Born to Win, Schooled to Lose - Georgetown University Center on Education and the Workforce

เรื่อง Born to Win, Schooled to Lose: Why Equally Talented Students Don’t Get Equal Chances to Be All They Can Be
โดย Anthony P. Carnevale, Megan L. Fasules, Michael C. Quinn & Kathryn Peltier Campbell


เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2562 จขบ. ได้อ่านบทความที่ถูกส่งต่อมาใน facebook เรื่อง ผลวิจัยจากอเมริกา: คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ไม่ใช่ "คนฉลาด" แต่คือคนที่ "บ้านรวย" ที่เมื่อค้นดูแล้วก็มีอีกสื่ออีกหลายเจ้าที่ได้แปลข่าวเพิ่มเติม มากบ้าง น้อยบ้าง เช่น งานวิจัยจากอเมริกาชี้ เกิดมารวยมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าคนฉลาด! และ งานวิจัยระดับโลก ชี้ คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ ไม่ได้ฉลาด แต่บ้านรวย

จขบ. ที่ได้อ่านรายงานฉบับเต็มของงานวิจัยนี้ ก็รู้สึกว่าข้อมูลในสื่อมีการตัดทอนรายละเอียดมาก เมื่อมีการแปลย่อ เนื้อหาก็มีโอกาสที่จะชี้นำในทางที่ผิดหรือเข้าใจผิดได้ง่ายแถมเมื่อถูกแชร์ต่อไป เช่นใน Pantip อึ้ง!!! ผลวิจัยจาก USA คนไม่ฉลาด แต่บ้านรวย ประสบความสำเร็จ มากกว่า คนฉลาด แต่บ้านจน!!! ความเห็นเพิ่มเติมของผู้อ่านก็ดูเหมือนจะออกนอกกรอบและทิศทางของงานวิจัยนี้มากขึ้นไปอีก จึงขอสรุปเนื้อหาที่มีรายละเอียดมากขึ้นพร้อมกับความเห็นเพิ่มเติมด้วย

รายงานนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลทางสถิติ ถึง จขบ. จะหาไม่เจอว่ามีขนาดเป๊ะๆ เท่าไหร่ แต่จากฐานข้อมูลที่อ้างอิงท้ายเล่ม ว่ามีการใช้ข้อมูลของการสำรวจชุมชนอเมริกัน (ACS) ที่มีการส่งแบบสอบถามปีละสามล้านฉบับ ก็น่าจะบ่งชี้ถึงขนาดประชากรที่สูงมาก ทำให้ผลการศิกษาที่ได้มีความน่าเชื่อถือ

มีการศึกษาข้อมูลของเด็กแต่ละคนเมื่ออยู่ชั้นอนุบาล มัธยมสอง มัธยมสี่ มัธยมหก และเมื่ออายุยี่สิบห้าปี ในช่วงวัยเรียนใช้คะแนนคณิตศาสตร์ที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถในทางวิชาการ (โดยมีการสอบทวนความสัมพันธ์ระหว่างคณิตศาสตร์กับทักษะการอ่านแล้วว่าเป็นตัวแทนของภาพรวมได้) เมื่ออายุยี่สิบห้าจะรวบรวมข้อมูลด้านระดับการศึกษาและรายได้เป็นตัวแทนความสำเร็จช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น มีการแบ่งระดับสถานะทางสังคมเศรษฐกิจ (socioeconomic status หรือ SES) ของครอบครัวเป็นสี่ระดับโดยการหารจำนวนทั้งหมด และมีการแยกเชื้อชาติออกเป็นผิวขาว แอฟริกัน ฮิสแปนิก และเอเซีย

เมื่อเปรียบเทียบผลคะแนนคณิตศาสตร์ ก็พบว่ามีความแตกต่างตั้งแต่ในระดับอนุบาลที่กลุ่ม SES สูงสุดจะคะแนนสูงกว่าค่ามัธยฐาน ถึง 74% ในขณะที่กลุ่ม SES ต่ำสุดจะได้คะแนนสูงกว่าค่าค่ามัธยฐานเพียง 26% (เมื่อเอาคะแนนของเด็กทุกคนมาเรียงกัน คะแนนของเด็กที่อยู่ลำดับกึ่งกลางคือค่ามัธยฐาน)

เมื่อโตขึ้นถึงมัธยมสอง กลุ่ม SES สูงจะมีพัฒนาไปอยู่ในกลุ่มคะแนนคณิตศาสตร์สูง ในขณะที่กลุ่ม SES ต่ำจะมีผลคะแนนต่ำลง โดยแนวโน้มนี้เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ว่าผลคะแนนในระดับอนุบาลจะอยู่ในกลุ่มใด นั่นคือ เป็นเรื่องของการเลี้ยงดู (nurture) ที่ทำให้เด็กกลุ่ม SES สูงสามารถพัฒนาศักยภาพได้เต็มที่ ในขณะที่ศักยภาพของกลุ่ม SES ต่ำ ไม่ถูกพัฒนาเท่าที่ควร หรือสรุปได้ว่าการที่ครอบครัวมีฐานะดี ทำให้เด็กมีโอกาสในการพัฒนาได้ดีจนเก่งมากกว่า โดยที่ว่าโอกาสคือคุณภาพของสิ่งแวดล้อม

ในเรื่องความเป็นอยู่ กลุ่ม SES สูง จะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย สามารถตั้งใจเรียนรู้พัฒนาตนเองได้ง่ายกว่า ส่วนกลุ่ม SES ต่ำ






ที่มา
[1] Georgetown University Center on Education and the Workforce, Born to Win, Schooled to Lose: Why Equally Talented Students Don’t Get Equal Chances to Be All They Can Be, 51 pages, 2019.


รายการหนังสืออังกฤษ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Spy×Family - Endo Tatsuya

ลำนำรักเทพสวรรค์ - ถงหัว

สืบลับฉบับคาโมโนะฮาชิ รอน - Amano Akira