์ก รู้สึกตื่นตาตื่นใจในเชิงวิชาการมาก มีเลกเชอร์ก่อนกิน แถมมีพวกบัณฑิตศึกษาเป็นแรงงานทำไอศกรีม 555 แต่พอกินจริงก็ไม่ได้รู้สึกประทับใจอะไรขนาดในเรื่องหรอก
ที่มา
[1] Kobayashi Yugo. 2 อัจฉริยะเมนูคณิต ทฤษฎีแฟร์มา (Fermat no Ryouri). Siam Inter Comics, เล่ม 1-4, 2564-2567 (ต้นฉบับ 2019-2023).
รายการการ์ตูนญี่ปุ่น
โดย Yugo Kobayashi
นักเรียนมัธยมปลาย คิทาดะ กาคุ มีความสนใจคณิตศาสตร์แต่เด็ก เป็นนักเรียนทุนโรงเรียนเอกชนเวลล์เพราะน่าจะเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวได้ กาคุเข้าค่ายโอลิมปิกคณิตศาสตร์แต่กลับมีปัญหาด้านเป้าหมายชีวิตจนตกการคัดเลือกรอบสุดท้ายเพราะส่งกระดาษเปล่า ประธานกรรมการโรงเรียน ไซมง เลยเลิกให้ทุนและจะไล่ออก กาคุทำงานพิเศษที่โรงอาหารและค้นพบตัวเองเมื่อทำสปาเก็ตตี้นโปลิตันให้เพื่อน อุโอะมิ อะยุ ที่อยู่สาขากีฬา
ไซมงจัดงานเลี้ยงขอบตุณผู้มีอุปการคุณโดยเชิญเชฟ อาซาคุระ ไค (23 ปี) เจ้าของร้าน K หนึ่งดาวในโตเกียวมาทำอาหาร ไคให้กาคุทำนโปลิตันที่ผู้มีอุปการคุณชื่นชมจนไซมงไล่ออกไม่ได้ กาคุขอพ่อไปทำงานร้าน K ช่วงปิดเทอม มีงานรับรอง สส มุซาชิ ที่ลูกสาว มุซาชิ คางุระ ผ่านค่ายโอลิมปิกมากับกาคุจนเป็นเพื่อนสนิทและคู่แข่ง คราวนี้กาคุทำโอชาซึเกะที่ทำให้ระลึกถึงบ้าน (จขบ. รู้สึกว่ากล้ามากที่พูดว่าไม่มีคนญี่ปุ่นที่ไม่ชอบ อาหารทุกอย่างก็ต้องมีคนไม่ชอบอยู่แหละ)
กาคุจบ ม.ปลาย สอบติดมหาวิทยาลัยโตเกียวแต่ขอสละสิทธิ์มาทำงานที่ร้าน หาเงินใช้ทุนการศึกษาของโรงเรียน แต่เจอทดลองงานทำอาหารพนักงานให้ทุกคนประทับใจในหนึ่งสัปดาห์ ครั้งแรกทำนิคุจากะเนื้อต้มมันฝรั่งเป็นอาหารบำรุงกำลังแต่เจอตอ จนเมื่อได้เจออุโอะมิที่เข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยกีฬาและบาดเจ็บกล้ามเนื้อฉีก จึงเข้าใจเรื่องพุ่งเข้าชนและทำนิคุจากะผ่านด้วยคอนเซปต์ความโหยหาที่เป็นอิสระมาตรฐานโลก
ผ่านมาครึ่งปี กาคุทำอาหารพนักงาน เช่น ออมไรซ์ที่ไม่ต้องทอด จนเป็นที่ยอมรับในครัว แต่เมื่อเพื่อนสนิทและคู่แข่งอีกคน ฮิโรเสะ อิจิทาโร่ ที่เรียนต่อพรินซ์ตันได้รางวัลคุสึโนเสะ มาซามิ ไครับงานทำอาหารในพิธีรับรางวัลที่โรงแรมโทโฮ และให้พนักงานแข่งทำอาหารเรียกน้ำย่อย ซุป และจานเนื้อ พนักงานที่ลงแข่งแต่ละคนที่ก็ความหลังและความปรารถนาที่แตกต่างกันไป
[04/10/21, 12/01/22, 16/08/24]
ความรู้สึกหลักคือการทำอาหารเป็นสไตล์อาหารโมเลกุล (mulecular gastronomy) การคำนวณคณิตศาสตร์ในเรื่อง ถ้าไม่มาทางเคมี ก็ล้วนแต่เป็นการจำลองแบบที่ต้องอาศัยบริบทมาช่วย อย่างการทำงานในห้องครัวเป็น work flow ฯลฯ ถ้าจะให้แนะนำการศึกษา ควรให้ไปเรียนเคมีหรือชีวะเคมี เพื่อเป็นฐานอาหารโมเลกุล การไปเข้าครัลองผิดลองถูกไปเรื่อยเป็นการทิ้งจุดเด่นแล้วเอาจุดอ่อนไปสู้ชัดๆ
ในภาพรวม ลายเส้นโอเคแบบจริงจัง การเล่าเรื่องลื่นไหล มีสูตรอาหารให้ท้ายบท อ่านได้เรื่อยๆ แต่ไม่ได้ประทับใจอะไรเป็นพิเศษค่ะ ทั้งนี้ จขบ. ก็เคยกินอาหารโมเลกุลครั้งหนึ่งที่เดนมาร์ก รู้สึกตื่นตาตื่นใจในเชิงวิชาการมาก มีเลกเชอร์ก่อนกิน แถมมีพวกบัณฑิตศึกษาเป็นแรงงานทำไอศกรีม 555 แต่พอกินจริงก็ไม่ได้รู้สึกประทับใจอะไรขนาดในเรื่องหรอก
ที่มา
[1] Kobayashi Yugo. 2 อัจฉริยะเมนูคณิต ทฤษฎีแฟร์มา (Fermat no Ryouri). Siam Inter Comics, เล่ม 1-4, 2564-2567 (ต้นฉบับ 2019-2023).
รายการการ์ตูนญี่ปุ่น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น