จะรักใครก็รักไป - เฟิงหลิวซูไต
เรื่อง จะรักใครก็รักไป
โดย เฟิงหลิวซูไต (Feng Liu Shu Dai) แปลโดย เสี่ยวหวา
ถึงเรื่องนี้เป็นยุคในจินตนาการ แต่พิจารณาลักษณะทางสังคมที่มีตระกูลขุนนาง อำนาจของตระกูลหวางแห่งหลางหยา ตำแหน่งสนม และวรรณกรรมทั้งหลาย คาดว่าผู้แต่งน่าจะวางกรอบไว้ในช่วงระหว่างราชวงศ์เหนือใต้ถึงต้นราชวงศ์ถัง
ในภาพรวม จขบ. รู้สึกว่ามีการจิกกัดในเรื่องทางสังคมและการเมืองซ่อนอยู่มาก มีการแถตามที่ต้องการในแต่ละบริบทตามความพอใจ โดยเฉพาะเรื่องของการยกย่องสกุลกวนที่มากเกินไปจนเป็นการเสียดสีในหลายๆ แง่ ทั้งเรื่องของพฤติกรรมซึ่งอ้างความถูกต้องชอบธรรมที่หลายครั้งก็แถไปมาก ทำไปตามแบบแผนจนขาดความจริงใจ หรือแม้แต่เป็นการแสดงอำนาจที่ขาดบรรทัดฐาน เรื่องตระกูลขุนนางที่ไม่เอามาข่มหรือเอามาสับตามชอบ บันทึกตระกูลขุนนางที่จั่วปั๋วโสงเขียนก็ให้ความรู้สึกว่าถ้าพิจารณาว่าสมัยก่อนการสื่อสารและการเผยแพร่ข้อมูลยากก็นับว่าผู้แต่งมีความเผือก สอดรู้สอดเห็นและถนัดการซุบซิบนินทาสูงมาก นอกจากสงสัยว่ามีการตรจสอบข้อมูลแค่ไหน (เรื่องเข้าตัวอีกแง่ 555) ความมั่นคงของรัฐที่อธิบายว่าดี แต่ความจริงไม่สามารถควบคุมการกระทำของผู้มีอำนาจหรืออาชญากรได้ อย่างตอนที่ร้านค้าตระกูลจ้าวเสียหาย สกุลกวนที่ถูกจวนราชครูตัดขาดถูกยึดที่ดิน หรือสกุลหร่วนถูกปล้นกลางกรุง ฯลฯ นั่นคือขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ปกครองอยู่ดีแหละ ใช่ว่ามีกฏเกณฑ์จริงจังเมื่อไหร่กัน แต่มองอีกด้านคือสมจริงสำหรับช่วงวุ่นวายนะ
การจิกกัดที่น่าจะโดดเด่นที่สุดคือการอธิบายปรัชญาทางการปกครองของจีนตั้งแต่ยุคโบราณยันปัจจุบัน โดยเฉพาะของขงจื้อที่ถูกตีความสับเสียละเอียดพร้อมการแถชื่นชม ว่ากันตามตรงเป็นจุด จขบ. ชอบมาก เพราะนอกจากเป็นการจิกกัดเรื่องอื่นที่พูดถึงการพัฒนาแนวคิดอย่าง 'เจาะเวลาหาจิ่นซี' ก็เป็นการตีความใหม่ที่น่าสนใจในอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้นึกถึง 'หงสาจอมราชันย์' ทำให้ที่สงสัยมากที่สุดคือบรรดาคัมภีร์หรือตำราที่ยกมาอ้างในเรื่อง อันไหนมีจริง อันไหนมีการคัดลอกจนถึงปัจจุบัน อันไหนที่แต่งขึ้นมาเอง อย่างตอนที่สับบันทึกประวัติศาสตร์ซ่างซูเรื่องการสละราชย์/ชิงอำนาจ ที่ยกตำราต่างๆ มาสนับสนุน รู้สึกว่าถ้ามีเชิงอรรถสรุปใจความหลัก และผู้แต่งมาด้วยก็น่าจะเป็นประโยชน์มากในการพิจารณา
แต่ว่ากันตามตรง เวลาอ่านอรรถาธิบายของกวนซู่อี โดยเฉพาะที่ปะทะกับสวีก่วงจื้อ ก็รู้สึกว่านางแถเหมือนกันแหละ ใช้การชิงดีชิงเด่นเบื้องหลังมาเสริมกำลังแทนที่จะออกหน้าเองทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความเห็นคนทั่วไปที่เอนเอียงได้ง่าย มีจุดยืนตามอำนาจและผลประโยชน์ สรุปคือถ้าเอาจริงก็แบ่งดำขาวไม่ได้ แต่ฝ่ายหนึ่งมีสกิลนางเอกและฮ่องเต้เปย์ไม่อั้น 555 สำหรับเรื่องการวางแผน จขบ. ต้องบอกว่าชอบแนวของตระกูลกวน คือถึงไม่ล้างแค้นสิบปีก็ไม่สาย แต่ถ้าจะลงมือเมื่อไหร่ ก็จัดการจนตายรวดเดียว ไม่มีครึ่งๆ กลางๆ ประหารเรียบทั้งตระกูล โดยไม่สนใจว่าใครโดนลูกหลง ยิ่งทำให้รู้สึกถึงความลักลั่นย้อนแย้งของการใช้กฏหมายและความจำเป็นของครอบครัวที่ต้องรวมกันเหนียวแน่นจากการลงโทษยกเข่งเช่นนี้
การแปลก็นับว่าอ่านได้ลื่นไหลเป็นส่วนใหญ่ มีศัพท์ที่สมัยใหม่ไปบ้างโผล่มาเล็กน้อย มีคำอยู่ผิดตำแหน่ง สะกดผิด หรือหลุดอยู่บ้าง ซึ่งบ้างครั้งอ่านแล้วสะดุดแต่ก็ไม่ทำให้เสียอารมณ์การอ่านมากนัก แต่ก็ทำให้เสียดายอยู่ไม่น้อย ในภาพรวม จขบ. ถือว่าเป็นเรื่องที่อ่านสนุกสนาน อ่านซ้ำได้เรื่อยๆ ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก
และเนื่องจากเป็นเรื่องที่ชอบเป็นพิเศษ เลยทำแผนผังความสัมพันธ์แถมมาข้างใต้ ที่เป็นเส้นทึบคือความสัมพันธ์ทางสายเลือด เส้นประคือการรับบุตรบุญธรรม ดูแล้วก็เห็นความเหมือนระหว่างเย่เจินและกวนซู่อีอยู่มาก ทังที่ทั้งสองมีชีวิตที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากปรัชญาการใช้ชีวิตจองแต่ละคน ทำให้นึกถึงตอนที่กวนซู่อีรู้สึกเห็นใจเย่เจินที่สามีคือจ้าวลู่หลีไม่เอาไหนจนต้องนอกใจมาก 555
ที่มา
[1] เฟิงหลิวซูไต (เสี่ยวหวา แปล). จะรักใครก็รักไป. สำนักพิมพ์อรุณ, 3 เล่มจบ, 498 + 498 + 474 หน้า, 2562.
รายการนิยายจีนแปลไทย
โดย เฟิงหลิวซูไต (Feng Liu Shu Dai) แปลโดย เสี่ยวหวา
ถึงเรื่องนี้เป็นยุคในจินตนาการ แต่พิจารณาลักษณะทางสังคมที่มีตระกูลขุนนาง อำนาจของตระกูลหวางแห่งหลางหยา ตำแหน่งสนม และวรรณกรรมทั้งหลาย คาดว่าผู้แต่งน่าจะวางกรอบไว้ในช่วงระหว่างราชวงศ์เหนือใต้ถึงต้นราชวงศ์ถัง
ในภาพรวม จขบ. รู้สึกว่ามีการจิกกัดในเรื่องทางสังคมและการเมืองซ่อนอยู่มาก มีการแถตามที่ต้องการในแต่ละบริบทตามความพอใจ โดยเฉพาะเรื่องของการยกย่องสกุลกวนที่มากเกินไปจนเป็นการเสียดสีในหลายๆ แง่ ทั้งเรื่องของพฤติกรรมซึ่งอ้างความถูกต้องชอบธรรมที่หลายครั้งก็แถไปมาก ทำไปตามแบบแผนจนขาดความจริงใจ หรือแม้แต่เป็นการแสดงอำนาจที่ขาดบรรทัดฐาน เรื่องตระกูลขุนนางที่ไม่เอามาข่มหรือเอามาสับตามชอบ บันทึกตระกูลขุนนางที่จั่วปั๋วโสงเขียนก็ให้ความรู้สึกว่าถ้าพิจารณาว่าสมัยก่อนการสื่อสารและการเผยแพร่ข้อมูลยากก็นับว่าผู้แต่งมีความเผือก สอดรู้สอดเห็นและถนัดการซุบซิบนินทาสูงมาก นอกจากสงสัยว่ามีการตรจสอบข้อมูลแค่ไหน (เรื่องเข้าตัวอีกแง่ 555) ความมั่นคงของรัฐที่อธิบายว่าดี แต่ความจริงไม่สามารถควบคุมการกระทำของผู้มีอำนาจหรืออาชญากรได้ อย่างตอนที่ร้านค้าตระกูลจ้าวเสียหาย สกุลกวนที่ถูกจวนราชครูตัดขาดถูกยึดที่ดิน หรือสกุลหร่วนถูกปล้นกลางกรุง ฯลฯ นั่นคือขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ปกครองอยู่ดีแหละ ใช่ว่ามีกฏเกณฑ์จริงจังเมื่อไหร่กัน แต่มองอีกด้านคือสมจริงสำหรับช่วงวุ่นวายนะ
การจิกกัดที่น่าจะโดดเด่นที่สุดคือการอธิบายปรัชญาทางการปกครองของจีนตั้งแต่ยุคโบราณยันปัจจุบัน โดยเฉพาะของขงจื้อที่ถูกตีความสับเสียละเอียดพร้อมการแถชื่นชม ว่ากันตามตรงเป็นจุด จขบ. ชอบมาก เพราะนอกจากเป็นการจิกกัดเรื่องอื่นที่พูดถึงการพัฒนาแนวคิดอย่าง 'เจาะเวลาหาจิ่นซี' ก็เป็นการตีความใหม่ที่น่าสนใจในอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้นึกถึง 'หงสาจอมราชันย์' ทำให้ที่สงสัยมากที่สุดคือบรรดาคัมภีร์หรือตำราที่ยกมาอ้างในเรื่อง อันไหนมีจริง อันไหนมีการคัดลอกจนถึงปัจจุบัน อันไหนที่แต่งขึ้นมาเอง อย่างตอนที่สับบันทึกประวัติศาสตร์ซ่างซูเรื่องการสละราชย์/ชิงอำนาจ ที่ยกตำราต่างๆ มาสนับสนุน รู้สึกว่าถ้ามีเชิงอรรถสรุปใจความหลัก และผู้แต่งมาด้วยก็น่าจะเป็นประโยชน์มากในการพิจารณา
แต่ว่ากันตามตรง เวลาอ่านอรรถาธิบายของกวนซู่อี โดยเฉพาะที่ปะทะกับสวีก่วงจื้อ ก็รู้สึกว่านางแถเหมือนกันแหละ ใช้การชิงดีชิงเด่นเบื้องหลังมาเสริมกำลังแทนที่จะออกหน้าเองทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความเห็นคนทั่วไปที่เอนเอียงได้ง่าย มีจุดยืนตามอำนาจและผลประโยชน์ สรุปคือถ้าเอาจริงก็แบ่งดำขาวไม่ได้ แต่ฝ่ายหนึ่งมีสกิลนางเอกและฮ่องเต้เปย์ไม่อั้น 555 สำหรับเรื่องการวางแผน จขบ. ต้องบอกว่าชอบแนวของตระกูลกวน คือถึงไม่ล้างแค้นสิบปีก็ไม่สาย แต่ถ้าจะลงมือเมื่อไหร่ ก็จัดการจนตายรวดเดียว ไม่มีครึ่งๆ กลางๆ ประหารเรียบทั้งตระกูล โดยไม่สนใจว่าใครโดนลูกหลง ยิ่งทำให้รู้สึกถึงความลักลั่นย้อนแย้งของการใช้กฏหมายและความจำเป็นของครอบครัวที่ต้องรวมกันเหนียวแน่นจากการลงโทษยกเข่งเช่นนี้
การแปลก็นับว่าอ่านได้ลื่นไหลเป็นส่วนใหญ่ มีศัพท์ที่สมัยใหม่ไปบ้างโผล่มาเล็กน้อย มีคำอยู่ผิดตำแหน่ง สะกดผิด หรือหลุดอยู่บ้าง ซึ่งบ้างครั้งอ่านแล้วสะดุดแต่ก็ไม่ทำให้เสียอารมณ์การอ่านมากนัก แต่ก็ทำให้เสียดายอยู่ไม่น้อย ในภาพรวม จขบ. ถือว่าเป็นเรื่องที่อ่านสนุกสนาน อ่านซ้ำได้เรื่อยๆ ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก
และเนื่องจากเป็นเรื่องที่ชอบเป็นพิเศษ เลยทำแผนผังความสัมพันธ์แถมมาข้างใต้ ที่เป็นเส้นทึบคือความสัมพันธ์ทางสายเลือด เส้นประคือการรับบุตรบุญธรรม ดูแล้วก็เห็นความเหมือนระหว่างเย่เจินและกวนซู่อีอยู่มาก ทังที่ทั้งสองมีชีวิตที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงจากปรัชญาการใช้ชีวิตจองแต่ละคน ทำให้นึกถึงตอนที่กวนซู่อีรู้สึกเห็นใจเย่เจินที่สามีคือจ้าวลู่หลีไม่เอาไหนจนต้องนอกใจมาก 555
[22/04/19]
ที่มา
[1] เฟิงหลิวซูไต (เสี่ยวหวา แปล). จะรักใครก็รักไป. สำนักพิมพ์อรุณ, 3 เล่มจบ, 498 + 498 + 474 หน้า, 2562.
รายการนิยายจีนแปลไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น