Blue Lock ขังดวลแข้ง - Kaneshiro & Nomura

เรื่อง Blue Lock ขังดวลแข้ง
เรื่องโดย มุเนยูกิ คาเนชิโระ ภาพโดย ยูสุเกะ โนมุระ


ปก ขังดวลแข้ง 1-5

หลังบอลโลก 2018 ที่ญี่ปุ่นล้มเหลว ประธานสมาพันธ์ฟุตบอล บุราสึตะ ฮิโรโมชิ เลยยอมให้ พนักงานใหม่ของสมาพันธ์ฟุตบอลญี่ปุ่น เทอิเอริ อันริ ต้องการให้ญี่ปุ่นเป็นแชมป์บอลโลก เลยให้ เอโกะ จินปาจิ มาดำเนินโปรเจ็กต์บลูล็อคเอาเด็กมัธยมปลายกองหน้าสามร้อยคน มาแข่งให้เหลือเพียงสุดยอดศูนย์หน้าอีโก้สูง ห้าคนแรกจะได้เข้าทีมชาติ U20 ที่เหลือจะไม่มีโอกาสเข้าทีมชาติใดๆ อีกเลย

นักเรียนที่เข้าร่วมถูกแบ่งเป็นทีม ตัวดำเนินเรื่อง อิซางิ โยอิจิ จากโรงเรียนอิจินัน แพ้ในรอบชิงการคัดเลือกจังหวัดไซตามะ ก็ได้เข้าสู่ทีมรั้งท้าย Z ในลำดับที่ 299 ในการคัดออกรอบคัดเลือก เป็นการต่อบอล เมื่อเวลาหมดบอลอยู่ที่ใครก็ให้คนนั้นออกจนเหลือ 275 คน

ในรอบแรก แบ่งเป็นชุด ชุดละห้าทีม แล้วแข่งพบกันหมด โดยให้สองทีมที่คะแนนสูงสุดอยู่ต่อ ส่วนสามทีมที่เหลือเอาเฉพาะคนทำประตูสูงสุด คัดเหลือ 125 คน และเว้นระยะให้ฝึกความสามารถทางร่างกาย (ดูแล้วเป็นทำลายมากกว่าสร้างเพราะหนักเกินไป) การทดสอบรอบสองแบ่งเป็นห้าสเตจ คนที่เคลียร์ได้ถึงจะได้ไปสเตจต่อไป สเตจแรกฝึกยิงประตูกับโฮโลแกรม สเตจที่สอง ห้องประกบคู่ศึกแย่งศัตรู 3 vs 3 ที่ถ้าแพ้ต้องถอยไป 2 vs 2 สเตจต่อไปเป็น 4 vs 4
[03/10/19, 21/11/19, 05/02/20, 03/06/20, 30/11/20, 16/02/21]

ปก ขังดวลแข้ง 6-10

รอบสองเป็นกลไกของดวง คือความพร้อมในการรับมือและฉวยโอกาส ให้แข่ง 5 vs 5 กับนักฟุตบอลระดับโลกที่อายุน้อย ทำให้จินปาจิถูกอัดเรื่องงบประมาณ (ที่แปลกใจคือไม่โดยมาก่อนต่างหาก) และมีการให้ตั้งทีมบลูล็อคแข่งกับทีมชาติ U20 โดยเลือกผู้เล่นหกคนแรกมาตั้ง ทีม A B C แล้วให้ที่เหลือเลือกเข้าทีมที่สนใจ เอาสามทีมมาแข่งแบบ 5 vs 5 เพื่อคัดเลือกโดยการสุ่มผู้เล่นจากสมาชิกทั้งหมด ถึงตรงนี้มีวิธีการเรียนรู้ที่ต่อยดีหน่อย คือการสร้างสถาวะ flow (ไม่รู้เอาศัพท์ที่ไหนมา) ที่อยู่ตรงสมดุลระหว่างความท้าทายและความสามารถ
[13/09/21, 08/11/21, 21/12/21, 28/01/22, 20/02/22]


เมื่อสรุปได้แล้วทีมบลูล็อคก็แข่งกับทีมชาติ U20 ในสนามที่มีผู้ชมเต็มอย่างดุเดือด (ถ้าคิดว่าทีมบลูล็อคเคยเป็นแต่กองหน้าก็งงอยู่) จบครึ่งแรกนำ 2-1 ครึ่งหลังจีงมีการส่งตัวแก้เกมส์ลงมาทั้งสองข้าง สลับขึ้นนำและตีเสมอ สุดท้ายโยอิจิยิงเข้าประตูในช่วงต่อเวลานาทีสุดท้าย ทำให้บลูล็อคชนะ 4-3 (มีมุกออกมาเพียบ และพอถึงช่วงสุดท้าย ตาตัวละครยังกับมาจาก 'Tokyo Ghoul') โปรเจ็กต์บลูล็อคจบเฟสหนึ่ง [เล่ม 17]
[11/03/22, 24/10/22]

ปก ขังดวลแข้ง 11-15

เฟสสองเป็นการเลือกทีม U20 ที่จะแข่งในอีกหนึ่งร้อยวัน โดยรวมกลุ่มทั้งบลูล็อค อดีตทีมชาติ U20 และไวลด์การ์ด สร้างสภาพแวดล้อมโดยให้เลือกฝึกซ้อมกับทีม U20 ของสโมสรในห้าลีกยุโรป คือ แมนไชน์ซิตี้จากอังกฤษ อูเบอร์สจากอิตาลี FC บาซา จากเสปน PXG จากฝรั่งเศส และ บาสตาร์ดมึนเช่น จากเยอรมัน (เห็นชื่อแล้วแทบสำลัก แต่ก็รู้สึกว่าถ้าเก่งจริงก็ไม่อยู่ทีม U20 หรอก เข้าชุดใหญ่ไปเลยสิ) โดยให้นักกีฬาเลือกว่าจะเข้าทีมไหน ร่วมฝึกกับทีมและพัฒนาให้แทรกเข้าไปเป็นตัวจริงของทีม ระหว่างนี้ทีมก็แข่งกันเองในนีโออีโก้อิสต์ลีกทุกสิบวันด้วยระบบสตาร์เชนจ์ที่ให้สไตรเกอร์ลงสนามได้เพียงสามนาทีและเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัด ชนะเมื่อยิงได้สามลูก

อิซางิเลือกเข้าทีมเยอรมันและเจอการฝึกอย่างเป็นระบบ ผลงานถูกวัดค่าเป็นตัวเลขอย่างชัดเจนเพื่อให้สามารถแทรกเข้าไปในทีม และในระหว่างการแข่งขันก็ต้องพิสูจน์ตัวเอง โดยหลังการแข่งครั้งแรกระหว่างทีมเยอรมันและเสปน มีเฉลยว่าการแข่งในเฟสสองมีการไลฟ์สตรีมใน Blue Lock TV เปิดซับสไครบ์เดือนละห้าร้อยเยน มีคนติดตามแล้วเกินแปดสิบล้านคน มีการประกาศอันดับเป็นค่าเหนื่อยต่อปีที่เจ้าของสโมสรฟุตบอลทั่วโลกประมูล (สามัญสำนึกบอกว่าคนหลักน่ามีโค้ชด้วย และพวกที่อยู่ทีมเล็กของสโมสร ก็ถูกขึ้นแท่นประมูลโดยอิสระได้หรือ) ผู้เล่นที่ได้ค่าเหนื่อย 23 อันดับแรกจะได้เข้าทีม U20 (ถ้าคิดว่าตำแหน่งมีผลมากกับค่าตัวและไม่กระจายตำแหน่งก็นะ) โดยหลังรอบแรก อิซางิที่ทำแอสซิสลูกที่สามอยู่อันดับที่ห้าเพราะค่าตัวสิบเจ็ดล้านเยนต่อปีจากทีมเบอร์เซิร์กดอร์ทมุนต์ (ชื่อยังดีกว่าของมึนเช่น 555)
[24/01/23]

ปก ขังดวลแข้ง 16-20

ระหว่างนี้ก็มีการเล่าเรื่องของคนอื่นและการฝึกซ้อมในทีมอื่นแทรก จนถึงรอบระหว่างเยอรมันและอังกฤษ
[24/01/23]

เรื่องนี้เป็นการผสานระหว่างการ์ตูนกีฬากับเกมส์เอาตัวรอดที่ไม่ถึงตาย จะว่าไป จขบ. ก็อ่านทั้งสองแนว แต่พอมารวมกันรู้สึกมันไม่ค่อยเข้ากันอย่างไรไม่ทราบ แน่นอนว่าปัญหาเรื่องตรรกะ ที่มา และงบประมาณของเกมส์เอาตัวรอดที่มักให้ตัวละครมาฆ่ากันเอง แต่ในที่นี้เป็นแค่การคัดออก

ในเรื่องนี้ก็มาเต็มๆ ทั้งการพัฒนานักกีฬาที่เป็นการทำลาย และทำให้นึกถึงเรื่องนักกีฬาโรงเรียนญี่ปุ่นที่ซ้อมหนักเกินไปจนบาดเจ็บต้องเลิกเล่น แนวคิดเกมเอาตัวรอดกลายเป็นเรื่องในสังคมทั่วไป (จขบ. ทำใจได้กับพวกเรื่องฆ่ากันแบบเป็นสายใต้ดินหรือสยองขวัญ เพราะหาใช่สิ่งที่ชาวบ้านยอมรับกันไม่) และเรื่องเงินที่พูดแล้วก็มีงบประมาณแบบไม่จำกัดพร้อมตึกสร้างพิเศษ จ้างนักกีฬาระดับโลก ฯลฯ

ถ้ามองในอีกด้านก็เป็นการพูดเรื่องอีโก้ส่วนบุคคล การทำงานเป็นทีม โชค และแนวคิดด้านฟุตบอลต่างๆ ทำให้น่าสนใจ โดยเฉพาะสำหรับญี่ปุ่นที่เน้นทีมมากกว่าบุคคลมาแต่ไหนแต่ไร แต่ จขบ. ถูกความสุดโต่งในการพัฒนานักกีฬาเยาวชนแล้วรับไม่ไหว ยังดีที่พอเกินเล่มสิบห้า ค่อยเริ่มดูได้หน่อย

ลายเส้นออกแนวค่อนข้างกระด้าง แต่ได้อารมณ์ของความดิบเถื่อนดีนะคะ และระยะหลังเริ่มมีการเปรียบเทียบเวอร์ขึ้นจนนึกถึง 'Prince of Tennis' บ้าง แต่ก็รู้สึกว่าความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างโครงเรื่องดีขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งแทบสำลักน้ำเพราะความฮา 555 สำหรับ จขบ. คืออ่านได้เรื่อยๆ ค่ะ


มีเรื่องน่าสนใจว่าใน 2022 FIFA World Cup ทีมชาติญี่ปุ่นได้มีความร่วมมือกับการ์ตูนเรื่องนี้และ 'Giant Killing' (ที่ จขบ. ยกให้เป็นการ์ตูนฟุตบอลที่ชอบที่สุด) โดยออกภาพตัวละครสวมชุดทีมชาติ โดยในครั้งนี้ญี่ปุ่นสามารถเข้ารอบเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่ม โดยชนะเยอรมันและเสปนแบบดราม่ายังกับในการ์ตูน
[20/12/22]

ที่มา
[1] Kaneshiro Muneyuki & Nomura Yusuke. Blue Lock ขังดวลแข้ง. วิบูลย์กิจคอมมิกส์, เล่ม 1-19, 2562-2565 (ต้นฉบับ 2018-2022).


รายการการ์ตูนญี่ปุ่น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Spy×Family - Endo Tatsuya

ลำนำรักเทพสวรรค์ - ถงหัว

สืบลับฉบับคาโมโนะฮาชิ รอน - Amano Akira