จริยวีรชน - อุนสุยอัน
เรื่อง จริยวีรชน
เขียนโดย อุนสุยอัน แปลโดย น. นพรัตน์
กวนพิ้งจั่ว เป็นลูกคนเดียวของชายชราปลูกใบยาสูบ บิดามุ่งหวังให้มีอนาคต จึงส่งไปฝึกวิทยายุทธ์ที่สำนักแชเซี้ย หากในสำนักมีแต่การแก่งแย่งชิงดีให้โอกาสศิษย์ที่มีครอบครัวร่ำรวยมีอำนาจ หากกวนพิ้งจั่วก็พยายามฝึกฝน ถึงอาจารย์จะไม่สนับสนุนแต่ก็สร้างสรรค์วิทยายุทธ์ใหม่ๆ กลับถูกอาจารย์ไม่พอใจจนต้องปิดบังซ่อนเร้น กวนพิ้งจั่วพัฒนาวิชามือวิเศษตบยุงโดยฝึกกับแมลงวันในห้องปลดทุกข์จนฝีมือโดดเด่น ได้รับเลือกให้ลงเขาไปท่องยุทธจักรทำภารกิจแสดงผลงานกับศิษย์พี่เพื่อหาโอกาสเป็นจอมยุทธวัยเยาว์ที่ได้การรับรองจากสถาบันวิทยายุทธ์
หากการแก่งแย่งในสำนักย่อมเปรียบไม่ได้กับในยุทธจักร ท่ามกลางการกดขี่สมัยราชวงศ์หยวน (ชาวมองโกล) และการก่อกบฏพรรคบัวขาว ภารกิจสร้างชื่อเสียงที่ดูเหมือนจะช่วยผู้คน กลับมีการทรยศหักหลัง หลอกลวง ซ้อนทับเป็นชั้นๆ จนแทบบอกไม่ได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด ผู้คนล้วนถูกพัดพาไปตามกระแสของโลก บ้างพยายามรักษามโนธรรมไว้ แต่ผู้อื่นจะยอมหรือ บ้างปณิธานสูงส่ง หากแฝงด้วยความทะยานอยาก ใช้วิธีการที่ยากที่จะกล่าวว่าไม่ละอายต่อฟ้าดิน
ในงานแรก กวนพิ้งจั่วต้องการไปช่วยชาวบ้านจากโจรภูเขา ความจริงเหล่าโจรช่วยคุ้มครองชุมชนจากการข่มเหงรังแกของทางการ แต่ถูกกลุ่มภารกิจหักหลัง งานที่สองไปกำจัดหัวหน้าขุมกำลังโจรรุ่นเก่า กลับใช้วิธีการที่บอกกล่าวกับผู้คนไม่ได้ สุดท้ายเมื่อเข้าไปช่วยผู้นำชาวยุทธในมณฑลจัดการเรื่องในครอบครัวที่ไม่ประสงค์จะเปิดเผย คงไม่คิดว่าจะได้พานพบเรื่องรอคอยเช่นใด ...
เรื่องนี้ถือเป็นระดับตำนานด้านโศกนาฎกรรมของนิยายกำลังภายใน เมื่อมีการเฟ้นหาพระเอกผู้ที่โชคร้าย/น่าสงสารที่สุด หากไม่ติดหนึ่งในห้า รับรองว่าติดหนึ่งในสิบเด็ดขาด
อุนสุยอันมีชื่อด้านนิยายกำลังภายในแบบโหด ชอบทำร้ายจิตใจผู้อ่าน ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ผิดหวังจริงๆ ตีแผ่ความโหดเหี้ยมทารุณของมนุษย์อย่างตรงไปตรงมา แสดงถึงความทะเยอทะยานแสวงหาผลประโยชน์ ส่วนใหญ่ตัวละครไม่มีจิตสำนึกดีงาม การบรรยายไม่แก้ต่าง ล้วนแล้วแต่ให้ผู้อ่านตัดสิน
จากคำนำ อุนสุยอันเขียนเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 1981 ขัดเกลาตีพิมพ์ปี 1983 และแก้ไขปรับปรุงปี 1999 เนื่องจากช่วงที่เขียนนั้นผู้แต่งเพิ่งออกจากคุก ถึง วิปโยคโศกตรมไป ดังนั้นโลกใต้ปลายปากกา จึงทอดอาลัยมืดมน หากสามารถเปลี่ยนความคับแค้นเป็นพลัง มี จิตปณิธานดังเหล็กกล้า เดินผ่านหลุมอัคคีมารอบหนึ่ง (สำนวนสุดยอด)
ผู้แต่งต้องการสื่อถึงความแตกแยกของสถาบันการศึกษาปัจจุบัน สร้างบุคลิกพระเอกที่เป็นคนจริง ถึงสามารถสร้างสรรค์ แต่ไร้การยอมรับ ถึงรู้จักดีชั่ว เมื่อประสบเหตุการณ์ที่ผิดต่อมโนธรรมอย่างรุนแรงยังไม่สามารถสะบั้นความสัมพันธ์กับศิษย์ร่วมสำนักให้ขาด จนจบชีวิตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในนิยายกำลังภายใน เคยมีเรื่องไหนที่พระเอกถูกฟันตกเขาตาย! ตามธรรมดาถ้าพระเอกตกเขา เก้าในสิบย่อมพบคัมภีร์ อาจารย์ หรือสาวงาม หรือ 3-in-1 ที่เหลือล้วนแต่รอดปลอดภัยทั้งสิ้น
จากผลงานเรื่องอื่นๆ จขบ.คิดว่า อุนสุยอันเป็นนักเขียนกำลังภายในที่มีการวางโครงเรื่องในที่โดดเด่นที่สุดที่ยังมีผลงานใหม่ออกมาในยี่สิบปีหลังนี้ทีเดียว (แต่ก็ขึ้นชื่อด้านการดองไม่ยอมแต่งให้จบ ขอเตือนไว้ก่อน) แต่การที่สามารถแสดงถึงความคับแค้นได้อย่างถึงแก่นจากประสบการณ์จริงบวกกับความโหดต่อตัวละคร ทำให้อ่านหลายเรื่องแล้วเหนื่อย รู้สึกควรอ่านแต่ไม่อยากอ่านซ้ำ
ที่มา
[1] อุนสุยอัน (น. นพรัตน์ แปล). จริยวีรชน. สยามอินเตอร์บุ๊คส์, 292 หน้า, 2553.
รายการนิยายจีนแปลไทย, ไทม์ไลน์หนังสืออิงประวัติศาสตร์/ย้อนยุค จีน
เขียนโดย อุนสุยอัน แปลโดย น. นพรัตน์
กวนพิ้งจั่ว เป็นลูกคนเดียวของชายชราปลูกใบยาสูบ บิดามุ่งหวังให้มีอนาคต จึงส่งไปฝึกวิทยายุทธ์ที่สำนักแชเซี้ย หากในสำนักมีแต่การแก่งแย่งชิงดีให้โอกาสศิษย์ที่มีครอบครัวร่ำรวยมีอำนาจ หากกวนพิ้งจั่วก็พยายามฝึกฝน ถึงอาจารย์จะไม่สนับสนุนแต่ก็สร้างสรรค์วิทยายุทธ์ใหม่ๆ กลับถูกอาจารย์ไม่พอใจจนต้องปิดบังซ่อนเร้น กวนพิ้งจั่วพัฒนาวิชามือวิเศษตบยุงโดยฝึกกับแมลงวันในห้องปลดทุกข์จนฝีมือโดดเด่น ได้รับเลือกให้ลงเขาไปท่องยุทธจักรทำภารกิจแสดงผลงานกับศิษย์พี่เพื่อหาโอกาสเป็นจอมยุทธวัยเยาว์ที่ได้การรับรองจากสถาบันวิทยายุทธ์
หากการแก่งแย่งในสำนักย่อมเปรียบไม่ได้กับในยุทธจักร ท่ามกลางการกดขี่สมัยราชวงศ์หยวน (ชาวมองโกล) และการก่อกบฏพรรคบัวขาว ภารกิจสร้างชื่อเสียงที่ดูเหมือนจะช่วยผู้คน กลับมีการทรยศหักหลัง หลอกลวง ซ้อนทับเป็นชั้นๆ จนแทบบอกไม่ได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด ผู้คนล้วนถูกพัดพาไปตามกระแสของโลก บ้างพยายามรักษามโนธรรมไว้ แต่ผู้อื่นจะยอมหรือ บ้างปณิธานสูงส่ง หากแฝงด้วยความทะยานอยาก ใช้วิธีการที่ยากที่จะกล่าวว่าไม่ละอายต่อฟ้าดิน
ในงานแรก กวนพิ้งจั่วต้องการไปช่วยชาวบ้านจากโจรภูเขา ความจริงเหล่าโจรช่วยคุ้มครองชุมชนจากการข่มเหงรังแกของทางการ แต่ถูกกลุ่มภารกิจหักหลัง งานที่สองไปกำจัดหัวหน้าขุมกำลังโจรรุ่นเก่า กลับใช้วิธีการที่บอกกล่าวกับผู้คนไม่ได้ สุดท้ายเมื่อเข้าไปช่วยผู้นำชาวยุทธในมณฑลจัดการเรื่องในครอบครัวที่ไม่ประสงค์จะเปิดเผย คงไม่คิดว่าจะได้พานพบเรื่องรอคอยเช่นใด ...
เรื่องนี้ถือเป็นระดับตำนานด้านโศกนาฎกรรมของนิยายกำลังภายใน เมื่อมีการเฟ้นหาพระเอกผู้ที่โชคร้าย/น่าสงสารที่สุด หากไม่ติดหนึ่งในห้า รับรองว่าติดหนึ่งในสิบเด็ดขาด
อุนสุยอันมีชื่อด้านนิยายกำลังภายในแบบโหด ชอบทำร้ายจิตใจผู้อ่าน ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ผิดหวังจริงๆ ตีแผ่ความโหดเหี้ยมทารุณของมนุษย์อย่างตรงไปตรงมา แสดงถึงความทะเยอทะยานแสวงหาผลประโยชน์ ส่วนใหญ่ตัวละครไม่มีจิตสำนึกดีงาม การบรรยายไม่แก้ต่าง ล้วนแล้วแต่ให้ผู้อ่านตัดสิน
จากคำนำ อุนสุยอันเขียนเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 1981 ขัดเกลาตีพิมพ์ปี 1983 และแก้ไขปรับปรุงปี 1999 เนื่องจากช่วงที่เขียนนั้นผู้แต่งเพิ่งออกจากคุก ถึง วิปโยคโศกตรมไป ดังนั้นโลกใต้ปลายปากกา จึงทอดอาลัยมืดมน หากสามารถเปลี่ยนความคับแค้นเป็นพลัง มี จิตปณิธานดังเหล็กกล้า เดินผ่านหลุมอัคคีมารอบหนึ่ง (สำนวนสุดยอด)
ผู้แต่งต้องการสื่อถึงความแตกแยกของสถาบันการศึกษาปัจจุบัน สร้างบุคลิกพระเอกที่เป็นคนจริง ถึงสามารถสร้างสรรค์ แต่ไร้การยอมรับ ถึงรู้จักดีชั่ว เมื่อประสบเหตุการณ์ที่ผิดต่อมโนธรรมอย่างรุนแรงยังไม่สามารถสะบั้นความสัมพันธ์กับศิษย์ร่วมสำนักให้ขาด จนจบชีวิตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในนิยายกำลังภายใน เคยมีเรื่องไหนที่พระเอกถูกฟันตกเขาตาย! ตามธรรมดาถ้าพระเอกตกเขา เก้าในสิบย่อมพบคัมภีร์ อาจารย์ หรือสาวงาม หรือ 3-in-1 ที่เหลือล้วนแต่รอดปลอดภัยทั้งสิ้น
จากผลงานเรื่องอื่นๆ จขบ.คิดว่า อุนสุยอันเป็นนักเขียนกำลังภายในที่มีการวางโครงเรื่องในที่โดดเด่นที่สุดที่ยังมีผลงานใหม่ออกมาในยี่สิบปีหลังนี้ทีเดียว (แต่ก็ขึ้นชื่อด้านการดองไม่ยอมแต่งให้จบ ขอเตือนไว้ก่อน) แต่การที่สามารถแสดงถึงความคับแค้นได้อย่างถึงแก่นจากประสบการณ์จริงบวกกับความโหดต่อตัวละคร ทำให้อ่านหลายเรื่องแล้วเหนื่อย รู้สึกควรอ่านแต่ไม่อยากอ่านซ้ำ
[12/12/10, 01/07/21]
ที่มา
[1] อุนสุยอัน (น. นพรัตน์ แปล). จริยวีรชน. สยามอินเตอร์บุ๊คส์, 292 หน้า, 2553.
รายการนิยายจีนแปลไทย, ไทม์ไลน์หนังสืออิงประวัติศาสตร์/ย้อนยุค จีน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น