Radiation House - Yokomaku & Mori

เรื่อง Radiation House
เรื่องโดย โทโมฮิโระ โยโกมาคุ ภาพโดย ไทชิ โมริ


อามาคาสุ อัน (28 ปี) มีพื้นฐานครอบครัวทางการแพทย์ พ่อ อามาคาสุ โชอิจิ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลอามาคาสุ ที่มีแผนกรังสีเป็นกระดูกสันหลัง อันปมสมัยเด็กเพราะน้องชาย ฮิซาชิ ตายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เกี่ยวกับหมา เมื่อโตขึ้นอันก็เรียนเป็นรังสีแพทย์ และเข้าทำงานในโรงพยาบาลอามาคาสุอย่างไฟแรง เมื่อโชอิจิป่วยและไม่สามารถทำงานต่อได้ จึงมีผู้อำนวยการคนใหม่คือ โอโมริ นางิสะ ที่ต้องการพัฒนาโรงพยาบาล โดยเฉพาะแผนกรังสีวินิจฉัยให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นมีแพทย์สามแสนกว่า แต่มีรังสีแพทย์เพียงหกพันคน ทำให้แปลผลไม่ทัน ทำให้เป็นสาขาที่ต้องการมาก ทักษะด้านรังสีวินิจฉัยมีผลอย่างมากต่อความรวดเร็วในการวินิจฉัยโรค ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการรักษาอย่างทันท่วงที ในเรื่องนี้ก็มีการกล่าวถึงการใช้เครื่องมือรังสีวินิจฉัยราคาแพงแต่ค่าใช้จ่ายถูกเมื่อผ่านระบบประกันสุขภาพ

อิการาชิ อาโอริ (28 ปี) ก็มีความหลังสมัยเด็ก อาโอริชอบเพื่อนคืออันที่น่ารักอย่างมาก เคยช่วยทำแผลให้หมากับอัน เมื่ออันบอกจะเป็นรังสืแพทย์เหมือนพ่อ และขอให้อาโอริเป็นนักเทคนิคช่วยซัพพอร์ต อาโอริเลยยึดติดมาตลอด เมื่อพ่อแม่หย่ากัน อาโอริก็ย้ายบ้านและขาดการติดต่อกับอัน เปลี่ยนนามสกุลจากคุโบตะเป็นอิการาชิ เข้าเรียนแพทย์จนจบและต่อด้านรังสีวินิจฉัย มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เคยไปเรียนต่อที่อเมริกาและมีฝีมือในการวินิฉัยอย่างฉกาจจนมีคนส่งภาพมาให้ช่วยแปลผลจากทั่วโลก เมื่ออาโอริกลับมาญี่ปุ่นกลับย้ายงานบ่อยเพราะปัญหาสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น ผู้อำนวยการโอโมริที่เคยเห็นความเก่งตอนเรียนที่อเมริกา เลยดึงมาทำงานที่โรงพยาบาลอามาคาสุ แต่อาโอริกลับขอทำงานในฐานะนักรังสีเทคนิคด้วยเหตุผลส่วนตัว (คือความรักข้างเดียวไม่กล้าบอกกับอันนั่นแหละ)

แผนกรังสีวิทยามี คาบุรากิ ยาสุโตมิ เป็นหัวหน้าแผนก มีอันเป็นรังสีแพทย์คนหนึ่ง ด้านรังสีเทคนิค หัวหน้าคือ โอโนเดระ โทชิโอะ, นักเทคนิคชายมี อิโน เคย์ นักเทคนิคหญิงคือ คุโรฮาเนะ ทามากิ, ยูกิ ริน และเด็กใหม่เพิ่งจบ ฮิโรเสะ ฮิโรโนะ ตั้งแต่เข้าทำงาน อาโอริก็แสดงฝีมือปรับแต่งการวัดค่าและสังเกตเห็นความผิดปกติได้ดีสุดๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ถูกบางคนเขม่นเพราะนักรังสีเทคนิคไม่มีอำนาจในการแปลผลหรือวินิจฉัยอันเป็นหน้าที่ของรังสีแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม

แผนกรังสีวิทยาเจอความท้าทายที่หลากหลาย อย่างกรณีช่างภาพชื่อดังที่การใช้เครื่อง MRI 7000 &CT 1100 ที่รูปถูกรบกวนจากเมทัลอาร์ติแฟกต์ในร่างกาย การแพ้สารทึบรังสี คนไข้ที่เดิมมีเส้นเลือดสมองโป่งพอง ต้องผ่าตัดสมอง แต่อาโอริประกอบรูปใหม่จาก phase image พบว่าเป็นพยาธิใบไม้ปอดที่ใช้ยารักษาได้ การทำแมมโมกราฟฟี่ตรวจเต้านมที่นักรังสีชายมีปัญหาดูแลคนไข้หญิง คนไช้ที่สงสัยเป็นมะเร็ง ต้องรอคิวตรวจที่คลินิกเฉพาะทางสี่เดือนอย่างทรมานใจมาก อาโอริเลยช่วยตรวจให้ใหม่ เด็กที่เป็นมะเร็งกระดูกที่พบหนึ่งในห้าแสนเพราะมีพันธุกรรมยีนกลายพันธ์ุที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง แม่ก็เคยเป็นมะเร็วทรวงอก จนขาดความมั่นใจและหย่ากับสามี ตัวแม่เองก็มีปัญหาเนื้อเยื่อเต้านมหนาที่ไม่เหมาะกับการตรวจแมมโมแกรม ซึ่งทางการแพทย์ก็มีปัญหาเรื่องการบอกข้อมูลคนไข้ ผลงานเหล่านี้ทำให้อันยอมรับในความสามารถของอิโอริ

[22/02/19]


จากการอ่านเรื่องนี้เลยทำให้สงสัยว่าสถิติในไทยเป็นอย่างไร ค้นข้อมูลคร่าวๆ ได้ว่ามีหมอราวสามหมื่นคน ข้อมูลแพทยสภาในปี 2557 บอกว่าหมอรังสีวินิจฉัยขึ้นทะเบียนในไทย 781 คน และหมอรังสีทั่วไปอีก 649 คน สรุปคือขาดแคลนหมดไม่ว่าจะจำนวนทั้งหมดหรือเฉพาะทาง -_-"

ที่มา
[1] Tomohiro Yokomaku & Taishi Mori. Radiation House. สำนักพิมพ์รักพิมพ์, เล่ม 1-4, 2561-2562 (ต้นฉบับ 2015).


รายการการ์ตูนญี่ปุ่น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร - มาวนี่

Kaijyu No. 8 - Matsumoto Naoya

สืบลับฉบับคาโมโนะฮาชิ รอน - Amano Akira