Enslaved - Virginia Henley
เรื่อง Enslaved
โดย Virginia Henley
เลดี้ ไดอาน่า ดาเวนพอร์ต เป็นสาวสวยผมบลอนด์ที่
ในช่วงยุคจอร์เจียน ก็หลายจุดที่น่าสงสัย อย่างการที่ไดอาน่าเป็นเลดี้ก็สงสัยว่ามาได้อย่างไร พ่อที่ได้รับแต่งตั้งเป็นอัศวินจึงมีเซอร์นำหน้าชื่อ แต่ลูกสาวของเซอร์เป็นมิส ถ้าคิดว่าพ่อจะใช้เส้นสายให้ลูกสาวได้บรรดาศักดิ์แบบ Laura Pulteney, 1st Countess of Bath (1766-1808) ก็ขัดแย้งกับการเรียกเลดี้ตามด้วยชื่อต้นในเรื่องซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นตำแหน่งยกย่อง (courtesy title) สำหรับเครือญาติของขุนนาง ไม่ใช่บรรดาศักดิ์ของตนเองที่จะใช้เลดี้ตามด้วยชื่อของบรรดาศักดิ์
ไดอาน่าที่แต่งชุดชั้นในออกมาทะเลาะต่อหน้ามาร์คในร้านตัดเสื้อสตรีก็ออกจะเกินไปหน่อย หรือปีเตอร์ที่เขียนชื่อตัวเองทับชื่อคนอื่นในบัตรลำดับการเต้นรำของไดอาน่าก็ดูเข้าขั้นหยาบคายและหยามหน้าคนอื่นมาก
แต่จุดที่ จขบ. มึนและสนุกมาก คือความพยายามที่จะกำหนดเวลาในเรื่องจากบริบทต่างๆ โดยเฉพาะบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ปรากฏตัวในเรื่อง ที่ผลคือสรุปไม่ได้เพราะมีความขัดแย้งกันเยอะมาก โดยมีการสรุปมาดังนี้ ถ้ามีความผิดพลากหรือมีคอมเมนต์ก็ช่วยบอกด้วยนะคะ
เล่มนี้ สำนักพิมพ์แก้วกานต์มีแปลไทยเป็น 'โรมันรัญจวน' โดยสีตา เห็นว่าเคยมีพิมฑ์มาก่อน แต่หายากมาก ปั่นราคาอย่างแพง สนพ. เลยพิมพ์ใหม่เมื่อปี 2556 โดยได้รับการตอบรับอย่างดี จขบ. ไม่ได้อ่านฉบับเต็ม เลยไม่ทราบว่าแปลทั้งหมดเป็นอย่างไรค่ะ แต่ได้อ่านตัวอย่างของ meb โดยคร่าวๆ ที่รู้สึกว่ามีสีสันมาก แต่น่าจะกระชับและรักษาระดับความมีมารยาทให้ตรงมากกว่านี้ได้ ตัวอย่างสีสันของสำนวน เช่น In this day and age all the men were fops, sporting ridiculous powdered wigs, fans, and lip rouge." ที่แปลเป็น "ยุคเวลานี้ ผู้ชายป้อไปป้อมาเหมือนไก่แจ้ สวมวิกพอกแป้งน่าเกลียด ทาปากแดง มือถือพัดราวกับเป็นผู้หญิงเสียเอง" ที่ไม่ตรงตามตัวอักษร แต่ จขบ. รู้สึกว่ามีขยายแบบนี้น่าจะรู้เรื่อง ตรงกับอารมณ์ต้นฉบับ และเห็นภาพมากกว่า แต่ก็มีหลายช่วงที่รู้สึกว่ามากเกินไป โดยเฉพาะคำพูดที่ดูจะไม่สุภาพในบริบทที่ไม่สมควร เช่นการที่ไดอาน่าใช้ 'ย่ะ' ลงท้ายกับปีเตอร์ในงานสังคม ฯลฯ
ระหว่างอ่านตัวอย่างแบบไม่เทียบ มีสะดุดที่ "เซอร์โธมัส ดาเวนพอร์ตเป็นหัวหน้าศาล เป็นผู้ว่าการคลัง ..." ต้นฉบับคือ "Sir Thomas Davenport had been a chief judge and baron of the exchequer" คิดว่าน่าจะหมายถึง Chief Baron of the Exchequer คือหัวหน้าผู้พิพากษาศาลยุติธรรม Court of Exchequer หรือ Exchequer of Pleas มากกว่า Chancellor of the Exchequer และที่บอกว่า "คัมเบอร์แลนด์ ลุงผู้แสนร้ายของเจ้าชายแห่งเวลส์" ทั้งที่ควรจะเป็นอา เพราะน่าจะหมายถึง Prince Henry, Duke of Cumberland and Strathearn (1745-1790) ผู้เป็นน้องชายของ George III (1738-1820, ครองราชย์ 1760-1820 และรัชทายาทเป็นผู้สำเร็จราชการแทนตั้งแต่ปี 1811)
ที่มา
[1] Virginia Henley. Enslaved. Island Books, 448 pages, 1996.
รายการนิยายอังกฤษ, ไทม์ไลน์หนังสืออิงประวัติศาสตร์/ย้อนยุค อังกฤษ
โดย Virginia Henley
เลดี้ ไดอาน่า ดาเวนพอร์ต เป็นสาวสวยผมบลอนด์ที่
ในช่วงยุคจอร์เจียน ก็หลายจุดที่น่าสงสัย อย่างการที่ไดอาน่าเป็นเลดี้ก็สงสัยว่ามาได้อย่างไร พ่อที่ได้รับแต่งตั้งเป็นอัศวินจึงมีเซอร์นำหน้าชื่อ แต่ลูกสาวของเซอร์เป็นมิส ถ้าคิดว่าพ่อจะใช้เส้นสายให้ลูกสาวได้บรรดาศักดิ์แบบ Laura Pulteney, 1st Countess of Bath (1766-1808) ก็ขัดแย้งกับการเรียกเลดี้ตามด้วยชื่อต้นในเรื่องซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นตำแหน่งยกย่อง (courtesy title) สำหรับเครือญาติของขุนนาง ไม่ใช่บรรดาศักดิ์ของตนเองที่จะใช้เลดี้ตามด้วยชื่อของบรรดาศักดิ์
ไดอาน่าที่แต่งชุดชั้นในออกมาทะเลาะต่อหน้ามาร์คในร้านตัดเสื้อสตรีก็ออกจะเกินไปหน่อย หรือปีเตอร์ที่เขียนชื่อตัวเองทับชื่อคนอื่นในบัตรลำดับการเต้นรำของไดอาน่าก็ดูเข้าขั้นหยาบคายและหยามหน้าคนอื่นมาก
แต่จุดที่ จขบ. มึนและสนุกมาก คือความพยายามที่จะกำหนดเวลาในเรื่องจากบริบทต่างๆ โดยเฉพาะบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ปรากฏตัวในเรื่อง ที่ผลคือสรุปไม่ได้เพราะมีความขัดแย้งกันเยอะมาก โดยมีการสรุปมาดังนี้ ถ้ามีความผิดพลากหรือมีคอมเมนต์ก็ช่วยบอกด้วยนะคะ
- แฟชั่นที่ไดอาน่าบ่นนักหนา เป็นกระโปรงสุ่มสวมวิกทรงสูงลงแป้ง อย่างมากสุดก็หายไปก่อนปี 1795
- Richard Barry, 7th Earl of Barrymore (1769-1793, สืบบรรดาศักดิ์ 1773) ที่มีฉายา Hellgate จากในเรื่องเป็นนักพนันมีชื่อ ประมาณอย่างเร็วที่สุดคืออายุสิบห้าปี จึงได้ช่วง 1784-1793
- Lady Castlereagh ที่เป็นผู้อุปถัมภ์ห้องชุมนุมอัลแมค น่าจะหมายถึง Amelia Stewart, Viscountess Castlereagh (1772-1829) ช่วงเวลาที่เป็นไปได้คือช่วงที่สามีใช้ตำแหน่งยกย่อง Viscount Castlereagh ก่อนจะสืบทอดบรรดาศักดิ์คือช่วงปี 1796-1821 มีบอกในเรื่องด้วยว่า Lady Castlereagh แต่งงานกับ Marquess of Londonderry แต่กว่า Robert Stewart (1769-1822) ที่เป็นสามีจะสืบทอดตำแหน่งมาร์ควิส ก็ตั้งปี 1821
- Lady Melbourne พาลูกสาว Emily และลูกชาย William Lamb มางานที่อัลแมค สามคนนี้น่าจะเป็น Elizabeth Lamb, Viscountess Melbourne (1751-1818), Emily Temple, Viscountess Palmerston (1787–1869) และ William Lamb, 2nd Viscount Melbourne (1779-1848) ที่ภายหลังเป็นนายกรัฐมนตรี จากบริบทในเรื่อง Emily ควรจะยังไม่แต่งงานครั้งแรกแต่ก็อายุมากพอที่จะออกงานได้ ประมาณอายุอย่างกว้างคือตั้งแต่ 15-18 ปี ตรงกับปี 1802-1805
- หญิงสาวที่ออกสังคมครั้งแรกพร้อมกับไดอาน่าคือ Hary-O คือ Harriet Leveson-Gower, Countess Granville (1785-1828) ได้ออกสังคมครั้งแรกปี 1803 แต่งงาน 1809 ส่วน Caro Ponsonby น่าจะหมายถึง Lady Caroline Lamb (1785-1828) ภรรยาของ William Lamb ในข้อก่อนหน้า แต่งงานในปี 1805
- มีการเปิดสถานบรรเทิง Pantheon ด้วยงานเต้นรำสวมหน้ากาก โดย Pantheon เปิดครั้งแรกเมื่องปี 1772 หลังจากเกิดไฟไหม้ก็สร้างใหม่และเปิดเมื่อปี 1795 โดยมีงานเต้นรำสวมหน้ากากประเดิม
เล่มนี้ สำนักพิมพ์แก้วกานต์มีแปลไทยเป็น 'โรมันรัญจวน' โดยสีตา เห็นว่าเคยมีพิมฑ์มาก่อน แต่หายากมาก ปั่นราคาอย่างแพง สนพ. เลยพิมพ์ใหม่เมื่อปี 2556 โดยได้รับการตอบรับอย่างดี จขบ. ไม่ได้อ่านฉบับเต็ม เลยไม่ทราบว่าแปลทั้งหมดเป็นอย่างไรค่ะ แต่ได้อ่านตัวอย่างของ meb โดยคร่าวๆ ที่รู้สึกว่ามีสีสันมาก แต่น่าจะกระชับและรักษาระดับความมีมารยาทให้ตรงมากกว่านี้ได้ ตัวอย่างสีสันของสำนวน เช่น In this day and age all the men were fops, sporting ridiculous powdered wigs, fans, and lip rouge." ที่แปลเป็น "ยุคเวลานี้ ผู้ชายป้อไปป้อมาเหมือนไก่แจ้ สวมวิกพอกแป้งน่าเกลียด ทาปากแดง มือถือพัดราวกับเป็นผู้หญิงเสียเอง" ที่ไม่ตรงตามตัวอักษร แต่ จขบ. รู้สึกว่ามีขยายแบบนี้น่าจะรู้เรื่อง ตรงกับอารมณ์ต้นฉบับ และเห็นภาพมากกว่า แต่ก็มีหลายช่วงที่รู้สึกว่ามากเกินไป โดยเฉพาะคำพูดที่ดูจะไม่สุภาพในบริบทที่ไม่สมควร เช่นการที่ไดอาน่าใช้ 'ย่ะ' ลงท้ายกับปีเตอร์ในงานสังคม ฯลฯ
ระหว่างอ่านตัวอย่างแบบไม่เทียบ มีสะดุดที่ "เซอร์โธมัส ดาเวนพอร์ตเป็นหัวหน้าศาล เป็นผู้ว่าการคลัง ..." ต้นฉบับคือ "Sir Thomas Davenport had been a chief judge and baron of the exchequer" คิดว่าน่าจะหมายถึง Chief Baron of the Exchequer คือหัวหน้าผู้พิพากษาศาลยุติธรรม Court of Exchequer หรือ Exchequer of Pleas มากกว่า Chancellor of the Exchequer และที่บอกว่า "คัมเบอร์แลนด์ ลุงผู้แสนร้ายของเจ้าชายแห่งเวลส์" ทั้งที่ควรจะเป็นอา เพราะน่าจะหมายถึง Prince Henry, Duke of Cumberland and Strathearn (1745-1790) ผู้เป็นน้องชายของ George III (1738-1820, ครองราชย์ 1760-1820 และรัชทายาทเป็นผู้สำเร็จราชการแทนตั้งแต่ปี 1811)
[29/10/22]
ที่มา
[1] Virginia Henley. Enslaved. Island Books, 448 pages, 1996.
รายการนิยายอังกฤษ, ไทม์ไลน์หนังสืออิงประวัติศาสตร์/ย้อนยุค อังกฤษ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น