ราชินีนักอ่าน - อลัน เบนเน็ตต์
เรื่อง The Uncommon Reader ราชินีนักอ่าน
เขียนโดย อลัน เบนเน็ตต์ แปลโดย รสวรรณ พึ่งสุจริต
สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบ็ท ทรงตามสุนัขที่ส่งเสียงดัวจนไปที่เจอห้องสมุดเคลื่อนของนครเวสมินสเตอร์ที่พนักงานห้องเครื่อง นอร์มัน ซีกินส์ กำลังเลือกหนังสืออยู่ พระองค์ได้ยืมหนังสือและกลายเป็นนักอ่านจนข้าราชบริพารตื่นตระหนกตั้งแต่ความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่ต้องรักษาไว้ พระราชอาคันตุกะที่ถูกถามเรื่องหนังสือ ระบบรักษาความปลอดภัยเมื่อวางหนังสือทิ้งไว้ ถึงขั้นที่ว่าอาจทรงเป็นอัลไซเมอร์ ส่วนซีกินส์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นอาลักษณ์ก่อนจะถูกราชเลขาธิการส่วนพระองค์ เซอร์เควิน สแคทชาร์ด แอบเด้งให้ไปเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งอีสต์แองเกลียด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์และกลับมาเป็นข้าราชบริพารหลังเรียนจบ) ... เจ้าต้องไม่ฝากชีวิตไว้กับหนังสือ แต่จงหามันในนั้น
คำโปรยที่ปกให้เรื่องนี้เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ แต่ จขบ. ว่าน่าจะให้เป็นประวัติศาสตร์ขนาน (Alternate History) มากกว่านะคะ มองในหลายแง่การเขียนเรื่องที่ตัวละครหลักยังมีชีวิตอยู่แบบนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ความรู้สึกอึดอัดพอสมคาร แต่ด้วยความที่เป็นเรื่องเบาๆ จิกกัดแบบอังกฤษ ก็เลยเอาตัวรอดผ่านไปได้ ในฐานะนักอ่านคนหนึ่งก็เป็นเรื่องที่รู้สึกเชื่อมโยงได้ดีเลยค่ะ
เนื่องจากอ่านฉบับแปลภาษาไทย เมื่ออ่านไปก็รู้สึกตะหงิดๆ ถึงขนาดต้องลองค้นหาต้นฉบับเท่าที่พอหาได้ในเน็ตดู (เห็นใช้เป็นบทความสอนนักศึกษาเสปนที่เรียนภาษาอังกฤษให้วิเคราะห์สังคมวัฒนธรรมด้วย) ก็รู้สึกว่าการแปลเรื่องนี้มีความยากหลักอยู่สองจุด ซึ่งโยงไปถึงการรักษาบรรยากาศของเรื่องให้ตรงกับต้นฉบับ
เรื่องแรกคือการใช้คำราชาศัพท์ที่ในภาษาอังกฤษไม่ค่อยมีอยู่แล้ว ในเรื่องนี้ยิ่งน้อยมาก แต่ในการแปลไทยมีการใช้ราชาศัพท์จัดเต็ม อย่างพระโรงคัล รัตนสิงหาสน์ สีหบัญชร ทรงพระขิปสัทโท (กระแอม) ซึ่งทำให้โทนของการอ่านหนักมาก ส่วนจุดที่สองที่คิดว่าน่าสำบากใจในการแปลคือชื่อหนังสือ (ที่ล้วนแต่อยู่ในประเภทหนักหน่วงคลาสสิกและอ่านยาก จขบ. อาจจะเคยอ่านสักหนึ่งในห้ามั๊งคะ) บางเล่มถูกแปลไทยแล้ว บางเล่มยังไม่มี โดยในเล่มเลือกใช้ชื่อทับศัพท์ไปหมดไม่ว่าจะมีชื่อไทยที่คุ้นหูมากก็ตาม
แต่ที่ทำให้สงสัยจนต้องไปหาต้นฉบับคือเรื่องตำแหน่งที่มาแปลก เมื่อค้นก็ก็พบว่าถึงการแปลโดยทั่วไปจะไม่ได้มีปัญหานัก แต่ก็หลุดในจุดนี้อยู่ ตัวอย่างคือตำแหน่งราชเลขาธิการน่าจะเป็นราชเลขานุการที่มีความใหญ่ต่างกันมาก การเปิดสมัยการประชุมรัฐสภาถูกแปลเป็นเปิดสมัยการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งไม่เหมาะสมเนื่องจากพระราชินีกล่าวสุนทรพจน์ในสภาขุนนาง (House of Lords) ไม่ใช้สภาผู้แทนฯ (House of Commons) เพราะเป็นประเพณีว่ากษัตริย์อังกฤษจะเข้าไปสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ ซึ่งก็เป็นการเล่นคำที่เข้ากับชื่อเรื่องมากเลยนะคะ
เท่าที่ดูมีข้อสงสัยหลายจุด เช่น ตอนที่บอกว่าพระราชินีได้แต่งตั้งฟอสเตอร์เป็นวุฒิสมาชิก ที่จริงคือพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ CH (The Order of the Companions of Honour), one young member of the cabinet ที่น่าเป็นสมาชิกของ คณะรัฐมนตรี ก็กลายเป็นสมาชิกรัฐสภาหนุ่มผู้หนึ่ง, one former lord chancellor ending up perched on a little cork-topped stool เป็น อดีตอธิบดีศาลสูงสุดท่านหนึ่งนั่งยองๆ อยู่บนเก้าอี้วางเท้าตัวเล็กๆ คือไม่ใช่ทั้งตำแหน่งและท่าทาง
ยังมีวาทะที่ตรัสกับนายกรัฐมนตรีเรื่องหน่วยทหารที่บอกว่า 'your time in the WAAF'. 'The ATS,' corrected the Queen. 'The armed forces, whatever,' ก็เป็น ฝ่าพระบาททรงเข้าประจำการในกองทหารอากาศหญิง กองทหารหญิงประจำภาคพื้นดินต่างหาก กองทัพบก นั่นละพระพุทธเจ้าข้า ซึ่งก็ทำให้มีความหมายแฝงที่เปลี่ยนไป เพราะ WAAF (Women's Auxiliary Air Force) เป็นหน่วยของกองทัพอากาศ ในขณะที่ ATS (Auxiliary Territorial Service) เป็นของทหารบก การแปลให้นายกฯ แก้สังกัดก็ไม่เหมือนกับบอกว่าอยู่ในกองทัพแบบไม่ระบุเหล่า ฯลฯ
ที่มา
[1] Alan Bennett (รสวรรณ พึ่งสุจริต แปล). ราชินีนักอ่าน (The Uncommon Reader). สำนักพิมพ์ โฟร์ เล็ตเตอร์ เวิร์ด. 123 หน้า, 2554.
รายการนิยายแปลไทย, ไทม์ไลน์หนังสืออิงประวัติศาสตร์/ย้อนยุค อังกฤษ
เขียนโดย อลัน เบนเน็ตต์ แปลโดย รสวรรณ พึ่งสุจริต
สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบ็ท ทรงตามสุนัขที่ส่งเสียงดัวจนไปที่เจอห้องสมุดเคลื่อนของนครเวสมินสเตอร์ที่พนักงานห้องเครื่อง นอร์มัน ซีกินส์ กำลังเลือกหนังสืออยู่ พระองค์ได้ยืมหนังสือและกลายเป็นนักอ่านจนข้าราชบริพารตื่นตระหนกตั้งแต่ความไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่ต้องรักษาไว้ พระราชอาคันตุกะที่ถูกถามเรื่องหนังสือ ระบบรักษาความปลอดภัยเมื่อวางหนังสือทิ้งไว้ ถึงขั้นที่ว่าอาจทรงเป็นอัลไซเมอร์ ส่วนซีกินส์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นอาลักษณ์ก่อนจะถูกราชเลขาธิการส่วนพระองค์ เซอร์เควิน สแคทชาร์ด แอบเด้งให้ไปเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแห่งอีสต์แองเกลียด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์และกลับมาเป็นข้าราชบริพารหลังเรียนจบ) ... เจ้าต้องไม่ฝากชีวิตไว้กับหนังสือ แต่จงหามันในนั้น
คำโปรยที่ปกให้เรื่องนี้เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ แต่ จขบ. ว่าน่าจะให้เป็นประวัติศาสตร์ขนาน (Alternate History) มากกว่านะคะ มองในหลายแง่การเขียนเรื่องที่ตัวละครหลักยังมีชีวิตอยู่แบบนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ความรู้สึกอึดอัดพอสมคาร แต่ด้วยความที่เป็นเรื่องเบาๆ จิกกัดแบบอังกฤษ ก็เลยเอาตัวรอดผ่านไปได้ ในฐานะนักอ่านคนหนึ่งก็เป็นเรื่องที่รู้สึกเชื่อมโยงได้ดีเลยค่ะ
เนื่องจากอ่านฉบับแปลภาษาไทย เมื่ออ่านไปก็รู้สึกตะหงิดๆ ถึงขนาดต้องลองค้นหาต้นฉบับเท่าที่พอหาได้ในเน็ตดู (เห็นใช้เป็นบทความสอนนักศึกษาเสปนที่เรียนภาษาอังกฤษให้วิเคราะห์สังคมวัฒนธรรมด้วย) ก็รู้สึกว่าการแปลเรื่องนี้มีความยากหลักอยู่สองจุด ซึ่งโยงไปถึงการรักษาบรรยากาศของเรื่องให้ตรงกับต้นฉบับ
เรื่องแรกคือการใช้คำราชาศัพท์ที่ในภาษาอังกฤษไม่ค่อยมีอยู่แล้ว ในเรื่องนี้ยิ่งน้อยมาก แต่ในการแปลไทยมีการใช้ราชาศัพท์จัดเต็ม อย่างพระโรงคัล รัตนสิงหาสน์ สีหบัญชร ทรงพระขิปสัทโท (กระแอม) ซึ่งทำให้โทนของการอ่านหนักมาก ส่วนจุดที่สองที่คิดว่าน่าสำบากใจในการแปลคือชื่อหนังสือ (ที่ล้วนแต่อยู่ในประเภทหนักหน่วงคลาสสิกและอ่านยาก จขบ. อาจจะเคยอ่านสักหนึ่งในห้ามั๊งคะ) บางเล่มถูกแปลไทยแล้ว บางเล่มยังไม่มี โดยในเล่มเลือกใช้ชื่อทับศัพท์ไปหมดไม่ว่าจะมีชื่อไทยที่คุ้นหูมากก็ตาม
แต่ที่ทำให้สงสัยจนต้องไปหาต้นฉบับคือเรื่องตำแหน่งที่มาแปลก เมื่อค้นก็ก็พบว่าถึงการแปลโดยทั่วไปจะไม่ได้มีปัญหานัก แต่ก็หลุดในจุดนี้อยู่ ตัวอย่างคือตำแหน่งราชเลขาธิการน่าจะเป็นราชเลขานุการที่มีความใหญ่ต่างกันมาก การเปิดสมัยการประชุมรัฐสภาถูกแปลเป็นเปิดสมัยการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งไม่เหมาะสมเนื่องจากพระราชินีกล่าวสุนทรพจน์ในสภาขุนนาง (House of Lords) ไม่ใช้สภาผู้แทนฯ (House of Commons) เพราะเป็นประเพณีว่ากษัตริย์อังกฤษจะเข้าไปสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ ซึ่งก็เป็นการเล่นคำที่เข้ากับชื่อเรื่องมากเลยนะคะ
เท่าที่ดูมีข้อสงสัยหลายจุด เช่น ตอนที่บอกว่าพระราชินีได้แต่งตั้งฟอสเตอร์เป็นวุฒิสมาชิก ที่จริงคือพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ CH (The Order of the Companions of Honour), one young member of the cabinet ที่น่าเป็นสมาชิกของ คณะรัฐมนตรี ก็กลายเป็นสมาชิกรัฐสภาหนุ่มผู้หนึ่ง, one former lord chancellor ending up perched on a little cork-topped stool เป็น อดีตอธิบดีศาลสูงสุดท่านหนึ่งนั่งยองๆ อยู่บนเก้าอี้วางเท้าตัวเล็กๆ คือไม่ใช่ทั้งตำแหน่งและท่าทาง
ยังมีวาทะที่ตรัสกับนายกรัฐมนตรีเรื่องหน่วยทหารที่บอกว่า 'your time in the WAAF'. 'The ATS,' corrected the Queen. 'The armed forces, whatever,' ก็เป็น ฝ่าพระบาททรงเข้าประจำการในกองทหารอากาศหญิง กองทหารหญิงประจำภาคพื้นดินต่างหาก กองทัพบก นั่นละพระพุทธเจ้าข้า ซึ่งก็ทำให้มีความหมายแฝงที่เปลี่ยนไป เพราะ WAAF (Women's Auxiliary Air Force) เป็นหน่วยของกองทัพอากาศ ในขณะที่ ATS (Auxiliary Territorial Service) เป็นของทหารบก การแปลให้นายกฯ แก้สังกัดก็ไม่เหมือนกับบอกว่าอยู่ในกองทัพแบบไม่ระบุเหล่า ฯลฯ
[28/01/18, 20/10/22]
ที่มา
[1] Alan Bennett (รสวรรณ พึ่งสุจริต แปล). ราชินีนักอ่าน (The Uncommon Reader). สำนักพิมพ์ โฟร์ เล็ตเตอร์ เวิร์ด. 123 หน้า, 2554.
รายการนิยายแปลไทย, ไทม์ไลน์หนังสืออิงประวัติศาสตร์/ย้อนยุค อังกฤษ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น