อิคิงามิ สาส์นสั่งตาย - Mase Motoro
เรื่อง อิคิงามิ สาส์นสั่งตาย
โดย Mase Motorô
อิคิงามิ สาส์นสั่งตาย
เรื่องนี้สร้างประเทศในลักษณะสังคมญี่ปุ่น (โดยมีญี่ปุ่นเป็น 'ประเทศมิตร') ในอดีตแพ้สงครามที่สู้กับ 'ประเทศพันธมิตร' ทำให้ไม่มีกองกำลังทหาร และได้ตั้งกฏผดุงความรุ่งเรืองของชาติเพื่อตอกย้ำให้พลเมืองรู้ถึงคุณค่าแห่งชีวิตจากความเจ็บปวดที่ทำให้พลเมืองย้อนมาทบทวนวิถีชีวิตของตนเอง เพื่อเพิ่มอัตราการผลิตและค้ำจุนความรุ่งเรืองของประเทศ โดยการกำหนดให้คนหนุ่มสาว 0.1% ต้องตายในช่วงอายุ 18-24 ปี โดยการฉีดวัคซีนที่บางหลอดมีนาโนแคปซูลยาพิษให้เด็กทุกคนที่เพิ่งเข้าโรงเรียนประถมโดยไม่ทราบว่าเด็กคนไหนถูกกำหนดให้ตายบ้าง
24 ชั่วโมงก่อนเสียชีวิต จะมีเจ้าหน้าที่ไปแจ้งให้ทราบพร้อมมอบบัตรอิคิงามิที่ให้สิทธิประโยชน์สำหรับวันสุดท้ายของชีวิต โดยหลังการเสียชีวิตครอบครัวจะได้รับการดูแลและสวัสดิการบำนาญอย่างดี แต่ถ้าผู้รับอิคิงามิหรือประชาชนใดมีความเห็นขัดแย้ง พยายามต่อต้าน หรือไม่แจ้งความจับเมื่อรู้เรื่อง จะถูกประณามว่าเป็นพวกด้อยพัฒนาและอาชญากร ตัวเองและครอบครัวจะถูกลงโทษอย่างรุนแรงจากตำรวจผดุงความรุ่งเรืองของชาติ กระทรวงสวัสดิการและสาธารณสุข
ตัวละครเดินเรื่องคือ ฟูจิโมโตะ เค็งโง เจ้าหน้าที่ส่งสาส์นอิคิงามิของสำนักงานเขตมุซาชิงาวะที่ต้องรับรู้เรื่องราวของบุคคลที่กำลังจะตายและครอบครัวในเขตทั้งหมด ถึงได้คำปรึกษาจากหัวหน้า อิชิอิ เซอิจิโร่ ก็ยังทำให้เกิดความสงสัยในระบบอย่างสูง โดยเฉพาะเมื่อได้พบกับผู้ต้องสงสัยว่าเป็นอาชญากรทางความคิดอย่าง คุโบะ นานาโกะ
ดังนั้น จึงไม่อยากมีความตั้งใจและความคิดของตนเอง ปรารถนาที่ให้บางอย่างมากำหนดความสุขและความโชคร้ายแทนตนเอง แม้จะรู้ว่าเป็นเรื่องผิด ก็ยังดันทุรังต่อไปไม่ยอมแก้ไข ... ทำไมถึงไม่ยอมตัดสินใจเอง ทำไมถึงไม่พยายามมีความสุขด้วยความรับผิดชอบของตัวเอง ... ชีวิตที่ไม่มีความรับผิดชอบกับการคงอยู่ของตัวเอง มันมีคุณค่าในการมีชีวิตตรงไหนกัน
จุดเด่นของเรื่องนี้คือโจทย์ถ้ารู้ว่าตายภายในหนึ่งวัน ตนเองและผู้อื่นรอบข้างจะรู้สึกอย่างไร จะทำอะไร ซึ่งถ้ามองว่าเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่ก็จะต้องประสบด้วยตนเองอย่างแน่นอน ความรู้สึกเชื่อมโยงและสะเทือนใจให้คิดและสะท้อนตนเองก็เป็นเรื่องที่ไม่ต้องพูดถึง นอกจากนี้ที่เด่นแทบพอกันคือปัญหา การเสียดสี และการวิจารณ์ทางสังคม โดยเฉพาะการควบคุม รับผิดชอบ และกดขี่โดยใช้กำลังและแรงกดดันทางสังคมที่ชัดเจนและน่าสนใจมาก
สำหรับเรื่องของการสร้างระบบที่มีการบูชายัญด้วยชีวิตคนในบริบทสังคมสมัยใหม่ ตั้งแต่เล่มหนึ่งถึงเล่มเก้า จขบ. พยายามหามุมอื่นเทียบกับโครงสร้างสังคม มองซ้ายขวาหน้าหลังแล้วก็ไม่เห็นทางเลยว่าจะมีแนวทางมาได้อย่างไร แต่เมื่อเจอตอนสุดท้าย 'ประเทศแห่งมายา' ทำเอาเอ๋อไปเลย (ถึงจะรู้สึกว่าแปลกอยู่ แต่ไม่เคยคิดเลยว่าจะมาแนวนี้) อยากหาคำคมที่เหมาะกับสถานการณ์ แต่นึกไม่ออก ที่ใกล้เคียงที่คิดได้ (แต่ก็ยังไม่ตรงใจเท่าไหร่) คงเป็นจาก 'หงสาจอมราชันย์' ที่ว่า คุณธรรมและความภักดีมันก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่ง เป็นเครื่องมือของคนที่มีความรู้สำหรับส่งคนโง่ให้ไปตาย เป็นกุศโลบายอันต่ำช้าของผู้เป็นนายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน
อิคิงามิ ภาคการกลับมาของสาส์นสั่งตาย
ยาสุโอกะ คุนิฮิสะ เป็นผู้ส่งอิคิงามิของเขตนิชิโมริยามะ แต่สมัยหนุ่มมีประวัติต่อต้านกฏหมายผดุงความรุ่งเรืองฯ ทำให้แฟน มิทสึอิชิ ยูมิโกะ ที่กำลังท้องขอเลิก ถูกจับและเข้าโปรแกรมปรับทัศนคติจนกลายเป็นผู้รักชาติสมบูรณ์แบบ
ยูมิโกะคลอดลูกชาย คาสุโตะ บอกลูกว่าพ่อตายไปแล้ว เมื่อแต่งงานได้พ่อเลี้ยง ทาโดโคโระ ที่ใช้ความรุนแรงจึงขอหย่าและเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวอย่างยากลำบากจนคาสุโตะได้อิคิงามิจากมือของยาสุโอกะ ตอนนั้นคาสุโตะได้กำลังใจในการใช้ชีวิตจากไอดอลใต้ดินที่มีข่าวลือว่าท้อง และต้องการมอบความมั่นคงให้ก่อนตาย ... ยูมิโกะตั้งใจเข้าร่วมองค์กรต่อต้าน ส่วนยาสุโอกะก็เริ่มมีอาการมือสั่น
ฮาตะ ซาโตมิ ถูกเพื่อนโดยเฉพาะ คุริฮาระ คาโนะ บุลลี่ว่าเป็นนางลิงแว่นทั้งวาจาและการกระทำ จนทำให้เกิดอาการตื่นตระหนกเฉียบพลันเรื้อรัง ต้องเลิกเรียนมัธยมปลายและทำงานเป็นพยาบาล เมื่อคาโนะประสลบอุบัติเหตุตกบันไดอัมพาตซีกขวาและพูดไม่ได้ โอกาสหายเป็นปกติน้อยมาก ซาโตมิก็ยังพยายามทำหน้าที่ให้ดีจนได้รับอิคิงามิ จึงเผชิญหน้ากัยคาโนะที่คิดจะฆ่าตัวตาย
ที่มา
[1] Mase Motorô. อิคิงามิ สาส์นสั่งตาย (Ikigami). ที เค โอ คอมิกส์. 10 เล่มจบ, 2551-2555 (ต้นฉบับ 2005-2012).
[2] Mase Motoro. อิคิงามิ ภาคการกลับมาของสาส์นสั่งตาย (Ikigami Sairin). DEXpress Publishing, เล่ม 1, 2551-2555 (ต้นฉบับ 2022).
รายการการ์ตูนญี่ปุ่น
โดย Mase Motorô
เรื่องนี้สร้างประเทศในลักษณะสังคมญี่ปุ่น (โดยมีญี่ปุ่นเป็น 'ประเทศมิตร') ในอดีตแพ้สงครามที่สู้กับ 'ประเทศพันธมิตร' ทำให้ไม่มีกองกำลังทหาร และได้ตั้งกฏผดุงความรุ่งเรืองของชาติเพื่อตอกย้ำให้พลเมืองรู้ถึงคุณค่าแห่งชีวิตจากความเจ็บปวดที่ทำให้พลเมืองย้อนมาทบทวนวิถีชีวิตของตนเอง เพื่อเพิ่มอัตราการผลิตและค้ำจุนความรุ่งเรืองของประเทศ โดยการกำหนดให้คนหนุ่มสาว 0.1% ต้องตายในช่วงอายุ 18-24 ปี โดยการฉีดวัคซีนที่บางหลอดมีนาโนแคปซูลยาพิษให้เด็กทุกคนที่เพิ่งเข้าโรงเรียนประถมโดยไม่ทราบว่าเด็กคนไหนถูกกำหนดให้ตายบ้าง
24 ชั่วโมงก่อนเสียชีวิต จะมีเจ้าหน้าที่ไปแจ้งให้ทราบพร้อมมอบบัตรอิคิงามิที่ให้สิทธิประโยชน์สำหรับวันสุดท้ายของชีวิต โดยหลังการเสียชีวิตครอบครัวจะได้รับการดูแลและสวัสดิการบำนาญอย่างดี แต่ถ้าผู้รับอิคิงามิหรือประชาชนใดมีความเห็นขัดแย้ง พยายามต่อต้าน หรือไม่แจ้งความจับเมื่อรู้เรื่อง จะถูกประณามว่าเป็นพวกด้อยพัฒนาและอาชญากร ตัวเองและครอบครัวจะถูกลงโทษอย่างรุนแรงจากตำรวจผดุงความรุ่งเรืองของชาติ กระทรวงสวัสดิการและสาธารณสุข
ตัวละครเดินเรื่องคือ ฟูจิโมโตะ เค็งโง เจ้าหน้าที่ส่งสาส์นอิคิงามิของสำนักงานเขตมุซาชิงาวะที่ต้องรับรู้เรื่องราวของบุคคลที่กำลังจะตายและครอบครัวในเขตทั้งหมด ถึงได้คำปรึกษาจากหัวหน้า อิชิอิ เซอิจิโร่ ก็ยังทำให้เกิดความสงสัยในระบบอย่างสูง โดยเฉพาะเมื่อได้พบกับผู้ต้องสงสัยว่าเป็นอาชญากรทางความคิดอย่าง คุโบะ นานาโกะ
ดังนั้น จึงไม่อยากมีความตั้งใจและความคิดของตนเอง ปรารถนาที่ให้บางอย่างมากำหนดความสุขและความโชคร้ายแทนตนเอง แม้จะรู้ว่าเป็นเรื่องผิด ก็ยังดันทุรังต่อไปไม่ยอมแก้ไข ... ทำไมถึงไม่ยอมตัดสินใจเอง ทำไมถึงไม่พยายามมีความสุขด้วยความรับผิดชอบของตัวเอง ... ชีวิตที่ไม่มีความรับผิดชอบกับการคงอยู่ของตัวเอง มันมีคุณค่าในการมีชีวิตตรงไหนกัน
จุดเด่นของเรื่องนี้คือโจทย์ถ้ารู้ว่าตายภายในหนึ่งวัน ตนเองและผู้อื่นรอบข้างจะรู้สึกอย่างไร จะทำอะไร ซึ่งถ้ามองว่าเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่ก็จะต้องประสบด้วยตนเองอย่างแน่นอน ความรู้สึกเชื่อมโยงและสะเทือนใจให้คิดและสะท้อนตนเองก็เป็นเรื่องที่ไม่ต้องพูดถึง นอกจากนี้ที่เด่นแทบพอกันคือปัญหา การเสียดสี และการวิจารณ์ทางสังคม โดยเฉพาะการควบคุม รับผิดชอบ และกดขี่โดยใช้กำลังและแรงกดดันทางสังคมที่ชัดเจนและน่าสนใจมาก
สำหรับเรื่องของการสร้างระบบที่มีการบูชายัญด้วยชีวิตคนในบริบทสังคมสมัยใหม่ ตั้งแต่เล่มหนึ่งถึงเล่มเก้า จขบ. พยายามหามุมอื่นเทียบกับโครงสร้างสังคม มองซ้ายขวาหน้าหลังแล้วก็ไม่เห็นทางเลยว่าจะมีแนวทางมาได้อย่างไร แต่เมื่อเจอตอนสุดท้าย 'ประเทศแห่งมายา' ทำเอาเอ๋อไปเลย (ถึงจะรู้สึกว่าแปลกอยู่ แต่ไม่เคยคิดเลยว่าจะมาแนวนี้) อยากหาคำคมที่เหมาะกับสถานการณ์ แต่นึกไม่ออก ที่ใกล้เคียงที่คิดได้ (แต่ก็ยังไม่ตรงใจเท่าไหร่) คงเป็นจาก 'หงสาจอมราชันย์' ที่ว่า คุณธรรมและความภักดีมันก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่ง เป็นเครื่องมือของคนที่มีความรู้สำหรับส่งคนโง่ให้ไปตาย เป็นกุศโลบายอันต่ำช้าของผู้เป็นนายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตน
[01/11/12]
ยาสุโอกะ คุนิฮิสะ เป็นผู้ส่งอิคิงามิของเขตนิชิโมริยามะ แต่สมัยหนุ่มมีประวัติต่อต้านกฏหมายผดุงความรุ่งเรืองฯ ทำให้แฟน มิทสึอิชิ ยูมิโกะ ที่กำลังท้องขอเลิก ถูกจับและเข้าโปรแกรมปรับทัศนคติจนกลายเป็นผู้รักชาติสมบูรณ์แบบ
ยูมิโกะคลอดลูกชาย คาสุโตะ บอกลูกว่าพ่อตายไปแล้ว เมื่อแต่งงานได้พ่อเลี้ยง ทาโดโคโระ ที่ใช้ความรุนแรงจึงขอหย่าและเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวอย่างยากลำบากจนคาสุโตะได้อิคิงามิจากมือของยาสุโอกะ ตอนนั้นคาสุโตะได้กำลังใจในการใช้ชีวิตจากไอดอลใต้ดินที่มีข่าวลือว่าท้อง และต้องการมอบความมั่นคงให้ก่อนตาย ... ยูมิโกะตั้งใจเข้าร่วมองค์กรต่อต้าน ส่วนยาสุโอกะก็เริ่มมีอาการมือสั่น
ฮาตะ ซาโตมิ ถูกเพื่อนโดยเฉพาะ คุริฮาระ คาโนะ บุลลี่ว่าเป็นนางลิงแว่นทั้งวาจาและการกระทำ จนทำให้เกิดอาการตื่นตระหนกเฉียบพลันเรื้อรัง ต้องเลิกเรียนมัธยมปลายและทำงานเป็นพยาบาล เมื่อคาโนะประสลบอุบัติเหตุตกบันไดอัมพาตซีกขวาและพูดไม่ได้ โอกาสหายเป็นปกติน้อยมาก ซาโตมิก็ยังพยายามทำหน้าที่ให้ดีจนได้รับอิคิงามิ จึงเผชิญหน้ากัยคาโนะที่คิดจะฆ่าตัวตาย
[16/02/24]
ที่มา
[1] Mase Motorô. อิคิงามิ สาส์นสั่งตาย (Ikigami). ที เค โอ คอมิกส์. 10 เล่มจบ, 2551-2555 (ต้นฉบับ 2005-2012).
[2] Mase Motoro. อิคิงามิ ภาคการกลับมาของสาส์นสั่งตาย (Ikigami Sairin). DEXpress Publishing, เล่ม 1, 2551-2555 (ต้นฉบับ 2022).
รายการการ์ตูนญี่ปุ่น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น