โองการแช่งน้ำ - ไมเคิล ไรท์

เรื่อง โองการแช่งน้ำ Ong-kan Chaeng Nam
แต่งโดย ไมเคิล ไรท์


ปก โองการแช่งน้ำเล่มนี้เป็นการนำเสนอการแปลลิลิตโองการแช่งน้ำเป็นภาษาอังกฤษ ในฐานะเป็นวรรณคดีที่ชอบมาก ท่องได้หลายช่วง โดยส่วนตัวจึงน่าสนใจมาก ในเล่มมีคำปรารภ การเทียบโองการแช่งย้ำฉบับกรมศิลปากร การแปลเป็นภาษาอังกฤษ โองการแช่งน้ำที่แปลเป็นภาษาปัจจุบันและการแปลเป็นภาษาอังกฤษ และความคิดเพิ่มเติม

การนำเสนอเป็นแบบสองภาษา คือมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษต่อกัน ชื่อภาษาอังกฤษมีทั้งทับศัพท์ Ong-kan Chaeng Nam ที่ปก ในเล่มใช้การแปลว่า Curse on the Water of Allegience

ความรู้สึกขณะอ่านหลักคือการเขียนแบบไทยจนหมดเรื่อง แล้วต่อด้วยการแปลจนจบช่วง ทำให้การเปรียบเทียบยากพอสมควร ต้องพลิกกลับไปดูบ่อยๆ ถ้าจัดหน้าแบบไทยด้านซ้าย อังกฤษด้านขวา ก็จะเทียบได้ง่ายขี้น

ในคำปรารภช่วงภาษาไทย มีข้อสงสัยว่าทำไมใส่จุดหรือคอมม่าแบบภาษาอังกฤษ และกังขากับความเห็นว่าเป็นเอกสารที่เก่าแก่และสำคัญ แต่ถูกทอดทิ้งอย่างมาก เพราะความคร่ำครึของภาษา ไม่ค่อยมีการตีความให้เป็นที่รู้จักหรือแปลเป็นภาษาต่างประเทศ

ถ้าจำไม่ผิดเคยเรียนบางส่วนในห้องเรียน และ จขบ. รู้สึกว่าค่อนข้างจะไม่ให้ความเป็นธรรมกับนักวิชาการไทยเท่าไหร่ เนื่องจากก็มีการศึกษาอย่างมากทั้งด้านภาษา ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยเฉพาะ 'พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยอยุธยา ลิลิตโองการแช่งน้ำ' ของราชบัณฑิตยสถาน ก็นับได้ว่าเป็นเล่มที่โดดเด่นอย่างยิ่ง

ส่วนเรื่องไม่มีการแปล ในมุมมองของชาวบ้านธรรมดา พูดกันตามตรงคือแต่นึกก็หนังหัวชาว่ามันยากขนาดนี้ แบบว่ามองไม่ออกเลยว่าจะแปลได้อย่างไร เอาแค่แปลศัทพ์เป็นไทยอย่างในฉบับราชบัณฑิตยสถานก็แทบแย่แล้ว การแปลไม่ว่าจะตามอักษรหรือความหมาย

การแปลเป็นภาษาปัจจุบันในเล่ม รู้สึกแปลกๆ เพราะไม่ได้ทำให้เป็นร้อยกรองตามปกติ คล้ายเป็นการร่ายไปเรื่อยๆ คำที่ใช้ส่วนมากอ่านง่าย แต่ก็มีคำศัพท์ยากอย่าง จตุราบาย (โลกนรก สัตว์ เปรต อสูร)

โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักรคธาธรณี ภีรุอวตาร อสูรแลงลาญทัก ททัคนิจรนายฯ

โอม! ความสำเร็จจงมี! ที่สถิตของศรีผู้กล้า ฝั่นฟัดมฤตยู ใช้งูเป็นแท่นบรรทม กลืนฟ้ากลืนดินเล่น ใช้ครุฑขี่บินไปมา สี่มือถือสังข์ จักร กระบอง ก้อนดิน อวตารสุดสยอง อสูรจึงพ่ายแพ้ โคจรทางทักษิณ

ขอยกอย่างการเทียบท่อนเริ่มต้นจากฉบับกรมศิลปากรและการแปลเป็นไทยสทัยใหม่ของไมเคิล ไรท์ ที่ถึงการแปลถึงจะอ่านค่อนข้างง่าย แต่ฝั่นฟัดคืออะไร สำนวนอย่าง 'ใช้ครุฑขี่บินไปมา' จะใช้ 'ขี่ครุฑบินไปมา' เลยไม่ตรงกว่าหรือ และที่สำคัญคือไม่ค่อยขลังเท่าไหร่

การแปลเป็นอังกฤษในที่นี้ จขบ. คิดว่าเป็นความพยายามที่ดี แต่คิดว่าด้วยต้นฉบับที่เป็นโคลงห้าและมีร่ายโบราณสลับ การแปลที่ดูเหมือนจะใช้รูปแบบเดียวกัน ทำให้ได้ความรู้สึกที่แตกต่างไปบ้าง

อีกจุดคือโองการแช่งน้ำมีความสำคัญของในพระราชพิธีถือน้ําพระพัฒน์สัตยาทเพราะมีการร่ายออกเสียง (ที่ฟังแล้วขนลุก) ไม่ทราบถ้าอ่านเป็นภาษาอังกฤษแบบนั้นแล้วจะได้อารมณ์อย่างไร

สรุปคือเป็นการนำเสนอโองการแช่งน้ำที่น่าสนใจ น่าเก็บไว้ในคอลเลกชันค่ะ
[04/10/24]

ที่มา
[1] Michael Wright. โองการแช่งน้ำ. ศิลปวัฒณธรรมฉบับพิเศษ, สำนักพิมพ์มติชน, 138 หน้า, 2543.


รายการหนังสือไทย, รายการหนังสืออังกฤษ, ไทม์ไลน์หนังสืออิงประวัติศาสตร์/ย้อนยุค ไทย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร - มาวนี่

Kaijyu No. 8 - Matsumoto Naoya

สืบลับฉบับคาโมโนะฮาชิ รอน - Amano Akira