หัวใจในกรงทอง - Shinohara Chie
เรื่อง หัวใจในกรงทอง
โดย Shinohara Chie
การ์ตูนอิงประวัติศาสตร์จักรวรรดิออตโตมันในยุคทอง เริ่มเรื่องเมื่อประมาณปี 1520 ในรัชสมัยของ Suleiman the Magnificent นางเอกคือ Hürrem Sultan (Roxelana) ที่มีชื่อเสียงและชีวประวัติน่าสนใจอย่างมาก อ่านมาเล่มแรกแล้วก็รู้สึกว่าสัญญาณดีทีเดียว (ขอเตือนว่ามีวาย) รูปสวยตามมาตรฐานผู้เขียน (แต่ยังไม่ค่อยเห็นใครไว้เครา) ^^
ท้ายเล่ม 11 ยังมีตอนพิเศษของ 'ตะวันรักที่ปลายฟ้า' แต่กลับเป็นตอนที่อยู่ในเรื่องหลักคือตอนเจ้าชายซานันซาเดินทางไปสมรสที่อียิปต์ ท้ายเล่ม 16 มี ตอนรามเซสเป็นผู้บัญชาการกองทหารรักษาการอียิปต์ประจำฮัตทูชา ยูริออกไปนอกวังจัดการอิชทาร์ตัวปลอม ค่อนข้างงงว่าเอามาใส่ไว้ทำไม น่ารวมเล่มดีกว่าไหม
อเล็กซานดร้า เป็นลูกสาวบาทหลวงที่อาศัยในหมู่บ้านยากจนในแคว้นรูเธเนีย เมื่อเผ่าตาตาร์มาปล้มสดมภ์ก็โดนจับไปขายเป็นทาสที่อิสตันบูล คนที่ซื้อเธอเป็นชาวกรีซ ชื่อ มัทเธอุส ลาสคาริส เขาตั้งชื่อให้เธอใหม่ว่า ฮูร์เร็ม ให้การอบรมความรู้ต่างๆ ซึ่งเธอก็ทำได้ดีและสนุกมาก ความประทับใจทำให้หลงรักมัทเธอุส
มัทเธอุสหรือ อิบราฮิม เคยเป็นทาสที่ถูกส่งเป็นบรรณาการแด่สุลต่าน สุไลมาน ตั้งแต่สมัยยังเยาว์ก่อนขึ้นครองราชย์ อิบราฮิมมีความสามารถจนได้เลื่อนฐานะเป็นหัวหน้ามหาดเล็ก และเตรียมการส่งสาวงามที่เฉียบแหลมและแข็งแกร่งเข้าไปเป็นพระสนม ฉันเลือกประตูไม่ได้ เพราะต้องเปิดประตูบานที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น ถ้าอย่างนั้น ... ฉันก็จะลองเดินด้วยขาของตัวเองดูว่าจะไปได้สักแค่ไหน ...
ท่ามกลางการแก่งแย่งชิงดีถึงตายในฮาเร็ม ผู้มีอำนาจสูงสุดคือ สุลต่าน วาลิเด (พระชนนี) ฮาฟซา ฮาทุน (พระธิดากษัตริย์แห่งไครเมีย) รองลงมาคือพระมเหสี มาฮิเดบรัน หรือ กึลบาฮาร์ พระมารดาของพระโอรสองค์โต (และองค์เดียว) คือเจ้าชาย มุสตาฟา ส่วนผู้ที่เคลื่อนไหวได้สะดวกที่สุดคือหัวหน้าขันที
ฮูร์เร็มได้เลื่อนจากนางในเป็นพระสนมผู้เป็นที่โปรดปราน โดยเฉพาะเมื่อได้แสดงให้เห็นถึงความใฝ่รู้และเฉลียวฉลาด ขอโอกาสใช้ห้องสมุดจนได้ศึกษาศาสตร์ต่างๆ กับอดีตพระอาจารย์และมหาเสนาบดี กาซิม ทำให้เธอเผชิญอันตรายจากกึลบาฮาร์ที่ต้องการครองอำนาจและใช้ทุกวิถีทาง เช่นการกำจัดพระสนมที่ตั้งครรภ์ เพราะองค์สุไลมานไม่สนใจเรื่องในฮาเร็ม แต่ฮูร์เร็มได้แรงสนับสนุนจากพระขนิษฐา สุลตาน่า ฮาดีเจ ที่รักกับ อัลวีเซ่ กริตตี้ พ่อค้าชาวเวนิสที่ร่วมมือกับอิบราฮิม
ปี 1521 สุลต่านสุไลมานยกทัพไปล้อมเบลเกรด เมืองสำคัญของฮังการี เพราะกษัตริย์ หลุยส์ที่ 2 เลิกส่งบรรณาการ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และราชอาณาจักรสเปนภายใต้จักรพรรดิ คาร์ลที่ห้า ที่เป็นพันธมิตรสำคัญมีปัญหาภายในและสเปนทำสงครามกับฝรั่งเศสจนไม่สามารถส่งกองทัพมาช่วย ถึงเบลเกรดจะพยายามต้านทานเต็มที่แต่ก็ถูกตีแตก เป็นจุดเริ่มของการขยายอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันเข้าในยุโรป ที่ตามด้วยการบุกเกาะโรดส์
ปัญหาในฮาเร็มยิ่งรุนแรงเมื่อสุลต่านไม่ค่อยเสด็จ กึลบาฮาร์ลงมือกำจัดฮูร์เร็มที่ได้อิบราฮิมช่วยไว้ ถึงฮูร์เร็มยินดีจะตายเพื่อความรัก แต่ไม่ยอมโดนฆ่าหรือยอมแพ้ในฐานะนางในฮาเร็ม ทั้งคู่เข้าสู่เส้นทางที่ย้อนกลับคืนมาไม่ได้ เมื่อฮูร์เร็มตั้งครรภ์จึงไม่แน่ในว่าลูกในท้องเป็นของใคร
สุลต่านสุไลมานยกทัพบุกเกาะโรดส์และตีได้สำเร็จ (จขบ. รู้สึกว่าความบีบคั้นต่อฝ่ายโรดส์ก่อนยอมแพ้ดูจะชิลด์เกินไปนะ) อิบราฮิมพยายามสร้างผลงานเพื่อให้มีโอกาสของเป็นรางวัล แต่ก่อนทัพจะกลับมาถึงอิสตันบูล ศึกนางในก็ระเบิด มีคนถูกฆ่าจำนวนมาก แม้แต่ผู้ดูแลฮาเร็มก็ตายด้วย แต่ฮูร์เร็มก็ปลอดภัยเพราะคนของอิบราฮิม
หลังการรบที่โรดส์ อิบราฮิมได้เป็นอัครมหาเสนาบดี ฮูร์เร็มกำเนิดพระโอรสองค์รอง เมห์เมต และขึ้นเป็นพระมเหสีองค์ที่สอง ส่วนอิบราฮิมได้เป็นอัครมหาเสนาบดี ได้รับพระราชทานสมรสกับพระขนิษฐาฮาดีเจ ที่ลูกชาย อาตา เมห์เมต กับอัลวีเซ่ถูกเลี้ยงเป็นลูกอิบราฮิม อิบราฮิมยังถูกส่งไปปราบกบถที่อียิปต์หนึ่งปี
อำนาจของอิบราฮิมและความโปรดปรานของสุไลมานทำให้ฮูร์เร็มได้ชื่อว่าเป็นฮาเชกี (มเหสีคนโปรด) มีอำนาจในฮาเร็มเป็นเพียงรองพระชนนี แต่ก็ตัดสินใจไม่กำจัดเจ้าชายมุสตาฟาที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการขึ้นเป็นสุลต่านของเมห์เมต ฮูร์เร็มให้กำเนิดพระธิดา มีห์รีมาห์ และโอรสองค์ที่สาม เซลิม ซึ่งอิบราฮิมตั้งใจจะสนับสนุนให้เป็นรัชทายาททั้งที่อ่อนแอที่สุดแต่มั่นใจว่าเป็นโอรสของสุไลมานแน่นอน
ในปี 1526 สุไลมานส่งกองทัพไปฮังการีและเรียกอัลวีเซ่กลับมาใช้งาน (ถึงตอนนี้อัลวีเซ่สวามิภักดิ์ออตโตมันอย่างเต็มตัวทั้งเพื่อความก้าวหน้าของตนและเพื่อโอกาสในการขอแต่งงานกับฮาดีเจ) ผลคือบุกยึดบูดาได้
ฮูร์เร็มที่มีลูกคนที่สี่ บาเยซิด ก็พยายามคิดหาทางออกไม่ให้ฆ่าเจ้าชายที่ไม่ได้ขึ้นครองราชย์ และตั้งมูลนิธิวะกัฟเพื่อสงเคราะห์คนยากไร้เป็นการสร้างฐานอำนาจ แต่อิบราฮิมคิดว่าเวลายังไม่เหมาะสมและกลัวว่าเมห์เมตจะเป็นลูกของตัว หลังการรบที่พาเจ้าชายสององค์แรกออกศึกก็ออกตัวสนับสนุนมุสตาฟา ทำให้อยู่คนละข้างกับฮูร์เร็ม
ในในปีที่แปดของสุไลมาน (ค.ศ. 1528) จักรวรรดิออดโตมันมีชายแดนตะวันตกติดกับเปอร์เซียของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ ส่วนทางตะวันตกคือออสเตรียของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก จากการรบที่โมฮาชส์ ซาโพลไย ยาโนว ที่เคยครองทรานซิลวาเนียตั้งตนเป็นกษัตริย์ฮังการีและอ่อนน้อมต่อออตโตมัน ส่วนออสเตรียให้อาร์คดยุค เฟอร์ดินานด์ อนุชาของคาร์ลที่ห้าเป็นกษัตริย์ฮังการี สุลต่านสุไลมานนำทัพไปเวียนนาด้วยตนเอง บุกถึงเวียนนาและเกิดปิดล้อมเวียนนาครั้งที่หนึ่งเมื่อปี 1529 ทัพออดโตมันจำนวนแสนสองปะทะกองทัพเวียนนาห้าหมื่น แต่สภาพอากาศที่เลวร้ายทำให้การเดินทางล่าช้า และการขนส่งปืนใหญ่ลำบาก สุไลมานนต้องถอยทัพเมื่อหิมะตก
ระหว่างที่สุไลมานไม่อยู่ ฮูร์เร็มต้องหาอำนาจมาคานอิบราฮิมที่เป็นอัครเสนาบดี ฮูร์เร็มตั้งวะกัฟที่เขตกาลาตา สร้างโรงทานและโรงพยาบาล โดยได้ที่ดินพระราชทานจำนวนหนึ่ง กึลบาฮาร์ต้องการตั้งวะกัฟบ้าง แต่พบว่าด้วยเงินจากที่ดินพระราชทานไม่เพียงพอ เบื้องหลังคือฮูร์เร็มช่วยนางในให้ออกจากวังหลังไปแต่งงานกับผู้ครองแคว้นหรือแม่ทัพต่างเมือง ภริยาเหล่านี้ได้บริจาคที่ดินจำนวนมากให้วะกัฟของฮูร์เร็ม
ฮูร์เร็มช่วยนางกำนัลตกน้ำจนได้พบ บาร์บารอส เฮย์เรดดิน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกัลลิโปลีที่ดูแลกองทัพเรือ ที่ขอนางในคนสนิทไปเป็นภรรยา และขอสนับสนุนฮูร์เร็มในการสร้างฐานอำนาจ เฮย์เรดดินยังแนะนำให้ใช้ รูสเทม ที่เคยช่วยเมห์เมตไว้ ก่อนออกไปตรึงกำลังกองทัพเรือเสปนในเมติเตอร์เรเนียน
ฮูร์เร็มขอให้ประกอบพิธีสุนัตให้เมห์เมตก่อนมุสตาฟาเพื่อแสดงความเป็นทายาท แต่อิบราฮิมขอให้สุนัดมุสตาฟา ฮูร์เร็มเลยขอให้เซลิมเข้าพิธีพร้อมกันรวมเป็นสามคน เมื่อโอรสถือว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว สุไลมานก็เริ่มพาไปฟังการปรึกษาราชการ แต่เมื่อสุไลมานเปรียบเทียบความคิดของฮูร์เร็มและกึลบาฮาร์ก็พบว่าฮูร์เร็มฉลาดกว่ามาก และในปี 1531 ฮูร์เร็มที่มีลูกคนที่ห้า ชีฮังกีร์ แตกกับอิบราฮิมอย่างเต็มตัว และตั้งเป้าที่ตำแหน่งจักรพรรดินี
อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ยกทัพไปฮังการี สุไลมานให้อิบราฮิมเป็นผู้บัญชาการสูงสุดในฮังการีและสนับสนุนกริตตี้ที่บูดา แต่ถ้าการรบยืดเยื้อจะทำให้เปอร์เซียฉวยโอกาส ผลการศึกจีงเป็นสนธิสัญญาคอนสแตนติโนเปิล สุไลมานให้รางวัลอิบราฮิมเป็นห้องส่วนตัวในวังหลังตามคำขอของกึลบาฮาร์ สุไลมานโปรดปรานฮาเซกีฮูร์เร็มมากกว่าผู้ใดและรับฟังความเห็นต่างๆ
ระหว่างที่อิบราฮิมเป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือไปเปอร์เซียเหนือผ่านทะเลดำในปี 1533 อิบราฮิมเสนอให้กริตตี้เป็นผู้แทนทางการทูตไปควบคุมฮังการี แต่กริตตี้ต้องการผลงาน ปกครองเข้มงวดและเก็บภาษีมากเกินไปทำให้ประชาชนไม่พอใจ ฮูร์เร็มหาเรื่องให้กึลบาฮาร์ทำร้ายเป็นแผลที่แก้ม ขอไม่ถวายการรับใช้ชั่วคราว และแอบไปกัลลิโปลีและเรียกกริตตี้มาพบเพื่อเตือนให้ลดการกดขี่ แต่กริตตี้ปฏิเสธไม่มาพบ เมื่อเกิดจลาจลในบูดาจนกริตตี้ถูกลักพาตัว ฮูร์เร็มที่พบว่าปิดบังเรื่องไม่ได้อีกจึงกลับอิสตันบูล สุไลมานมองว่ากริตตี้ไม่มีฝีมือและปล่อยให้กริตตี้ถูกประหาร
อิบราฮิมยึดเยเรวานในอาร์เมเนียจากเปอร์เซียและใช้เป็นฐานให้สุไลมานที่ตามมาสมทบในปี 1534 เมื่อพระชนนีสิ้นพระชนม์ ฮูร์เร็มครองอำนาจอันดับหนึ่งในฮาเร็มและจัดการส่งมุสตาฟาไปครองแคว้นมานิสาโดยกึลบาฮาร์ติดตามไปด้วย ส่วนเมห์เมตก็ปลอมราชสาสน์เพื่อดึงไว้ในอิสตันบูลแทนที่จะถูกส่งไปครองอามาสยา
ฮูร์เร็มวางแผนทำลายอิบราฮิมที่ปล่อยให้กึลบาฮาร์วางยาพิษเมห์เมตและเริ่มลงมือเองโดยส่งคนมาฆ่าเมห์เมต ฮาดีเจที่เศร้าโศกกับการตายของกริตตี้ก็ไม่สนใจปกป้องสามี
ที่มา
[1] Shinohara Chie. หัวใจในกรงทอง (Yume no Shizuku, Ougon no Torikago). บงกชพับลิชชิ่ง, เล่ม 1-13,16, 18, 2555-2565 (ต้นฉบับ 2011).
รายการการ์ตูนญี่ปุ่น
โดย Shinohara Chie
การ์ตูนอิงประวัติศาสตร์จักรวรรดิออตโตมันในยุคทอง เริ่มเรื่องเมื่อประมาณปี 1520 ในรัชสมัยของ Suleiman the Magnificent นางเอกคือ Hürrem Sultan (Roxelana) ที่มีชื่อเสียงและชีวประวัติน่าสนใจอย่างมาก อ่านมาเล่มแรกแล้วก็รู้สึกว่าสัญญาณดีทีเดียว (ขอเตือนว่ามีวาย) รูปสวยตามมาตรฐานผู้เขียน (แต่ยังไม่ค่อยเห็นใครไว้เครา) ^^
ท้ายเล่ม 11 ยังมีตอนพิเศษของ 'ตะวันรักที่ปลายฟ้า' แต่กลับเป็นตอนที่อยู่ในเรื่องหลักคือตอนเจ้าชายซานันซาเดินทางไปสมรสที่อียิปต์ ท้ายเล่ม 16 มี ตอนรามเซสเป็นผู้บัญชาการกองทหารรักษาการอียิปต์ประจำฮัตทูชา ยูริออกไปนอกวังจัดการอิชทาร์ตัวปลอม ค่อนข้างงงว่าเอามาใส่ไว้ทำไม น่ารวมเล่มดีกว่าไหม
[27/07/12, 14/02/20]
อเล็กซานดร้า เป็นลูกสาวบาทหลวงที่อาศัยในหมู่บ้านยากจนในแคว้นรูเธเนีย เมื่อเผ่าตาตาร์มาปล้มสดมภ์ก็โดนจับไปขายเป็นทาสที่อิสตันบูล คนที่ซื้อเธอเป็นชาวกรีซ ชื่อ มัทเธอุส ลาสคาริส เขาตั้งชื่อให้เธอใหม่ว่า ฮูร์เร็ม ให้การอบรมความรู้ต่างๆ ซึ่งเธอก็ทำได้ดีและสนุกมาก ความประทับใจทำให้หลงรักมัทเธอุส
มัทเธอุสหรือ อิบราฮิม เคยเป็นทาสที่ถูกส่งเป็นบรรณาการแด่สุลต่าน สุไลมาน ตั้งแต่สมัยยังเยาว์ก่อนขึ้นครองราชย์ อิบราฮิมมีความสามารถจนได้เลื่อนฐานะเป็นหัวหน้ามหาดเล็ก และเตรียมการส่งสาวงามที่เฉียบแหลมและแข็งแกร่งเข้าไปเป็นพระสนม ฉันเลือกประตูไม่ได้ เพราะต้องเปิดประตูบานที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น ถ้าอย่างนั้น ... ฉันก็จะลองเดินด้วยขาของตัวเองดูว่าจะไปได้สักแค่ไหน ...
ท่ามกลางการแก่งแย่งชิงดีถึงตายในฮาเร็ม ผู้มีอำนาจสูงสุดคือ สุลต่าน วาลิเด (พระชนนี) ฮาฟซา ฮาทุน (พระธิดากษัตริย์แห่งไครเมีย) รองลงมาคือพระมเหสี มาฮิเดบรัน หรือ กึลบาฮาร์ พระมารดาของพระโอรสองค์โต (และองค์เดียว) คือเจ้าชาย มุสตาฟา ส่วนผู้ที่เคลื่อนไหวได้สะดวกที่สุดคือหัวหน้าขันที
ฮูร์เร็มได้เลื่อนจากนางในเป็นพระสนมผู้เป็นที่โปรดปราน โดยเฉพาะเมื่อได้แสดงให้เห็นถึงความใฝ่รู้และเฉลียวฉลาด ขอโอกาสใช้ห้องสมุดจนได้ศึกษาศาสตร์ต่างๆ กับอดีตพระอาจารย์และมหาเสนาบดี กาซิม ทำให้เธอเผชิญอันตรายจากกึลบาฮาร์ที่ต้องการครองอำนาจและใช้ทุกวิถีทาง เช่นการกำจัดพระสนมที่ตั้งครรภ์ เพราะองค์สุไลมานไม่สนใจเรื่องในฮาเร็ม แต่ฮูร์เร็มได้แรงสนับสนุนจากพระขนิษฐา สุลตาน่า ฮาดีเจ ที่รักกับ อัลวีเซ่ กริตตี้ พ่อค้าชาวเวนิสที่ร่วมมือกับอิบราฮิม
ปี 1521 สุลต่านสุไลมานยกทัพไปล้อมเบลเกรด เมืองสำคัญของฮังการี เพราะกษัตริย์ หลุยส์ที่ 2 เลิกส่งบรรณาการ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และราชอาณาจักรสเปนภายใต้จักรพรรดิ คาร์ลที่ห้า ที่เป็นพันธมิตรสำคัญมีปัญหาภายในและสเปนทำสงครามกับฝรั่งเศสจนไม่สามารถส่งกองทัพมาช่วย ถึงเบลเกรดจะพยายามต้านทานเต็มที่แต่ก็ถูกตีแตก เป็นจุดเริ่มของการขยายอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันเข้าในยุโรป ที่ตามด้วยการบุกเกาะโรดส์
ปัญหาในฮาเร็มยิ่งรุนแรงเมื่อสุลต่านไม่ค่อยเสด็จ กึลบาฮาร์ลงมือกำจัดฮูร์เร็มที่ได้อิบราฮิมช่วยไว้ ถึงฮูร์เร็มยินดีจะตายเพื่อความรัก แต่ไม่ยอมโดนฆ่าหรือยอมแพ้ในฐานะนางในฮาเร็ม ทั้งคู่เข้าสู่เส้นทางที่ย้อนกลับคืนมาไม่ได้ เมื่อฮูร์เร็มตั้งครรภ์จึงไม่แน่ในว่าลูกในท้องเป็นของใคร
[27/07/12, 29/11/12, 07/05/13, 18/06/14, 11/11/15]
สุลต่านสุไลมานยกทัพบุกเกาะโรดส์และตีได้สำเร็จ (จขบ. รู้สึกว่าความบีบคั้นต่อฝ่ายโรดส์ก่อนยอมแพ้ดูจะชิลด์เกินไปนะ) อิบราฮิมพยายามสร้างผลงานเพื่อให้มีโอกาสของเป็นรางวัล แต่ก่อนทัพจะกลับมาถึงอิสตันบูล ศึกนางในก็ระเบิด มีคนถูกฆ่าจำนวนมาก แม้แต่ผู้ดูแลฮาเร็มก็ตายด้วย แต่ฮูร์เร็มก็ปลอดภัยเพราะคนของอิบราฮิม
หลังการรบที่โรดส์ อิบราฮิมได้เป็นอัครมหาเสนาบดี ฮูร์เร็มกำเนิดพระโอรสองค์รอง เมห์เมต และขึ้นเป็นพระมเหสีองค์ที่สอง ส่วนอิบราฮิมได้เป็นอัครมหาเสนาบดี ได้รับพระราชทานสมรสกับพระขนิษฐาฮาดีเจ ที่ลูกชาย อาตา เมห์เมต กับอัลวีเซ่ถูกเลี้ยงเป็นลูกอิบราฮิม อิบราฮิมยังถูกส่งไปปราบกบถที่อียิปต์หนึ่งปี
อำนาจของอิบราฮิมและความโปรดปรานของสุไลมานทำให้ฮูร์เร็มได้ชื่อว่าเป็นฮาเชกี (มเหสีคนโปรด) มีอำนาจในฮาเร็มเป็นเพียงรองพระชนนี แต่ก็ตัดสินใจไม่กำจัดเจ้าชายมุสตาฟาที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการขึ้นเป็นสุลต่านของเมห์เมต ฮูร์เร็มให้กำเนิดพระธิดา มีห์รีมาห์ และโอรสองค์ที่สาม เซลิม ซึ่งอิบราฮิมตั้งใจจะสนับสนุนให้เป็นรัชทายาททั้งที่อ่อนแอที่สุดแต่มั่นใจว่าเป็นโอรสของสุไลมานแน่นอน
[01/04/16, 07/09/16, 04/11/16, 06/10/17]
ในปี 1526 สุไลมานส่งกองทัพไปฮังการีและเรียกอัลวีเซ่กลับมาใช้งาน (ถึงตอนนี้อัลวีเซ่สวามิภักดิ์ออตโตมันอย่างเต็มตัวทั้งเพื่อความก้าวหน้าของตนและเพื่อโอกาสในการขอแต่งงานกับฮาดีเจ) ผลคือบุกยึดบูดาได้
ฮูร์เร็มที่มีลูกคนที่สี่ บาเยซิด ก็พยายามคิดหาทางออกไม่ให้ฆ่าเจ้าชายที่ไม่ได้ขึ้นครองราชย์ และตั้งมูลนิธิวะกัฟเพื่อสงเคราะห์คนยากไร้เป็นการสร้างฐานอำนาจ แต่อิบราฮิมคิดว่าเวลายังไม่เหมาะสมและกลัวว่าเมห์เมตจะเป็นลูกของตัว หลังการรบที่พาเจ้าชายสององค์แรกออกศึกก็ออกตัวสนับสนุนมุสตาฟา ทำให้อยู่คนละข้างกับฮูร์เร็ม
[14/02/20, 12/06/20, 08/04/21, 19/07/21]
ในในปีที่แปดของสุไลมาน (ค.ศ. 1528) จักรวรรดิออดโตมันมีชายแดนตะวันตกติดกับเปอร์เซียของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ ส่วนทางตะวันตกคือออสเตรียของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก จากการรบที่โมฮาชส์ ซาโพลไย ยาโนว ที่เคยครองทรานซิลวาเนียตั้งตนเป็นกษัตริย์ฮังการีและอ่อนน้อมต่อออตโตมัน ส่วนออสเตรียให้อาร์คดยุค เฟอร์ดินานด์ อนุชาของคาร์ลที่ห้าเป็นกษัตริย์ฮังการี สุลต่านสุไลมานนำทัพไปเวียนนาด้วยตนเอง บุกถึงเวียนนาและเกิดปิดล้อมเวียนนาครั้งที่หนึ่งเมื่อปี 1529 ทัพออดโตมันจำนวนแสนสองปะทะกองทัพเวียนนาห้าหมื่น แต่สภาพอากาศที่เลวร้ายทำให้การเดินทางล่าช้า และการขนส่งปืนใหญ่ลำบาก สุไลมานนต้องถอยทัพเมื่อหิมะตก
ระหว่างที่สุไลมานไม่อยู่ ฮูร์เร็มต้องหาอำนาจมาคานอิบราฮิมที่เป็นอัครเสนาบดี ฮูร์เร็มตั้งวะกัฟที่เขตกาลาตา สร้างโรงทานและโรงพยาบาล โดยได้ที่ดินพระราชทานจำนวนหนึ่ง กึลบาฮาร์ต้องการตั้งวะกัฟบ้าง แต่พบว่าด้วยเงินจากที่ดินพระราชทานไม่เพียงพอ เบื้องหลังคือฮูร์เร็มช่วยนางในให้ออกจากวังหลังไปแต่งงานกับผู้ครองแคว้นหรือแม่ทัพต่างเมือง ภริยาเหล่านี้ได้บริจาคที่ดินจำนวนมากให้วะกัฟของฮูร์เร็ม
ฮูร์เร็มช่วยนางกำนัลตกน้ำจนได้พบ บาร์บารอส เฮย์เรดดิน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกัลลิโปลีที่ดูแลกองทัพเรือ ที่ขอนางในคนสนิทไปเป็นภรรยา และขอสนับสนุนฮูร์เร็มในการสร้างฐานอำนาจ เฮย์เรดดินยังแนะนำให้ใช้ รูสเทม ที่เคยช่วยเมห์เมตไว้ ก่อนออกไปตรึงกำลังกองทัพเรือเสปนในเมติเตอร์เรเนียน
ฮูร์เร็มขอให้ประกอบพิธีสุนัตให้เมห์เมตก่อนมุสตาฟาเพื่อแสดงความเป็นทายาท แต่อิบราฮิมขอให้สุนัดมุสตาฟา ฮูร์เร็มเลยขอให้เซลิมเข้าพิธีพร้อมกันรวมเป็นสามคน เมื่อโอรสถือว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว สุไลมานก็เริ่มพาไปฟังการปรึกษาราชการ แต่เมื่อสุไลมานเปรียบเทียบความคิดของฮูร์เร็มและกึลบาฮาร์ก็พบว่าฮูร์เร็มฉลาดกว่ามาก และในปี 1531 ฮูร์เร็มที่มีลูกคนที่ห้า ชีฮังกีร์ แตกกับอิบราฮิมอย่างเต็มตัว และตั้งเป้าที่ตำแหน่งจักรพรรดินี
อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ยกทัพไปฮังการี สุไลมานให้อิบราฮิมเป็นผู้บัญชาการสูงสุดในฮังการีและสนับสนุนกริตตี้ที่บูดา แต่ถ้าการรบยืดเยื้อจะทำให้เปอร์เซียฉวยโอกาส ผลการศึกจีงเป็นสนธิสัญญาคอนสแตนติโนเปิล สุไลมานให้รางวัลอิบราฮิมเป็นห้องส่วนตัวในวังหลังตามคำขอของกึลบาฮาร์ สุไลมานโปรดปรานฮาเซกีฮูร์เร็มมากกว่าผู้ใดและรับฟังความเห็นต่างๆ
ระหว่างที่อิบราฮิมเป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือไปเปอร์เซียเหนือผ่านทะเลดำในปี 1533 อิบราฮิมเสนอให้กริตตี้เป็นผู้แทนทางการทูตไปควบคุมฮังการี แต่กริตตี้ต้องการผลงาน ปกครองเข้มงวดและเก็บภาษีมากเกินไปทำให้ประชาชนไม่พอใจ ฮูร์เร็มหาเรื่องให้กึลบาฮาร์ทำร้ายเป็นแผลที่แก้ม ขอไม่ถวายการรับใช้ชั่วคราว และแอบไปกัลลิโปลีและเรียกกริตตี้มาพบเพื่อเตือนให้ลดการกดขี่ แต่กริตตี้ปฏิเสธไม่มาพบ เมื่อเกิดจลาจลในบูดาจนกริตตี้ถูกลักพาตัว ฮูร์เร็มที่พบว่าปิดบังเรื่องไม่ได้อีกจึงกลับอิสตันบูล สุไลมานมองว่ากริตตี้ไม่มีฝีมือและปล่อยให้กริตตี้ถูกประหาร
อิบราฮิมยึดเยเรวานในอาร์เมเนียจากเปอร์เซียและใช้เป็นฐานให้สุไลมานที่ตามมาสมทบในปี 1534 เมื่อพระชนนีสิ้นพระชนม์ ฮูร์เร็มครองอำนาจอันดับหนึ่งในฮาเร็มและจัดการส่งมุสตาฟาไปครองแคว้นมานิสาโดยกึลบาฮาร์ติดตามไปด้วย ส่วนเมห์เมตก็ปลอมราชสาสน์เพื่อดึงไว้ในอิสตันบูลแทนที่จะถูกส่งไปครองอามาสยา
ฮูร์เร็มวางแผนทำลายอิบราฮิมที่ปล่อยให้กึลบาฮาร์วางยาพิษเมห์เมตและเริ่มลงมือเองโดยส่งคนมาฆ่าเมห์เมต ฮาดีเจที่เศร้าโศกกับการตายของกริตตี้ก็ไม่สนใจปกป้องสามี
[31/01/23, 23/05/24]
ที่มา
[1] Shinohara Chie. หัวใจในกรงทอง (Yume no Shizuku, Ougon no Torikago). บงกชพับลิชชิ่ง, เล่ม 1-13,16, 18, 2555-2565 (ต้นฉบับ 2011).
รายการการ์ตูนญี่ปุ่น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น