Blue Period - Yamaguchi Tsubasa
เรื่อง Blue Period
โดย สึบาสะ ยามากุจิ

ยาโทระ - ริวขิ - โยตะสุเกะ - ฮาชิดะ - มากิ
ยางุจิ ยาโทระ เป็นนักเรียนชั้น ม. 5 ที่ถึงจะแต่งตัวเก ย้อมผม ใส่ตุ้มหู กินเหล้า สูบบุหรี่ แต่ก็มนุษยสัมพันธ์ดี ผลการเรียนเลิศขนาดเข้าวาเซดะได้ ปกติใช้ชีวิตอย่างเรื่อยๆ แต่มีความพยายามเพื่อผลลัพธ์และเข้าใจว่าสำหรับตนเองทุ่มลงไปเท่าไหร่ ก็เก่งขึ้นมาได้แต่นั้น ยาโทระเลือกศิลปะเป็นวิชาเลือกเพื่อให้สามารถได้คะแนนดีอย่างไม่ต้องพยายามมาก แต่วิชานี้ก็มีอาจารย์ป้า ซาเอกิ ที่น่ากลัว (เปิดตัวได้ฮามาก!)
ยาโทระที่มีปัญหาในการค้นพบตัวเองสำหรับการวางแผนอนาคต พบว่าเรื่องที่ซาบซึ้งตื้นตันไม่ใช่เป็นของตนเอง ได้แรงบันดาลใจจากรูปวาดของรุ่นพี่สาวจิ๋ว โมริ จึงนำความประทับใจในตอนเช้าครู่ที่ชิบุยะ วาดรูปออกมาจนสนใจศิลปะอย่างลึกซึ้ง ลงมือวาดมาให้ครูคอมเมนต์ เรื่องที่ชอบเก็บไว้ทำเป็นงานอดิเรกก็ได้เป็นความคิดแบบผู้ใหญ่ แต่ว่าเด็กที่ไม่มีความพยายาม ก็คือเด็กที่หาสิ่งที่ตนชอบไม่เจอ และตั้งเป้าว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยศิลปะในสาขาจิตกรรมสีน้ำมัน
แต่มหาวิทยาลัยศิลปะมีค่าเล่าเรียนแพงรองจากแพทย์ เภสัช และทันตะ เพราะมักเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ที่ครอบครัวของยาโทระพอจ่ายไหวคือมหาวิทยาลัยศิลปะโตเกียวหรือเกย์ได ที่เป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวที่เป็นของรัฐ แต่อัตราแข่งขันเข้าเรียนก็สูงที่สุดของญี่ปุ่นที่ 1:20 (อัตราส่วนของนักเรียน ม.ปลายคือ 1:60 เพราะมีซิ่วเยอะ)
ยาโทระเข้าชมรมศิลปะ เรียนรู้เรื่องเทคนิคต่างๆ ทำงานตามเมนูพิเศษข่วงหยุดฤดูร้อนโดยเฉพาะการแรเงาที่ช่วยพัฒนาฝีมือ ไปโรงเรียนเตรียมสอบกับรุ่นเดียวกัน อายุคาวะ ริวจิ ที่จะเข้าสาขาจิตกรรมญี่ปุ่น (มีอีกชื่อว่า ยูกะ เพราะชอบแต่งหญิงเป็นสาวสวย) ยาโทระได้เริ่มหัดใช้สีน้ำมันและเจอกับนักเรียนรุ่นเดียวกัน เช่น อัจฉริยะ ทาคาฮาชิ โยตะสุเกะ ที่เพิ่งเริ่มหัดวาดเหมือนกัน ฮาชิดะ ฮารุกะ ที่มีความรู้กว้างขวาง และ คุวานะ มากิ ที่ครอบครัวเรียนเกย์ไดกันทั้งบ้าน
ถึงตอนนี้ ครอบครัวของยาโทระก็ยอมรับเรื่องจะเรียนจิตรกรรม (ตอนอธิบายให้แม่ช่างน่าซาบซึ้งมาก) ที่จริงไม่ใช่เพราะมีเหตุผลอยู่แล้วว่าทำไมถึงอยากเข้า แต่เพราะว่าอยากเข้าถึงได้ควานหาเหตุผลอยู่มากกว่า ภาคน่ะเป็นสิ่งที่สามารถสื่อออกไปได้มากกว่าคำพูด ช่วยให้เรารู้ตัวว่าในโลกนี้ยังมีสิ่งหรือความคิดที่น่าสนใจอยู่อีกมากมาย เมื่อ "ดู" ภาพถึงได้ "รู้" เมื่อ "วาด" ภาพจึงได้ "เข้าใจ" และเข้าสู่ช่วงก่อนสอบ ครู โอบะ ที่โรงเรียนกวดวิชาก็ช่วยไกด์แนวทางให้ โดยช่วงหกเดือนสุดท้ายที่มีการแยกห้องย่อยด้วย (บทบาทของโรงเรียนกวดวิชาที่มีการแนะแนวด้วยนี้น่าสนใจมาก)
นอกจากที่โรงเรียนกวดวิชา ครูซาเอกิยังให้ลองวาดสีน้ำมันขนาด F100 เพื่อฝึกการสร้างผลงานเพราะ ศิลปะคือภาษาที่ไรัตัวอักษร ทำให้ยาโทระได้ภาพแรกที่ให้ความรู้สึกดึงดูด และเมื่อเสร็จการสอบส่วนกลาง ก็เป็นการติวสอบเกย์ไดวันละสิบสองชั่วโมงท่ามกลางความกดดันและอารมณ์ตึงเครียด จุดอ่อนของยาโทระคือเรื่องการตามใจตัวเองและความสนุก
การสอบปฏิบัติรอบแรกเป็นการวาดเส้นหัวข้อภาพเหมือนคนเอง ผ่านเข้ารอบสองถ้าได้คะแนนดีจากอาจารย์คนหนึ่ง ซึ่งในกลุ่มหกคนที่โรงเรียนกวดวิชา มากิ ฮาชิดะ และยาโทระ ผ่านเข้ารอบสอง โดยก่อนถึงการสอบในอีกหนึ่งสัปดาห์ก็มีการติวเพิ่ม และยาโทระยังได้ช่วยริวจิที่ค้นพบตัวเองและจะเปลี่ยนไปเรืยนด้านแฟชั่น
รอบสองเป็นการเขียนสีน้ำมัน ผ่านโดยการตัดสินจากภาพสีน้ำมัน สเก็ตช์บุ๊ก และภาพลายเส้นแรเงาในรอบแรก ยาโทระป่วยไข้ขึ้นและมีผื่นอย่างหนัก เจอหัวข้อภาพนู้ดที่ให้เวลาวาดสามวัน วันละห้าชั่วโมง จึงมีการให้คำปรึกษาจากครูโอบะด้วย โดยยาโทระใช้แนวคิดในการวาดรูปกับริวจิออกมาเป็นธีม ร่างเปลือย = ตัวตนที่ไร้การปรุงแต่ง ก่อนเปลี่ยนเป็นสิ่งที่น่าละอาย ไร้กำลังที่จะพึ่งพา สวมใส่เสื้อผ้าเพื่อปกปิดด้วยความรู้สึกผิด สรุปผลคือยาโทระและโยตะสุเกะสอบติด [เล่ม 6]
เกย์ไดมีสองคณะคือคณะดุริยางคศาสตร์และคณะวิจิตรศิลป์ที่แบ่งเป็นภาควิชาการออกแบบ สถาปัตยกรรม ศิลปะสื่อผสม ศิลปหัตถกรรม ประติมากรรม ทฤษฎีศิลป์ และจิตกรรม (เอกจิตกรรมสีน้ำมัน และเอกจิตกรรมญี่ปุ่น) และก็ยังมีเอกอื่นๆ ในระดับปริญญาโทและเอก เกือบทั้งหมดอยู่ที่วิทยาเขตอุเอโนะ หน่วยกิตของหลักสูตรมีความแปลกที่ถ้านับวิชาบังคับ เรียน 22 หน่วยกิตก็จบ และต้องมีงานส่งให้ครบเพื่อเลื่อนชั้น ในเวลาสี่ปี บังคับมามาหวิทยาลัยราว 600 วัน จึงต้องบริหารเวลาให้ดี
ยาโทระเข้าเรียนที่เกย์ไดอย่างไม่มั่นใจและไร้ประสบการณ์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำคัญของคนที่สอบติดตั้งแต่ครั้งแรก เจออาจารย์ ผู้ช่วยวิจัย และนักศึกษาที่น่ากลัว เริ่มด้วยการนำเสนอตัวเองและชิ้นงานที่เคยทำ งานชิ้นแรกคือภาพเหมือนตัวเอง โดยให้ระลึกว่ารูปสอบเข้าไม่ถือเป็นผลงานศิลปะ ทำให้ยาโทระล้มเหลวไม่เป็นท่าจนได้มากิ (ที่สอบไม่ติด) ช่วยปลอบใจ งานที่สองคือทิวทัศน์ของโตเกียวในสองและสามมิติที่เริ่มด้วยการไปพิพิธภัณฑ์เอโดะโตเกียว งานนี้ยาโทระมีการพัฒนาจากการรู้ข้อจำกัดและเลือกใช้ของช่วย (จขบ. รู้สึกว่าถ้ามีอธิบายว่าระหว่างเทอมเรียนอะไรด้วยก็ดีนะ เน้นการสร้างผลงานจนไม่รู้ว่ามีการพัฒนาท้กษะอะไรบ้าง ยกเว้นเรียนประวัติศาสตร์ศิลป์และพละ)
ก่อนปิดภาคมีทริปเสกตซ์ภาพ ชมโรงงานผลิตผ้าแคนวาส และทำแกงกะหรี่ -_-" ช่วงปิดเทอมหน้าร้อนมีงานมหาวิทยาลัย มีงานออกร้านและประกวดเกี้ยวระหว่างคณะ ยาโทระอยู่หน่วยทำเกี้ยวที่มีปัญหาตั้งแต่คนโดด หัวหน้าโหมจบป่วย พายุเข้า จนทีมอื่นมาช่วยจนทัน ในช่วงปิดเทอมยาโทระแทบไม่ได้วาดรูป ไปตกปลา เที่ยวกับเพื่อน ไปพิพิธภัณฑ์
เปิดเทอมใหม่มีเรียนวาดภาพเฟรสโกและโมเสก ระหว่างนี้โยตะสุเกะมีปมเรื่องสงสัยในความสามารถของตนเองที่ยาโทระช่วยดึงออกมาจากมุม แล้วก็มีงานแสดงหัวข้ออิสระสำหรับการเลื่อนชั้นปี โดยมีอาจารย์และศิลปินภายนอกเป็นผู้ตัดสิน ทำให้ทั้งยาโทระและโยตะสุเกะต้องพิจารณาตนเองอย่างหนัก [เล่ม 10]
ยาโทระที่สงสัยความชอบและขาดความมั่นใจในตนเองไปทำงานพิเศษที่โรงเรียนสอนศิลปะของครูซาเอกิ เมื่อถูกเด็กปรามาสก็ไปถามฮาชิดะจนฮาชิดะมาเป็นครูพิเศษด้วยอีกคน การได้สอนเด็กประถมทำให้ยาโทระเติบโตขึ้น เริ่มหาสิ่งที่จะทุ่มเทสนใจ ฮาชิดะเองก็เปลี่ยนแปลงด้วย (ครูซาเอกิคือเท่มาก ^_^)
ยาโทระขึ้นปีสอง ศาสตราจารย์ อินุไก เบอร์หนึ่งของสาขาและรองอธิการบดี ให้งานแรกเป็นดรออิ้งห้าร้อยรูปในสองสัปดาห์ (ดรออิ้งคืออะไรนี่ก็เปิดโลกดีสำหรับ จขบ. ที่ชินแต่เขียนแบบ) ตามด้วยงานหัวข้อความรู้สึกผิดในสองเดือน ระหว่างที่คิดคอนเซ็ปต์ ยาโทระเริ่มรู้จักนักศึกษาคนอื่นในมหาวิทยาลัยและถูกดึงไปเข้ากลุ่มอาร์ตคอลเลกทีฟ (เคลื่อนไหวทางศิลปะ) ชื่อโนมาร์กส์แนวอนาคิสต์ ที่นำโดย ฟูจิ คิิริโอะ ที่ทำให้นักศึกษาคนอื่นคิดลาออกจากมหาวิทยาลัย ยาโทระใช้ความรู้สึกในการเข้าร่วมโนมาร์กส์ในการทำชิ้นงานความรู้สึกผิด (สร้างสรรค์ฝุดๆ) จนได้รับคำชมจากอินุไก
ตามด้วยตอนสั้นคั่นเวลา เรื่องงานเลี้ยงรับนักศึกษาปีหนึ่ง ชีวิตของผู้ช่วยสอน ช่วงปิดฤดูร้อนหลังเทอมแรกของปีสอง ทำชิ้นงานส่งประกวด โดยตั้งฐานที่วัดบ้านของเพื่อนร่วมรุ่นที่ฮิโรชิมะ ฮากันตั้งแต่เดินทางและการทดสอบความกล้าตอนกลางคืน ยาโทระเริ่มทำความเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายในการส่งงานประกวด การเดบิว และการขายงานศิลปะ
ยาคุโมะเล่าเรื่องตนเองให้ยาโทระฟัง ทั้งพื้นฐานครอบครัวที่มีแม่เลี้ยงเดี่ยว ฐานะยากจนมาก แรงบันดาลใจให้เรียนศิลปะ สอบเข้าไม่ได้ ทำงานพิเศษ เข้าโรงเรียนติวภาคกลางคืน พบสาวน้อยอัจฉริยะ ซานาดะ มาจิโกะ ที่เป็นความหวังของโรงเรียน เปิดการแสดงภาพและขายได้แล้วด้วย เมื่อยาคุโมะสอบไม่ติดอีก ลาออกจากโรงเรียนติว หางานรายวันและวาดรูปไปด้วย จนได้ไปฮิโรชิมะ อาศัยที่วัดบ้านเพืื่อสอนเพื่อนของมาจิโกะ แต่เธอก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต
เรื่องนี้ จขบ. ชอบมากเลยค่ะ ยิ่งอ่านยิ่งชอบ เนื้อหาสร้างสรรค์และน่าสนใจ ลายเส้นสวย และมีรูปแบบเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง มีความติ๊ส แปลกใหม่ และ รู้สึกว่าตัวละครน่าสนใจที่สุดคงเป็นครูศิลปะที่ทั้งเปิดกว้างและมีมุมมองที่แปลกใหม่ (ขนาด จขบ. ที่เป็นแต่เขียนแบบวิศวกรรม ก็ยังจำได้ถึงตอนเรียนที่เคยเจออาจารย์ด้านออกแบบอุตสาหกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจแบบนี้) เรื่องศิลปะก็มีทฤษฎีอยู่มาก แต่ไม่ยัดเยียด อ้อ ที่ปกในมีการ์ตูนแก๊กสี่ช่องด้วย ฮาใช้ได้เลย ทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องการค้นพบตัวเองที่มีเนื้อหาดีมาก ให้เป็นการ์ตูนที่อ่านใหม่ที่ชอบมากที่สุดของปี 2021 ค่ะ
ที่มา
[1] Yamaguchi Tsubasa . Blue Period. สำนักพิมพ์รักพิมพ์, เล่ม 1-14, 2564-2568 (ต้นฉบับ 2017-2023).
รายการการ์ตูนญี่ปุ่น
โดย สึบาสะ ยามากุจิ
ยาโทระ - ริวขิ - โยตะสุเกะ - ฮาชิดะ - มากิ
ยางุจิ ยาโทระ เป็นนักเรียนชั้น ม. 5 ที่ถึงจะแต่งตัวเก ย้อมผม ใส่ตุ้มหู กินเหล้า สูบบุหรี่ แต่ก็มนุษยสัมพันธ์ดี ผลการเรียนเลิศขนาดเข้าวาเซดะได้ ปกติใช้ชีวิตอย่างเรื่อยๆ แต่มีความพยายามเพื่อผลลัพธ์และเข้าใจว่าสำหรับตนเองทุ่มลงไปเท่าไหร่ ก็เก่งขึ้นมาได้แต่นั้น ยาโทระเลือกศิลปะเป็นวิชาเลือกเพื่อให้สามารถได้คะแนนดีอย่างไม่ต้องพยายามมาก แต่วิชานี้ก็มีอาจารย์ป้า ซาเอกิ ที่น่ากลัว (เปิดตัวได้ฮามาก!)
ยาโทระที่มีปัญหาในการค้นพบตัวเองสำหรับการวางแผนอนาคต พบว่าเรื่องที่ซาบซึ้งตื้นตันไม่ใช่เป็นของตนเอง ได้แรงบันดาลใจจากรูปวาดของรุ่นพี่สาวจิ๋ว โมริ จึงนำความประทับใจในตอนเช้าครู่ที่ชิบุยะ วาดรูปออกมาจนสนใจศิลปะอย่างลึกซึ้ง ลงมือวาดมาให้ครูคอมเมนต์ เรื่องที่ชอบเก็บไว้ทำเป็นงานอดิเรกก็ได้เป็นความคิดแบบผู้ใหญ่ แต่ว่าเด็กที่ไม่มีความพยายาม ก็คือเด็กที่หาสิ่งที่ตนชอบไม่เจอ และตั้งเป้าว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยศิลปะในสาขาจิตกรรมสีน้ำมัน
แต่มหาวิทยาลัยศิลปะมีค่าเล่าเรียนแพงรองจากแพทย์ เภสัช และทันตะ เพราะมักเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ที่ครอบครัวของยาโทระพอจ่ายไหวคือมหาวิทยาลัยศิลปะโตเกียวหรือเกย์ได ที่เป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวที่เป็นของรัฐ แต่อัตราแข่งขันเข้าเรียนก็สูงที่สุดของญี่ปุ่นที่ 1:20 (อัตราส่วนของนักเรียน ม.ปลายคือ 1:60 เพราะมีซิ่วเยอะ)
ยาโทระเข้าชมรมศิลปะ เรียนรู้เรื่องเทคนิคต่างๆ ทำงานตามเมนูพิเศษข่วงหยุดฤดูร้อนโดยเฉพาะการแรเงาที่ช่วยพัฒนาฝีมือ ไปโรงเรียนเตรียมสอบกับรุ่นเดียวกัน อายุคาวะ ริวจิ ที่จะเข้าสาขาจิตกรรมญี่ปุ่น (มีอีกชื่อว่า ยูกะ เพราะชอบแต่งหญิงเป็นสาวสวย) ยาโทระได้เริ่มหัดใช้สีน้ำมันและเจอกับนักเรียนรุ่นเดียวกัน เช่น อัจฉริยะ ทาคาฮาชิ โยตะสุเกะ ที่เพิ่งเริ่มหัดวาดเหมือนกัน ฮาชิดะ ฮารุกะ ที่มีความรู้กว้างขวาง และ คุวานะ มากิ ที่ครอบครัวเรียนเกย์ไดกันทั้งบ้าน
ถึงตอนนี้ ครอบครัวของยาโทระก็ยอมรับเรื่องจะเรียนจิตรกรรม (ตอนอธิบายให้แม่ช่างน่าซาบซึ้งมาก) ที่จริงไม่ใช่เพราะมีเหตุผลอยู่แล้วว่าทำไมถึงอยากเข้า แต่เพราะว่าอยากเข้าถึงได้ควานหาเหตุผลอยู่มากกว่า ภาคน่ะเป็นสิ่งที่สามารถสื่อออกไปได้มากกว่าคำพูด ช่วยให้เรารู้ตัวว่าในโลกนี้ยังมีสิ่งหรือความคิดที่น่าสนใจอยู่อีกมากมาย เมื่อ "ดู" ภาพถึงได้ "รู้" เมื่อ "วาด" ภาพจึงได้ "เข้าใจ" และเข้าสู่ช่วงก่อนสอบ ครู โอบะ ที่โรงเรียนกวดวิชาก็ช่วยไกด์แนวทางให้ โดยช่วงหกเดือนสุดท้ายที่มีการแยกห้องย่อยด้วย (บทบาทของโรงเรียนกวดวิชาที่มีการแนะแนวด้วยนี้น่าสนใจมาก)
นอกจากที่โรงเรียนกวดวิชา ครูซาเอกิยังให้ลองวาดสีน้ำมันขนาด F100 เพื่อฝึกการสร้างผลงานเพราะ ศิลปะคือภาษาที่ไรัตัวอักษร ทำให้ยาโทระได้ภาพแรกที่ให้ความรู้สึกดึงดูด และเมื่อเสร็จการสอบส่วนกลาง ก็เป็นการติวสอบเกย์ไดวันละสิบสองชั่วโมงท่ามกลางความกดดันและอารมณ์ตึงเครียด จุดอ่อนของยาโทระคือเรื่องการตามใจตัวเองและความสนุก
การสอบปฏิบัติรอบแรกเป็นการวาดเส้นหัวข้อภาพเหมือนคนเอง ผ่านเข้ารอบสองถ้าได้คะแนนดีจากอาจารย์คนหนึ่ง ซึ่งในกลุ่มหกคนที่โรงเรียนกวดวิชา มากิ ฮาชิดะ และยาโทระ ผ่านเข้ารอบสอง โดยก่อนถึงการสอบในอีกหนึ่งสัปดาห์ก็มีการติวเพิ่ม และยาโทระยังได้ช่วยริวจิที่ค้นพบตัวเองและจะเปลี่ยนไปเรืยนด้านแฟชั่น
[04/03/21, 21/03/21, 21/06/21, 18/10/21, 27/11/21]
รอบสองเป็นการเขียนสีน้ำมัน ผ่านโดยการตัดสินจากภาพสีน้ำมัน สเก็ตช์บุ๊ก และภาพลายเส้นแรเงาในรอบแรก ยาโทระป่วยไข้ขึ้นและมีผื่นอย่างหนัก เจอหัวข้อภาพนู้ดที่ให้เวลาวาดสามวัน วันละห้าชั่วโมง จึงมีการให้คำปรึกษาจากครูโอบะด้วย โดยยาโทระใช้แนวคิดในการวาดรูปกับริวจิออกมาเป็นธีม ร่างเปลือย = ตัวตนที่ไร้การปรุงแต่ง ก่อนเปลี่ยนเป็นสิ่งที่น่าละอาย ไร้กำลังที่จะพึ่งพา สวมใส่เสื้อผ้าเพื่อปกปิดด้วยความรู้สึกผิด สรุปผลคือยาโทระและโยตะสุเกะสอบติด [เล่ม 6]
เกย์ไดมีสองคณะคือคณะดุริยางคศาสตร์และคณะวิจิตรศิลป์ที่แบ่งเป็นภาควิชาการออกแบบ สถาปัตยกรรม ศิลปะสื่อผสม ศิลปหัตถกรรม ประติมากรรม ทฤษฎีศิลป์ และจิตกรรม (เอกจิตกรรมสีน้ำมัน และเอกจิตกรรมญี่ปุ่น) และก็ยังมีเอกอื่นๆ ในระดับปริญญาโทและเอก เกือบทั้งหมดอยู่ที่วิทยาเขตอุเอโนะ หน่วยกิตของหลักสูตรมีความแปลกที่ถ้านับวิชาบังคับ เรียน 22 หน่วยกิตก็จบ และต้องมีงานส่งให้ครบเพื่อเลื่อนชั้น ในเวลาสี่ปี บังคับมามาหวิทยาลัยราว 600 วัน จึงต้องบริหารเวลาให้ดี
ยาโทระเข้าเรียนที่เกย์ไดอย่างไม่มั่นใจและไร้ประสบการณ์ ซึ่งเป็นจุดอ่อนสำคัญของคนที่สอบติดตั้งแต่ครั้งแรก เจออาจารย์ ผู้ช่วยวิจัย และนักศึกษาที่น่ากลัว เริ่มด้วยการนำเสนอตัวเองและชิ้นงานที่เคยทำ งานชิ้นแรกคือภาพเหมือนตัวเอง โดยให้ระลึกว่ารูปสอบเข้าไม่ถือเป็นผลงานศิลปะ ทำให้ยาโทระล้มเหลวไม่เป็นท่าจนได้มากิ (ที่สอบไม่ติด) ช่วยปลอบใจ งานที่สองคือทิวทัศน์ของโตเกียวในสองและสามมิติที่เริ่มด้วยการไปพิพิธภัณฑ์เอโดะโตเกียว งานนี้ยาโทระมีการพัฒนาจากการรู้ข้อจำกัดและเลือกใช้ของช่วย (จขบ. รู้สึกว่าถ้ามีอธิบายว่าระหว่างเทอมเรียนอะไรด้วยก็ดีนะ เน้นการสร้างผลงานจนไม่รู้ว่ามีการพัฒนาท้กษะอะไรบ้าง ยกเว้นเรียนประวัติศาสตร์ศิลป์และพละ)
ก่อนปิดภาคมีทริปเสกตซ์ภาพ ชมโรงงานผลิตผ้าแคนวาส และทำแกงกะหรี่ -_-" ช่วงปิดเทอมหน้าร้อนมีงานมหาวิทยาลัย มีงานออกร้านและประกวดเกี้ยวระหว่างคณะ ยาโทระอยู่หน่วยทำเกี้ยวที่มีปัญหาตั้งแต่คนโดด หัวหน้าโหมจบป่วย พายุเข้า จนทีมอื่นมาช่วยจนทัน ในช่วงปิดเทอมยาโทระแทบไม่ได้วาดรูป ไปตกปลา เที่ยวกับเพื่อน ไปพิพิธภัณฑ์
เปิดเทอมใหม่มีเรียนวาดภาพเฟรสโกและโมเสก ระหว่างนี้โยตะสุเกะมีปมเรื่องสงสัยในความสามารถของตนเองที่ยาโทระช่วยดึงออกมาจากมุม แล้วก็มีงานแสดงหัวข้ออิสระสำหรับการเลื่อนชั้นปี โดยมีอาจารย์และศิลปินภายนอกเป็นผู้ตัดสิน ทำให้ทั้งยาโทระและโยตะสุเกะต้องพิจารณาตนเองอย่างหนัก [เล่ม 10]
[18/03/22, 06/02/23]
ยาโทระที่สงสัยความชอบและขาดความมั่นใจในตนเองไปทำงานพิเศษที่โรงเรียนสอนศิลปะของครูซาเอกิ เมื่อถูกเด็กปรามาสก็ไปถามฮาชิดะจนฮาชิดะมาเป็นครูพิเศษด้วยอีกคน การได้สอนเด็กประถมทำให้ยาโทระเติบโตขึ้น เริ่มหาสิ่งที่จะทุ่มเทสนใจ ฮาชิดะเองก็เปลี่ยนแปลงด้วย (ครูซาเอกิคือเท่มาก ^_^)
ยาโทระขึ้นปีสอง ศาสตราจารย์ อินุไก เบอร์หนึ่งของสาขาและรองอธิการบดี ให้งานแรกเป็นดรออิ้งห้าร้อยรูปในสองสัปดาห์ (ดรออิ้งคืออะไรนี่ก็เปิดโลกดีสำหรับ จขบ. ที่ชินแต่เขียนแบบ) ตามด้วยงานหัวข้อความรู้สึกผิดในสองเดือน ระหว่างที่คิดคอนเซ็ปต์ ยาโทระเริ่มรู้จักนักศึกษาคนอื่นในมหาวิทยาลัยและถูกดึงไปเข้ากลุ่มอาร์ตคอลเลกทีฟ (เคลื่อนไหวทางศิลปะ) ชื่อโนมาร์กส์แนวอนาคิสต์ ที่นำโดย ฟูจิ คิิริโอะ ที่ทำให้นักศึกษาคนอื่นคิดลาออกจากมหาวิทยาลัย ยาโทระใช้ความรู้สึกในการเข้าร่วมโนมาร์กส์ในการทำชิ้นงานความรู้สึกผิด (สร้างสรรค์ฝุดๆ) จนได้รับคำชมจากอินุไก
ตามด้วยตอนสั้นคั่นเวลา เรื่องงานเลี้ยงรับนักศึกษาปีหนึ่ง ชีวิตของผู้ช่วยสอน ช่วงปิดฤดูร้อนหลังเทอมแรกของปีสอง ทำชิ้นงานส่งประกวด โดยตั้งฐานที่วัดบ้านของเพื่อนร่วมรุ่นที่ฮิโรชิมะ ฮากันตั้งแต่เดินทางและการทดสอบความกล้าตอนกลางคืน ยาโทระเริ่มทำความเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายในการส่งงานประกวด การเดบิว และการขายงานศิลปะ
ยาคุโมะเล่าเรื่องตนเองให้ยาโทระฟัง ทั้งพื้นฐานครอบครัวที่มีแม่เลี้ยงเดี่ยว ฐานะยากจนมาก แรงบันดาลใจให้เรียนศิลปะ สอบเข้าไม่ได้ ทำงานพิเศษ เข้าโรงเรียนติวภาคกลางคืน พบสาวน้อยอัจฉริยะ ซานาดะ มาจิโกะ ที่เป็นความหวังของโรงเรียน เปิดการแสดงภาพและขายได้แล้วด้วย เมื่อยาคุโมะสอบไม่ติดอีก ลาออกจากโรงเรียนติว หางานรายวันและวาดรูปไปด้วย จนได้ไปฮิโรชิมะ อาศัยที่วัดบ้านเพืื่อสอนเพื่อนของมาจิโกะ แต่เธอก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต
[15/07/24, 19/02/25]
เรื่องนี้ จขบ. ชอบมากเลยค่ะ ยิ่งอ่านยิ่งชอบ เนื้อหาสร้างสรรค์และน่าสนใจ ลายเส้นสวย และมีรูปแบบเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง มีความติ๊ส แปลกใหม่ และ รู้สึกว่าตัวละครน่าสนใจที่สุดคงเป็นครูศิลปะที่ทั้งเปิดกว้างและมีมุมมองที่แปลกใหม่ (ขนาด จขบ. ที่เป็นแต่เขียนแบบวิศวกรรม ก็ยังจำได้ถึงตอนเรียนที่เคยเจออาจารย์ด้านออกแบบอุตสาหกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจแบบนี้) เรื่องศิลปะก็มีทฤษฎีอยู่มาก แต่ไม่ยัดเยียด อ้อ ที่ปกในมีการ์ตูนแก๊กสี่ช่องด้วย ฮาใช้ได้เลย ทำให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องการค้นพบตัวเองที่มีเนื้อหาดีมาก ให้เป็นการ์ตูนที่อ่านใหม่ที่ชอบมากที่สุดของปี 2021 ค่ะ
ที่มา
[1] Yamaguchi Tsubasa . Blue Period. สำนักพิมพ์รักพิมพ์, เล่ม 1-14, 2564-2568 (ต้นฉบับ 2017-2023).
รายการการ์ตูนญี่ปุ่น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น