The Miracle of Dunkirk - Walter Lord
เรื่อง The Miracle of Dunkirk ปาฏิหาริย์แห่งดังเคิร์ก
เขียนโดย Walter Lord แปลโดย นพดล เวชสวัสดิ์
เล่มนี้เป็นเรื่องของการอพยพข้ามช่องแคบอังกฤษในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 กองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษถูกจู่โจมด้วยอย่างกระทันหันจนถอยร่นตลอดแนว ทหารราวสี่แสนนายใกล้ถูกกองทัพเยอรมันล้อม กองบัญชาการของทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษมีความคิดที่จะรับมือแตกต่างกัน เกิดความเข้าใจผิดและปัญหาในการสื่อสารอย่างมากในทุกระดับ
สุดท้ายฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถวางกองกำลังขนาบเป็นเป็นเส้นทางยาว 60 ไมล์ กว้าง 15-20 ไมล์ ให้กองทัพที่ถูกโอบล้อมอยู่ถอยไปทิศตะวันตกจนถึงชายฝั่งที่แถวเมืองดัวเคิร์ก ถึงกองทัพฝรั่งเศสอยากจะรักษาหัวหาดไว้ ทางอังกฤษเริ่มปฏิบัติการไดนาโมที่อพยพทหารระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม ถึง 4 มิถุนายน โดยผู้รับผิดชอบในการถอนกำลังคือ พลเรือโท เบอร์แทรม แรมซีย์ (Vice Admiral Bertram Ramsay) ที่มีฐานปฏิบัติงานที่โดเวอร์
ปัญหาในการอพยพมีอย่างมาก เริ่มตั้งแต่การรักษาเส้นทางหลบหนีไปชายฝั่ง ถึงโชคดีที่กองทัพเยอรมันหยุดการบุกสามวัน แต่การยอมจำนนของเบลเยี่ยมทำให้การรักษาเส้นทางทิศเหนือเกิดรูโหว่ขนาดใหญ่ โดยทหารที่รักษาทางหนีส่วนมากสามารถถอนกำลังถอยไปชายฝั่งได้ แต่ที่สู้จนถูกจับเป็นเชลยก็มีมาก โดยเฉพาะกองทัพที่หนึ่งของฝรั่งเศสที่รักษาตำแหน่งตะวันออกสุด
ส่วนการอพยพข้ามช่องแคบอังกฤษก็มีปัญหาอย่างมาก ตั้งแต่การสื่อสารในระดับสูงที่มีการเมืองมาเกี่ยวถึงระดับล่างที่สื่อสารไม่เข้าใจเพราะภาษา ปัญหาวินัยทหาร ไม่มีเรือเพียงพอ (สรุปสุดท้ายคือใช้เรือ 861 ลำ) ทะเลและชายหาดตื้นมาก เรือใหญ่ไม่สามารถเทียบท่าได้ จำนวนมากใช้คันกั้นคลื่นเป็นท่าหรือต้องใช้เรือเล็กขนทหารขึ้นเรือใหญ่ ในขณะที่ทั้งเรือและทหารถูกกระเบิดและปืนใหญ่ยิงถล่ม เมื่อเดินทางกลับก็มีเส้นทางสามเส้น ยาว 39, 55 และ 87 ไมล์ ที่บางเส้นถูกโจมตีได้จากฝั่ง มีทุ่นระเบิด หรือถูกโจมตีด้วยเรือดำน้ำและเรือเร็ว ฯลฯ ซึ่งก็มีการหาทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปทีละเรื่อง
จำนวนทหารที่ถูกอพยพในวันที่ 27 พฤษภาคม มีเพียง 7,669 นาย, วันที่ 28 ได้ 17,804 นาย, วันที่ 30 เพิ่มเป็น 53,823 นาย, วันที่ 31 ได้ 68,014 นาย, วันที่ 1 มิถุนายนได้ 64,429 นาย เมื่อสิ้นสุดปฏิบัติการก็อพยพทหารได้กว่า 338,000 นาย ซึ่งเป็นทหารอังกฤษ 224,686 นาย และทหารฝรั่งเศสกว่า 123,000 นาย โดยทิ้งทหารบาดเจ็บที่เดินไม่ได้และยุทโธปกรณ์เกือบทั้งหมด รวมถึงรถ 63,879 คัน และปืนใหญ่สนาม 2,472 กระบอก ปาฏิหาริย์ที่ผู้แต่งสรุปตอนท้ายคือสภาพอากาศที่ทำให้การข้ามช่องแคบง่าย มีลม/ควันที่บดบังทัศนวิสัย คำสั่งหยุดสามวันของฮิตเลอร์ และแนวปฏิบัติของเครื่องบินรบเยอรมัน
เล่มนี้นอกจากจะมีเรื่องเกี่ยวกับการตัดสินใจในระดับสูงแล้ว ที่น่าสนใจคือเรื่องราวของทหารที่อยู่ในสนามรบ มีเรื่องที่น่าซาบซึ้ง เจ็บปวดใจ และการกระทำที่ทั้งบ้าบอ แปลกหรือทำให้อึ้งได้บ่อยๆ ทั้งนี้เรื่องมุกพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นของทหารอังกฤษมากที่สุด มีตั้งแต่ระดับพลทหารถึงนายพลมอนต์โกเมอรี่ ถือเป็นเสน่ห์พิเศษของเล่มล่ะค่ะ
เรื่องที่ จขบ. จดหัวข้อน่าค้นเพิ่มเติมคือ (1) ระบบโลจิสติกส์ (2) ตัวเลขการอพยพไม่ครบถ้วนทุกวัน และเหมือนจะมีข้อสงสัยที่บอกว่าอพยพทหารฝรั่งเศสกว่า 123,000 นาย โดยกว่า 102,570 นายใช้เรืออังกฤษ ซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนทหารอังกฤษที่อพยพได้แล้วเกินจำนวนทั้งหมด (3) พลจัตวาในเรือชูชีพที่ถูกใบพัดเรือพิฆาตดูดจมน่าจะมีชื่อหาได้ และ (4) เอกสารเกี่ยวกับการจัดการกับเจ้าของเรือที่ไม่ให้ความร่วมมือที่ยังปกปิดเมื่อผู้แต่งเขียนหนังสือน่าจะเปิดเผยแล้ว
การอ่านเล่มนี้ถือว่าแปลกหน่อยเพราะ จขบ. เริ่มอ่านฉบับภาษาไทย แต่พอไปได้ไม่กี่หน้าก็สงสัยในท่วงทำนองการดำเนินเรื่องจนต้องไปหาฉบับตัวอย่างภาษาอังกฤษมาอ่าน แล้วเลยซื้อเล่มอังกฤษเพราะอ่านดีกว่าเยอะมาก รูปเล่มเมื่อเทียบกันแล้วพบว่าในฉบับอังกฤษมีดรรชนีคำด้วย แต่ของไทยไม่มี ส่วนแผนที่ฉบับไทยไม่ชัด ก็ยังดีกว่าในคินเดิลเปเปอร์ไวท์ที่อ่านไม่ออก ต้องไปเปิดในคอมพิวเตอร์ถึงอ่านได้ค่ะ ถึงไม่ได้อ่านฉบับไทยครบถ้วน ก็อ่านเทียบกันตอนต้นและท้าย และบางตอนกลางก็ลองเปิดผ่านๆ เช่นดูว่าจุดยากตรงนี้แปลอย่างไร เลยขอเขียนถึงเรื่องการแปลฉบับไทยด้วยนะคะ
ในการทับศัพท์ชื่อเฉพาะฝรั่งเศสและเยอรมันเป็นไทยไม่เหมือนที่เคยเห็นทั่วไป อย่าง Calais กาเล่, Gravelines กคาฟลีน, Vervins แวคแว็ง, Ardennes อารฺเดนน์ เนื่องจาก จขบ. อ่านฝรั่งเศสไม่ออกเลยบอกไม่ได้ว่าเป็นการอ่านตามคำดั้งเดิมหรือเปล่า แต่สำหรับภาษาเยอรมันที่พอออกเสียงได้บ้าง ก็รู้สึกว่าพยายามเทียบกับการอ่านออกเสียงแบบเยอรมันมากกว่าจะถอดอักษร (แต่ถ้าว่ากันตามตรง ถอดเป็นอักษรไทยอย่างไรก็ไม่เป๊ะอยู่ดี) ถึงไม่คุ้นก็พอกล้อมแกล้มนึกออกค่ะ
โดยทั่วไปการแปลศัพท์เฉพาะทางอย่างทางทหารก็ดีนะคะ แต่อาจมีปัญหากับการเขียนย่อของต้นฉบับเพราะแปลตามอักษรต้นฉบับเลย เช่น gun ตอนพูดถึงยุทโธปกรณ์ที่ทิ้งหมายถึงปืนใหญ่สนาม (field gun) ทำให้เวลาแปลเลยเป็นปืนเท่านั้น [น. 331] แต่ที่พบมากคือชื่อหน่วยทหารโดยเฉพาะกองพัน (Battalion) ที่ในภาษาอังกฤษจะละไว้บ่อยครั้ง แต่ในภาษาไทยจะใส่ขนาดหน่วยกำกับเสมอ (อย่างกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ยังย่อเป็น ร.1 พัน.1 รอ.) แต่ในเล่มฉบับไทยได้แปลตรงโดยไม่มีหน่วย เช่น 'The usually reliable 12th Lancers reported ...' ที่ดรรชนีบอกชัดว่าหมายถึง Royal Lancers Regiment, 12th Battalion ก็แปลตรงเป็น 'แลนเซอร์ที่ 12 ที่วางใจได้รายงานว่า ...' [น. 41] ซึ่งน่าจะมีคำว่ากองพันนำหน้า นอกจากนี้การทับศัพท์ชื่อหน่วยก็มาแบบตรงเป๊ะที่ทำให้รู้สึกแปลกๆ อย่าง 'the 1st Queen Victoria's Rifles' เป็น 'ควีนวิกตอเรีย'ส ไรเฟิลที่ 1'
มีจุดหลุดเยอะมากมายเรียงหน้ามา ทั้งแปลผิด ขาดตกหล่น เพิ่มเติม เวินเว้อ ฯลฯ ที่หลายครั้งทำให้หมดอารมณ์ซาบซึ้งง่ายๆ เช่น 'By June 4—just level days later—over 338,000 men had been evacuated safely to England in one of the great rescues of all time.' ก็อัพเกรดความสำคัญเป็น 'เมื่อถึงวันที่ 4 มิถุนายน...ในอีกสิบเอ็ดวันต่อมา ทหารกว่า 338,000 นาย ได้รับการอพยพสู่อังกฤษโดยสวัสดิภาพ การกู้ภัยอันยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล' [น. 11] คือแทนที่จะเป็นหนึ่งในการกู้ภัยที่ยื่งใหญ่ที่สุด ก็กลายเป็นอันดับหนึ่งไปเลย
'So long as the English tongue survives, the word Dunkerque shall be spoken with reverence.' เป็น 'ตราบเท่าที่มีลิ้นอังกฤษ คำว่า ดังเคิร์ก - Dunkerque จะได้รับการกล่าวขานด้วยความเคารพนบนอบ' [น. 11] ซึ่งในที่นี้คำว่า tongue หมายถึงภาษา ไม่ใช่ลิ้น
'Dunkirk symbolizes a generosity of spirit, a willingness to sacrifice for the common good.' เป็น 'ดังเคิร์กเป็นลัญลักษณ์ของจิตวิญญาณความโอบอ้อมอารี ความสามัคคีเสียสละเพื่อส่วนรวม' [น. 11] อันนี้ไม่ใช่จิตวิญญาณความโอบอ้อมอารีแต่หมายถึงการให้เกินความคาดหวัง ขาดเรื่องความเต็มใจในการเสียสละ และมีความสามัคคีเกินมา
'Seen in this light, Dunkirk remains, above all, a stirring reminder of man's ability to rise to the occasion, to improvise, to overcome obstacles. It is, in short, a lasting monument to the unquenchable resilience of the human spirit.' เป็น 'มองจากแง่มุมนี้ ดังเคิร์กจะดำรงสถานะ 'เครื่องเตือนความจำ' ยืนยันความแกร่งของมนุษย์ที่จะยืนหยัดลุกขึ้นต้นภัยพาล และ 'ไหวพริบปฏิภาณ' ความคิดฉับพลันที่พลิกแพลงเอาชนะอุปสรรค เหนือสิ่งอื่นใด จะเป็นอนุสาวรีย์ประกาศจิตวิญญาณยืดหยุ่นของมนุษย์ที่ไม่มีวันค้อมยอมพ่ายโชคชะตา' [น. 12] ที่ขาดตกหล่น มีของเพิ่ม และเวิ่นเว้อไปมาก จิตวิญญาณยืดหยุ่นก็ตลกค่ะ
'Five days had passed since "the balloon went up." as the British liked to refer to the sudden German assault in the west.' ก็เป็น 'ห้าวันผ่านไป ก่อน 'บอลลูนจะลอยขึ้นฟ้า' สำนวนคนอังกฤษที่อ้างถึงการโจมตีของทหารเยอรมันทางทิศตะวันตก' [น. 15] ซึ่งน่าจะเป็นห้าวันผ่านไปตั้งแต่ ไม่ใช่ก่อน
Admiralty House ที่เป็นบ้านพักประจำตำแหน่ง First Lord of the Admiralty ก็แปลเป็นบ้านพักของกระทรวงทหารเรือ [น. 16] การแปลไม่กระชับ เช่น 'supported by 325 Stuka dive bombers' เป็น 'สนับสนุนโดยชตูกา (เครื่องบินดำทิ้งระเบิด) 325 ลำ' [น. 17] ที่น่าเรียงใหม่เป็น สนับสนุนโดยเครื่องบินดำทิ้งระเบิดชตูกา 325 ลำ
"I am killing myself, Mr. President, to let you know that all my men were brave, but one cannot send men to fight tanks with rifles." ก็เป็น "ผมฆ่าตัวตายครับท่านนายก อยากแจ้งให้ท่านทราบว่าทหารทุกนายสู้รบอย่างห้าวหาญ แต่เราไม่อาจส่งทหารไปสู้รบกับรถถังด้วยปืนไรเฟิลได้" [น. 17] คือเปลี่ยนประธานาธิบดีเป็นนายกรัฐมนตรี
และเมื่อข้ามไปถึงการอธิบายรูปก็มี 'Casualties were surprisingly light, since the sand tended to smother the exploding bomb.' เป็น 'การบาดเจ็บน้อยจนน่าประหลาดใจเพราะทรายหยุ่นทำให้ระเบิดไม่ทำงาน' แทนที่อานุภาพของระเบิดลดลงเพราะทราย พูดง่ายๆ คือเท่าที่เทียบมาดูเหมือนจะมีปัญหาเกือบทุกหน้า
นอกจากนี้ เหตุที่ทำให้ จขบ. อ่านแล้วไม่ลื่นอย่างหนักคือการเรียบเรียงคำในภาษาไทยตามไวยากรณ์อังกฤษแทบเป๊ะ หลายที่พวกสัญลักษณ์ในภาษาอังกฤษมาครบ เมื่อรวมกับการแยกประโยคออกเป็นหลายช่วงอย่างไม่จำเป็น มีการใช้คำซ้ำใกล้เคียงกันมากในขณะที่ในภาษาอังกฤษเห็นได้ชัดว่าหลีกเลี่ยง ทำให้อารมณ์การอ่านผิดไปมาก ในภาษาอังกฤษไหลลื่น แยกประโยคและใจความชัดเจน มีมุกผ่อนคลายและเกิดความซาบซึ้งเป็นช่วง ภาพพจน์ของ จขบ. คือยิมนาสติกลีลาที่มีการเคลื่อนไหวเป็นเส้นโค้งต่อเนื่อง แต่เวลาอ่านภาษาไทยที่ตามปกติก็มีความคลุมเครือในการแยกประโยคอยู่แล้ว หลายวลีไม่ทราบว่าจะต่อกับข้างหน้าหรือข้างหลัง ทำให้นึกถึงการเขย่งก้าวกระโดดบนตารางตากระโดดที่มีการหยุดและกระตุกออกอีกทางน่ะค่ะ
สรุปความรู้สึกในภาพรวมของเล่มนี้คืออ่านได้ลื่นไหลซาบซึ้ง การนำเสนอในด้านภาพรวมเป็นข้อมูลที่ไม่ตัดสินอะไร ซึ่งก็ถูกจริตกับ จขบ. ที่อ่านแบบไม่คิดอะไรมากเพราะอย่างไรก็เป็นมองเหตุการณ์ย้อนกลับไปอยู่แล้ว ไม่สนใจเรื่องทฤษฎีหรือความเห็นต่างๆ แบบที่มีกระจายในออนไลน์เยอะแยะเพราะมีวิธีการอธิบายที่ง่ายและตรงไปตรงมาอยู่แล้ว สุดท้ายคือถ้าอ่านฉบับภาษาอังกฤษได้ก็จะดีกว่ามากค่ะ
ที่มา
[1] Walter Lord. The Miracle of Dunkirk. Open Road Media, 232 pages, 2012 (First Published in 1982).
[2] Walter Lord (นพดล เวชสวัสดิ์ แปล). ปาฏิหาริย์แห่งดังเคิร์ก. สำนักพิมพ์เลเจนด์บุ๊คส์, 380 หน้า, 2560.
เขียนโดย Walter Lord แปลโดย นพดล เวชสวัสดิ์
เล่มนี้เป็นเรื่องของการอพยพข้ามช่องแคบอังกฤษในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 กองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษถูกจู่โจมด้วยอย่างกระทันหันจนถอยร่นตลอดแนว ทหารราวสี่แสนนายใกล้ถูกกองทัพเยอรมันล้อม กองบัญชาการของทั้งฝรั่งเศสและอังกฤษมีความคิดที่จะรับมือแตกต่างกัน เกิดความเข้าใจผิดและปัญหาในการสื่อสารอย่างมากในทุกระดับ
สุดท้ายฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถวางกองกำลังขนาบเป็นเป็นเส้นทางยาว 60 ไมล์ กว้าง 15-20 ไมล์ ให้กองทัพที่ถูกโอบล้อมอยู่ถอยไปทิศตะวันตกจนถึงชายฝั่งที่แถวเมืองดัวเคิร์ก ถึงกองทัพฝรั่งเศสอยากจะรักษาหัวหาดไว้ ทางอังกฤษเริ่มปฏิบัติการไดนาโมที่อพยพทหารระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม ถึง 4 มิถุนายน โดยผู้รับผิดชอบในการถอนกำลังคือ พลเรือโท เบอร์แทรม แรมซีย์ (Vice Admiral Bertram Ramsay) ที่มีฐานปฏิบัติงานที่โดเวอร์
ปัญหาในการอพยพมีอย่างมาก เริ่มตั้งแต่การรักษาเส้นทางหลบหนีไปชายฝั่ง ถึงโชคดีที่กองทัพเยอรมันหยุดการบุกสามวัน แต่การยอมจำนนของเบลเยี่ยมทำให้การรักษาเส้นทางทิศเหนือเกิดรูโหว่ขนาดใหญ่ โดยทหารที่รักษาทางหนีส่วนมากสามารถถอนกำลังถอยไปชายฝั่งได้ แต่ที่สู้จนถูกจับเป็นเชลยก็มีมาก โดยเฉพาะกองทัพที่หนึ่งของฝรั่งเศสที่รักษาตำแหน่งตะวันออกสุด
ส่วนการอพยพข้ามช่องแคบอังกฤษก็มีปัญหาอย่างมาก ตั้งแต่การสื่อสารในระดับสูงที่มีการเมืองมาเกี่ยวถึงระดับล่างที่สื่อสารไม่เข้าใจเพราะภาษา ปัญหาวินัยทหาร ไม่มีเรือเพียงพอ (สรุปสุดท้ายคือใช้เรือ 861 ลำ) ทะเลและชายหาดตื้นมาก เรือใหญ่ไม่สามารถเทียบท่าได้ จำนวนมากใช้คันกั้นคลื่นเป็นท่าหรือต้องใช้เรือเล็กขนทหารขึ้นเรือใหญ่ ในขณะที่ทั้งเรือและทหารถูกกระเบิดและปืนใหญ่ยิงถล่ม เมื่อเดินทางกลับก็มีเส้นทางสามเส้น ยาว 39, 55 และ 87 ไมล์ ที่บางเส้นถูกโจมตีได้จากฝั่ง มีทุ่นระเบิด หรือถูกโจมตีด้วยเรือดำน้ำและเรือเร็ว ฯลฯ ซึ่งก็มีการหาทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปทีละเรื่อง
จำนวนทหารที่ถูกอพยพในวันที่ 27 พฤษภาคม มีเพียง 7,669 นาย, วันที่ 28 ได้ 17,804 นาย, วันที่ 30 เพิ่มเป็น 53,823 นาย, วันที่ 31 ได้ 68,014 นาย, วันที่ 1 มิถุนายนได้ 64,429 นาย เมื่อสิ้นสุดปฏิบัติการก็อพยพทหารได้กว่า 338,000 นาย ซึ่งเป็นทหารอังกฤษ 224,686 นาย และทหารฝรั่งเศสกว่า 123,000 นาย โดยทิ้งทหารบาดเจ็บที่เดินไม่ได้และยุทโธปกรณ์เกือบทั้งหมด รวมถึงรถ 63,879 คัน และปืนใหญ่สนาม 2,472 กระบอก ปาฏิหาริย์ที่ผู้แต่งสรุปตอนท้ายคือสภาพอากาศที่ทำให้การข้ามช่องแคบง่าย มีลม/ควันที่บดบังทัศนวิสัย คำสั่งหยุดสามวันของฮิตเลอร์ และแนวปฏิบัติของเครื่องบินรบเยอรมัน
เล่มนี้นอกจากจะมีเรื่องเกี่ยวกับการตัดสินใจในระดับสูงแล้ว ที่น่าสนใจคือเรื่องราวของทหารที่อยู่ในสนามรบ มีเรื่องที่น่าซาบซึ้ง เจ็บปวดใจ และการกระทำที่ทั้งบ้าบอ แปลกหรือทำให้อึ้งได้บ่อยๆ ทั้งนี้เรื่องมุกพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นของทหารอังกฤษมากที่สุด มีตั้งแต่ระดับพลทหารถึงนายพลมอนต์โกเมอรี่ ถือเป็นเสน่ห์พิเศษของเล่มล่ะค่ะ
เรื่องที่ จขบ. จดหัวข้อน่าค้นเพิ่มเติมคือ (1) ระบบโลจิสติกส์ (2) ตัวเลขการอพยพไม่ครบถ้วนทุกวัน และเหมือนจะมีข้อสงสัยที่บอกว่าอพยพทหารฝรั่งเศสกว่า 123,000 นาย โดยกว่า 102,570 นายใช้เรืออังกฤษ ซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนทหารอังกฤษที่อพยพได้แล้วเกินจำนวนทั้งหมด (3) พลจัตวาในเรือชูชีพที่ถูกใบพัดเรือพิฆาตดูดจมน่าจะมีชื่อหาได้ และ (4) เอกสารเกี่ยวกับการจัดการกับเจ้าของเรือที่ไม่ให้ความร่วมมือที่ยังปกปิดเมื่อผู้แต่งเขียนหนังสือน่าจะเปิดเผยแล้ว
การอ่านเล่มนี้ถือว่าแปลกหน่อยเพราะ จขบ. เริ่มอ่านฉบับภาษาไทย แต่พอไปได้ไม่กี่หน้าก็สงสัยในท่วงทำนองการดำเนินเรื่องจนต้องไปหาฉบับตัวอย่างภาษาอังกฤษมาอ่าน แล้วเลยซื้อเล่มอังกฤษเพราะอ่านดีกว่าเยอะมาก รูปเล่มเมื่อเทียบกันแล้วพบว่าในฉบับอังกฤษมีดรรชนีคำด้วย แต่ของไทยไม่มี ส่วนแผนที่ฉบับไทยไม่ชัด ก็ยังดีกว่าในคินเดิลเปเปอร์ไวท์ที่อ่านไม่ออก ต้องไปเปิดในคอมพิวเตอร์ถึงอ่านได้ค่ะ ถึงไม่ได้อ่านฉบับไทยครบถ้วน ก็อ่านเทียบกันตอนต้นและท้าย และบางตอนกลางก็ลองเปิดผ่านๆ เช่นดูว่าจุดยากตรงนี้แปลอย่างไร เลยขอเขียนถึงเรื่องการแปลฉบับไทยด้วยนะคะ
ในการทับศัพท์ชื่อเฉพาะฝรั่งเศสและเยอรมันเป็นไทยไม่เหมือนที่เคยเห็นทั่วไป อย่าง Calais กาเล่, Gravelines กคาฟลีน, Vervins แวคแว็ง, Ardennes อารฺเดนน์ เนื่องจาก จขบ. อ่านฝรั่งเศสไม่ออกเลยบอกไม่ได้ว่าเป็นการอ่านตามคำดั้งเดิมหรือเปล่า แต่สำหรับภาษาเยอรมันที่พอออกเสียงได้บ้าง ก็รู้สึกว่าพยายามเทียบกับการอ่านออกเสียงแบบเยอรมันมากกว่าจะถอดอักษร (แต่ถ้าว่ากันตามตรง ถอดเป็นอักษรไทยอย่างไรก็ไม่เป๊ะอยู่ดี) ถึงไม่คุ้นก็พอกล้อมแกล้มนึกออกค่ะ
โดยทั่วไปการแปลศัพท์เฉพาะทางอย่างทางทหารก็ดีนะคะ แต่อาจมีปัญหากับการเขียนย่อของต้นฉบับเพราะแปลตามอักษรต้นฉบับเลย เช่น gun ตอนพูดถึงยุทโธปกรณ์ที่ทิ้งหมายถึงปืนใหญ่สนาม (field gun) ทำให้เวลาแปลเลยเป็นปืนเท่านั้น [น. 331] แต่ที่พบมากคือชื่อหน่วยทหารโดยเฉพาะกองพัน (Battalion) ที่ในภาษาอังกฤษจะละไว้บ่อยครั้ง แต่ในภาษาไทยจะใส่ขนาดหน่วยกำกับเสมอ (อย่างกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ยังย่อเป็น ร.1 พัน.1 รอ.) แต่ในเล่มฉบับไทยได้แปลตรงโดยไม่มีหน่วย เช่น 'The usually reliable 12th Lancers reported ...' ที่ดรรชนีบอกชัดว่าหมายถึง Royal Lancers Regiment, 12th Battalion ก็แปลตรงเป็น 'แลนเซอร์ที่ 12 ที่วางใจได้รายงานว่า ...' [น. 41] ซึ่งน่าจะมีคำว่ากองพันนำหน้า นอกจากนี้การทับศัพท์ชื่อหน่วยก็มาแบบตรงเป๊ะที่ทำให้รู้สึกแปลกๆ อย่าง 'the 1st Queen Victoria's Rifles' เป็น 'ควีนวิกตอเรีย'ส ไรเฟิลที่ 1'
มีจุดหลุดเยอะมากมายเรียงหน้ามา ทั้งแปลผิด ขาดตกหล่น เพิ่มเติม เวินเว้อ ฯลฯ ที่หลายครั้งทำให้หมดอารมณ์ซาบซึ้งง่ายๆ เช่น 'By June 4—just level days later—over 338,000 men had been evacuated safely to England in one of the great rescues of all time.' ก็อัพเกรดความสำคัญเป็น 'เมื่อถึงวันที่ 4 มิถุนายน...ในอีกสิบเอ็ดวันต่อมา ทหารกว่า 338,000 นาย ได้รับการอพยพสู่อังกฤษโดยสวัสดิภาพ การกู้ภัยอันยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล' [น. 11] คือแทนที่จะเป็นหนึ่งในการกู้ภัยที่ยื่งใหญ่ที่สุด ก็กลายเป็นอันดับหนึ่งไปเลย
'So long as the English tongue survives, the word Dunkerque shall be spoken with reverence.' เป็น 'ตราบเท่าที่มีลิ้นอังกฤษ คำว่า ดังเคิร์ก - Dunkerque จะได้รับการกล่าวขานด้วยความเคารพนบนอบ' [น. 11] ซึ่งในที่นี้คำว่า tongue หมายถึงภาษา ไม่ใช่ลิ้น
'Dunkirk symbolizes a generosity of spirit, a willingness to sacrifice for the common good.' เป็น 'ดังเคิร์กเป็นลัญลักษณ์ของจิตวิญญาณความโอบอ้อมอารี ความสามัคคีเสียสละเพื่อส่วนรวม' [น. 11] อันนี้ไม่ใช่จิตวิญญาณความโอบอ้อมอารีแต่หมายถึงการให้เกินความคาดหวัง ขาดเรื่องความเต็มใจในการเสียสละ และมีความสามัคคีเกินมา
'Seen in this light, Dunkirk remains, above all, a stirring reminder of man's ability to rise to the occasion, to improvise, to overcome obstacles. It is, in short, a lasting monument to the unquenchable resilience of the human spirit.' เป็น 'มองจากแง่มุมนี้ ดังเคิร์กจะดำรงสถานะ 'เครื่องเตือนความจำ' ยืนยันความแกร่งของมนุษย์ที่จะยืนหยัดลุกขึ้นต้นภัยพาล และ 'ไหวพริบปฏิภาณ' ความคิดฉับพลันที่พลิกแพลงเอาชนะอุปสรรค เหนือสิ่งอื่นใด จะเป็นอนุสาวรีย์ประกาศจิตวิญญาณยืดหยุ่นของมนุษย์ที่ไม่มีวันค้อมยอมพ่ายโชคชะตา' [น. 12] ที่ขาดตกหล่น มีของเพิ่ม และเวิ่นเว้อไปมาก จิตวิญญาณยืดหยุ่นก็ตลกค่ะ
'Five days had passed since "the balloon went up." as the British liked to refer to the sudden German assault in the west.' ก็เป็น 'ห้าวันผ่านไป ก่อน 'บอลลูนจะลอยขึ้นฟ้า' สำนวนคนอังกฤษที่อ้างถึงการโจมตีของทหารเยอรมันทางทิศตะวันตก' [น. 15] ซึ่งน่าจะเป็นห้าวันผ่านไปตั้งแต่ ไม่ใช่ก่อน
Admiralty House ที่เป็นบ้านพักประจำตำแหน่ง First Lord of the Admiralty ก็แปลเป็นบ้านพักของกระทรวงทหารเรือ [น. 16] การแปลไม่กระชับ เช่น 'supported by 325 Stuka dive bombers' เป็น 'สนับสนุนโดยชตูกา (เครื่องบินดำทิ้งระเบิด) 325 ลำ' [น. 17] ที่น่าเรียงใหม่เป็น สนับสนุนโดยเครื่องบินดำทิ้งระเบิดชตูกา 325 ลำ
"I am killing myself, Mr. President, to let you know that all my men were brave, but one cannot send men to fight tanks with rifles." ก็เป็น "ผมฆ่าตัวตายครับท่านนายก อยากแจ้งให้ท่านทราบว่าทหารทุกนายสู้รบอย่างห้าวหาญ แต่เราไม่อาจส่งทหารไปสู้รบกับรถถังด้วยปืนไรเฟิลได้" [น. 17] คือเปลี่ยนประธานาธิบดีเป็นนายกรัฐมนตรี
และเมื่อข้ามไปถึงการอธิบายรูปก็มี 'Casualties were surprisingly light, since the sand tended to smother the exploding bomb.' เป็น 'การบาดเจ็บน้อยจนน่าประหลาดใจเพราะทรายหยุ่นทำให้ระเบิดไม่ทำงาน' แทนที่อานุภาพของระเบิดลดลงเพราะทราย พูดง่ายๆ คือเท่าที่เทียบมาดูเหมือนจะมีปัญหาเกือบทุกหน้า
นอกจากนี้ เหตุที่ทำให้ จขบ. อ่านแล้วไม่ลื่นอย่างหนักคือการเรียบเรียงคำในภาษาไทยตามไวยากรณ์อังกฤษแทบเป๊ะ หลายที่พวกสัญลักษณ์ในภาษาอังกฤษมาครบ เมื่อรวมกับการแยกประโยคออกเป็นหลายช่วงอย่างไม่จำเป็น มีการใช้คำซ้ำใกล้เคียงกันมากในขณะที่ในภาษาอังกฤษเห็นได้ชัดว่าหลีกเลี่ยง ทำให้อารมณ์การอ่านผิดไปมาก ในภาษาอังกฤษไหลลื่น แยกประโยคและใจความชัดเจน มีมุกผ่อนคลายและเกิดความซาบซึ้งเป็นช่วง ภาพพจน์ของ จขบ. คือยิมนาสติกลีลาที่มีการเคลื่อนไหวเป็นเส้นโค้งต่อเนื่อง แต่เวลาอ่านภาษาไทยที่ตามปกติก็มีความคลุมเครือในการแยกประโยคอยู่แล้ว หลายวลีไม่ทราบว่าจะต่อกับข้างหน้าหรือข้างหลัง ทำให้นึกถึงการเขย่งก้าวกระโดดบนตารางตากระโดดที่มีการหยุดและกระตุกออกอีกทางน่ะค่ะ
สรุปความรู้สึกในภาพรวมของเล่มนี้คืออ่านได้ลื่นไหลซาบซึ้ง การนำเสนอในด้านภาพรวมเป็นข้อมูลที่ไม่ตัดสินอะไร ซึ่งก็ถูกจริตกับ จขบ. ที่อ่านแบบไม่คิดอะไรมากเพราะอย่างไรก็เป็นมองเหตุการณ์ย้อนกลับไปอยู่แล้ว ไม่สนใจเรื่องทฤษฎีหรือความเห็นต่างๆ แบบที่มีกระจายในออนไลน์เยอะแยะเพราะมีวิธีการอธิบายที่ง่ายและตรงไปตรงมาอยู่แล้ว สุดท้ายคือถ้าอ่านฉบับภาษาอังกฤษได้ก็จะดีกว่ามากค่ะ
[20/07/17, 10/11/22]
ที่มา
[1] Walter Lord. The Miracle of Dunkirk. Open Road Media, 232 pages, 2012 (First Published in 1982).
[2] Walter Lord (นพดล เวชสวัสดิ์ แปล). ปาฏิหาริย์แห่งดังเคิร์ก. สำนักพิมพ์เลเจนด์บุ๊คส์, 380 หน้า, 2560.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น