พิพิธภัณฑ์ทะเลลึกแม็กเมล - Sugishita Kiyomi

เรื่อง Deep Sea Aquarium MagMell พิพิธภัณฑ์ทะเลลึกแม็กเมล
โดย คิโยมิ สุกิชิตะ


พิพิธภัณฑ์ทะเลลึกแม็กเมลตั้งอยู่ที่ระดับความลึกสองร้อยเมตร ใช้เหยื่อล่อให้สัตว์ทะเลว่ายผ่านหน้าต่างให้ผู้ชม ผู้อำนวยการคือ โอเซซากิ มินาโตะ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทะเลลึก การเปิดพิพิธภัณฑ์ด้วยหมึกยักษ์สร้างความประทับใจให้ผู้ชม โดยเฉพาะ เท็นโจ โคทาโร่ ที่อีกห้าปีต่อมาได้เป็นพนักงานทำความสะอาดพาร์ตไทม์

โคทาโร่พบเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสัตว์ เช่น ไอโซพอดยักษ์ที่เหมือนจะอยู่เฉยๆ จนผู้ชมเบื่อ และยังทำให้ได้พบกับ นางิสะ ลูกสาวของมินาโตะ ฉลามครุยที่ติดอวนและลูกอ่อนที่ยังอยู่ในไข่ที่คนหาปลา ชิราฮามะ ชินยะ ส่งต่อให้ ดอกไม้ทะเลนกระเช้าดอกไม้ของวีนัสที่เป็นสามสัมพันธ์ของรองผู้อำนวยการและภรรยา (น่าจะบอกไปตรงๆ ชัดเจนไปเลย) วาฬหัวทุยที่มากินเหยื่อที่สาวนักประดาน้ำ ชิซึกะ ใช้ล่อหมึกยักษ์

แมงกะพรุนทะเลลึกส่องแสงเหมือนท้องฟ้าจำลอง โคทาโร่ได้ดูแลปลาฟุตบอลแอตแลนติกหรือปลาตกเบ็ดภายใต้การสอนงานของและ ยูอิ อาซาฮิ หัดขนย้ายปลาหมึกแฟลปแจ็ค กุ๊กฝึกหัด โดกะชิมะ รัน ของภัตตาคารลาติเมอเรียของพิพิธภัณฑ์พยายามคิดเมนูใหม่จากปลาคินเมไดเพาะพันธุ์

โคทาโร่เห็นปลาฉลามหลังหนามตายกระทันหัน เมื่อเห็นฉลามสลีปเปอร์ในธรรมชาติมีปัญหาทก็บอกจนมินาโตะให้สัตวแพทย์ ฮารุโนะ อิซึโฮะ นำทีมช่วยทัน มินาโตะพาโคทาโร่ไปดูชั้นล่างสุดและพูดถึงที่มาของชื่อแม็กเมล (ดินแดนของคนตาย)
[14/06/24], [24/10/24]

เรื่องนี้มาแบบมองโลกในแง่ดีมาก ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของคนและสัตว์ ลายเส้นสวยแบบเรียบร้อย ทำให้ค่อนข้างแปลกใจว่าได้เรทสิบห้าบวกมาได้อย่างไร อาจต้องรอเล่มต่อไป

ที่มา
[1] Sugishita Kiyomi. พิพิธภัณฑ์ทะเลลึกแม็กเมล (Magmell Shinkai Suizokukan). สำนักพิมพ์รักพิมพ์, เล่ม 1-2, 2567 (ต้นฉบับ 2017).


รายการการ์ตูนญี่ปุ่น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร - มาวนี่

Kaijyu No. 8 - Matsumoto Naoya

สืบลับฉบับคาโมโนะฮาชิ รอน - Amano Akira